เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

การส่งเสริมการเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่

โดย : นายคำมี บุญกาวิน ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-22-12:54:54

ที่อยู่ : 82 ม.7 ต.บ่อแก้ว อ.นาหมื่น จ.น่าน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

   การเลี้ยงไก่ไข่ถือว่าเป็นอาชีพที่มีผู้สนใจมากในปัจจุบัน  เนื่องจากไก่ไข่เลี้ยงไม่ยากต้องการพื้นที่เลี้ยงน้อย  มีความสะดวกทั้งทางด้านการจัดหาลูกไก่ อาหาร  อุปกรณ์การให้อาหารและน้ำ วัคซีนและยารักษาโรค นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงพันธุ์ไก่ไข่จากพันธุ์แท้เป็นไก่ผสมที่ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์แท้  สามารถผลิตไข่เพื่อการบริโภคภายในครัวเรือนและขายเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัวได้

วัตถุประสงค์ ->

ส่งเสริมการเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ โดยการเน้นการศึกษาดูงานในพื้นที่จริง มีการฝึกปฏิบัติทุกขั้นตอนของการเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ โดยมีขั้นตอน ดังนี้

(1) การให้อาหารไก่ไข่ โดยให้ไก่กินอาหาร 1 วัน แล้วหยุดให้กิน 1 วัน สลับกันไปตลอดช่วงของการเลี้ยงไก่รุ่น - ไก่สาว ซึ่งวิธีการกินนี้นิยมมากกว่าวิธีอื่น ๆ ทั้งนี้อาจเป็น เพราะว่าขั้นตอนการปฏิบัติไม่ค่อยยุ่งยากมากนักอย่างไรก็ตาม การควบคุมอาหารเพื่อชะลอความเป็นสาวของไก่โดยวิธีนี้ ในวันที่ไก่ไม่ได้กินอาหารอาจใช้ ข้าวโพดโปรยให้ไก่จิกกินตามพื้นคอก โดยใช้ 1 กิโลกรัมต่อ ไก่จำนวน 100 ตัว และระยะก่อนที่ไก่จะให้ไข่ 3 - 4 สัปดาห์ ควรใช้เปลือกหอยจำนวน 0.25 กิโลกรัมต่อไก่ 100 ตัว เพื่อให้ไก่ก่อนไข่ได้รับแคลเซี่ยมอย่างเพียงพอ โดยวางไว้ในคอกให้ไก่ จิกกินเอง

(2) จำกัดปริมาณอาหารที่ให้ไก่กินแต่ละวัน  การควบคุมอาหารวิธีนี้ไก่จะได้รับปริมาณโปรตีนและพลังงาน สูงกว่าความต้องการของสายพันธุ์หรืออายุของไก่ในระยะนั้นเล็กน้อย และ ต้องเปลี่ยนแปลงสูตรอาหารไปตามสภาพแวดล้อมของทุกฤดูกาล จึงจะให้ผลตอบแทนที่ดี

(3) การทำวัคซีนอย่างต่อเนื่อง ในการเลี้ยงไก่ระยะไก่รุ่นและระยะไก่สาว นอกจากต้องควบคุมเรื่องอาหารและวัสดุรองพื้น เพื่อให้ไก่รุ่นเจริญเติบโตอย่างปรกติ สุขภาพไก่แข็งแรงสมบูรณ์ การทำวัคซีนป้องกันโรคเพื่อกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันโรค (Immunity) ให้อยู่ในระดับสูงตลอด ก็ยังคงมีความสำคัญอย่างมากต่อการเลี้ยงไก่รุ่น - ไก่สาว ทั้งนี้เพราะว่าวัคซีนป้องกันโรคแต่ละชนิดที่ให้ไก่ตั้งแต่เล็กแล้วนั้นย่อมมีอายุการคุ้มกันโรคได้เพียงระยะหนึ่งเท่านั้น จึงจำเป็นต้องให้ทำซ้ำอย่าง ต่อเนื่อง ซึ่งจะให้วัคซีนแต่ละชนิดเมื่อใดขึ้นอยู่กับชนิดของวัคซีน, สภาพพื้นที่และปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องดังจะกล่าวในบทการทำวัคซีนป้องกันโรคต่อไป

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

การดูแล เอาใจใส่ทุกขั้นตอน 

อุปกรณ์ ->

โรคระบาดในไก่ ไก่มีการเจ็บป่วย ไก่ตาย โดยที่ยังไม่มีการระบาดของโรค แต่เกิดจากการแพ้กลิ่นเหม็นจากมูลไก่เอง

แนวทางแก้ไข คือ ต้องทำให้ผลผลิตสูงขึ้น เกิดการสูญเสียไก่ไข่น้อยที่สุด และลดค่าใช้จ่ายต่างๆ เพื่อลดต้นทุนการผลิต โดยมีการจัดระบบสุขาภิบาลในโรงเรือนเลี้ยงไก่

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดน่าน
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา