เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

โดย : นายพิทยา คงสินธุ์ ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-06-13-10:52:23

ที่อยู่ : 27 หมู่ที่ 4 ตำบลบางไผ่

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ชอบในอาชีพการเกษตรปลูกพืชต่าง ๆ โดยเฉพาะการปลูกผักไร้ดิน

วัตถุประสงค์ ->

1.      การเพาะกล้า ใช้วัสดุปลูกฟองน้ำสำเร็จรูปเป็นแผ่นโดย 1 แผ่นจะตัดเป็นชิ้นมาตรฐานชิ้นละ1

นิ้ว จำนวน 320 ขิ้น/แผ่น ด้านกว้างมี 16 แถว แต่ละแถวมี 20 ชิ้น แต่ละชิ้นจะกรีดรูปเครื่องหมายบวกตรงกลางทุกชิ้นเพื่อใช้สำหรับหยอดเมล็ด จัดวางฟองน้ำในถาดเพาะต้นกล้ารดน้ำให้ชุ่มใช้มือนวดให้น้ำซึมผ่านเข้าไปในฟองน้ำให้ทั่ว ถ้าจะปลูกทั้งโต๊ะให้เพาะจำนวน 4 ถาดหรือให้เพาะเมล็ดตามจำนวนที่ต้องการปลูก

2.      จำนวนเมล็ดที่ใช้หยอด

2.ถ้าเป็นผักที่มีทรงพุ่มแคบเช่นผักบุ้ง กวางตุ้ง ผักโขม ผักกาดขาว ฯลฯ จะหยอดจำนวน 2-3

เมล็ด ต่อฟองน้ำ 1 ชิ้น ถ้าเป็นหักทรงพุ่มกว้างเช่นผักสลัดจะหยอด จำนวน 1 เมล็ด ต่อฟองน้ำ 1 ชิ้น การหยอดถ้าเป็นผักเมล็ดเล็กจะใช้ไม้จิ้มฟันหรือไม้อื่นที่มีขนาดใกล้เคียงกันแตะฟองน้ำที่เปียกน้ำ แล้วนำมาแตะเมล็ดผักให้ได้จำนวนที่ต้องการนำไปใส่ในช่องเครื่องหมายบวกบนฟองน้ำ

3.       ความลึกที่หยอดเมล็ดและการทำให้เปอร์เซ็นต์การงอกดี

ควรให้เมล็ดอยู่ต่ำกว่าผิวฟองน้ำประมาณ 1-3 มิลลิเมตรไม่ลึกไม่ตื้นเกินไปเมื่อหยอดเสร็จ ใช้

ผ้าขนหนูหรือเสื้อยืดชุบน้ำให้ชุ่มปิดคลุมด้วยบนเพื่อรักษาความชื้นเก็บไว้ในที่ร่ม รดน้ำเช้าเย็น เมื่อครบ 2 วัน ปิดผ้าดู ถ้าเมล็ดส่วนใหญ่งอกยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ให้เกิดผ้าคลุมออก จากนั้นนำถาเพาะไปไว้ในที่มีแสงรำไร ช่วงวันที่ 4-7 ให้รับแสงมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อให้ต้นกล้าแข็งแรงรดน้ำเช้าเย็นทุกวัน (ถ้าเป็นผักบุ้งประมาณ 1 คืนก็งอกแล้วสามารถนำไปรับแดดได้เร็วกว่าผักอื่น )

 

4.       การย้ายต้นกล้าลงแผ่นปลูก

เมื่อต้นกล้าอายุได้ 6-8 วันนับจากวันเพาะเมล็ด ให้ย้ายไปปลูกในช่องแผ่นปลูกที่เป็นแผ่นโฟม

โดย 1 แผ่นปลูกจะมีรูใส่ผัก 50 รู ถ้าเป็นผักทรงพุ่มแคบไปปลูกทุกรู ถ้าเป็นผักสลัดให้ปลูกรูเว้นรู การใส่ต้นกล้าให้ใส่ด้านได้แผ่นให้ฟองน้ำเข้าในรูแผ่นปลูกประมาณครึ่งก้อนโดยให้ก้อนฟองน้ำโผล่ออกมานอกรูปแผ่นปลูกประมาณครึ่งก้อน

5.       การดูแลและการใช้ปุ๋ย

ใส่น้ำลงในโต๊ะปลูกให้เต็มโดยปิดสะดือให้น้ำท่วมล้นสะดือและมีน้ำในถังใต้โต๊ะประมาณ 50 ลิตร

 นำแผ่นปลูกที่ใส่ต้นกล้าแล้วไปวางลงบนโต๊ะ โต๊ะขนาด 1200 ช่องปลูกจะมี 24 แผ่น ปริมาณน้ำบนโต๊ะเมื่อล้นสะดือพอดีจะมี 520 ลิตรและน้ำในถังใต้โต๊ะประมาณ 50 ลิตร (น้ำท่วมมอเตอร์ประมาณ 20 ซม.) รวม 570 ลิตร

 

 

6.       การปรับระดับน้ำบนโต๊ะปลูก

ระหว่างวันที่ 7-14  หลังจากนำแผ่นปลูกลงบนโต๊ะให้สังเกตรากพืชถ้ายาวเกิน 4 เซนติเมตร ให้

หมุนปิดรูสะดือให้น้ำไหลผ่านรูสะดือเพื่อปรับระดับน้ำบนโต๊ะให้ลดลงเป็นการเพิ่มออกซิเจน ให้กับรากพืช วันแรกให้เปิดรูสะดือประมาณครึ่งรูหลังจากนั้นอีก 3-5 วันให้เปิดรูสะดือให้หมด

7.       การเก็บผัก

ก่อนเก็บผักประมาณ 1-3 วัน ถ้าน้ำในถังเหลือน้อยให้เติมน้ำเปล่าไม่ต้องใส่ปุ๋ย

8.       การล้างโต๊ะ

หลังจากเก็บผักแล้วให้ล้างทำความสะอาดโต๊ะโดยนำปุ๋ยที่เหลือไปรดไม้ดอกหรือไม้ยืนต้นอื่น ๆ

ได้ การล้างโต๊ะให้ถอดโฟมแผ่นรางใต้พลาสติกดำด้านที่น้ำขึ้นออก 1 แผ่นใช้ฟองน้ำหรือผ้านี่มขัดถูล้างคราบสกปรกบนโต๊ะ โดยล้างตามแนวร่องของแผ่นรางเริ่มจากร่องริมก่อนทั้งซ้าย ขวา และร่องที่อยู่ตรงกลางให้ล้างเป็นร้องสุดท้าย เมื่อล้างเสร็จให้เติมน้ำให้เต็มโดยปิดรูสะดือเหมือนการปลูกครั้งแรก ถ้ายังไม่มีผักปลูกต่อให้ล้างแผ่นปลูกแล้วนำมาปิดทับไว้บนโต๊ะเพื่อป้องกันตะไคร่น้ำขึ้น (การล้างแผ่นปลูกถ้าล้างทันทีหลังจากเก็บผักจะล้างง่ายเสร็จเร็ว ถ้าปล่อยไว้นานตะไคร้น้ำและคราบสกปรกจะแห้งติดแน่นล้างออกยาก) โดยทั่วไปผู้ปลูกผักจะวางแผนเพาะต้นกล้าไว้ล่วงหน้าก่อนเก็บผักประมาณ 7 วันเพื่อจะได้ปลูกต่อได้ทันทีถ้ามีโรคแมลงระบาดควรหยุดปลูกล้างโต๊ะตากแดดไว้ประมาณ 7 วันเพื่อให้โรคเบาลง

9.       การเก็บปุ๋ย

ให้เก็บปุ๋ยทั้งสองชนิดไว้ในที่ร่มไม่อับชื้นไม่ควรให้ถูกแดดเพราะปุ๋ยจะเสื่อมเร็ว

 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

มีความอดทน ขยัน และหมั่นดูแลอย่างต่อเนื่อง ใจชอบอาชีพการเกษตร

อุปกรณ์ ->

1.      หมั่นดูแลอย่างใกล้ชิด

2.      ระหว่างแมลงเพลี้ย

3.      ต้องมีความชำนาญ และประสบการณ์พอสมควรในการควบคุมดูแล (ถ้าชำนาญแล้วจะง่ายมาก)

4.      ต้นทุนในการติดตั้งระบบระยะเริ่มต้นค่อนข้างสูง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1.       ให้มีการฝึกอบรมบ่อย ๆ และศึกษาดูงานต่างจังหวัดเพื่อนำความรู้มาใช้ในการประกอบอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้และลดรายจ่าย

2.       ต้องการให้รัฐบาลหรือหน่วยงานภาครัฐช่วยสนับสนุนงบประมาณอย่างต่อเนื่อง

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนนทบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา