เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การเลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน

โดย : นายประจักษ์ เติมเต็ม ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-07-18-01:56:41

ที่อยู่ : ๒๑/๑ หมู่ที่ ๘ ตำบลที่วัง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การเลี้ยงปลาดุกแบบบ้านๆ ในบ่อดินธรรมชาติเรียกได้ว่าทั้งประหยัด ง่ายต่อการเริ่มทำธุรกิจเพราะการลงทุนในบ่อดินไม่แพงเหมือนบ่อซีเมนต์ จึงทำให้การตัดสินใจทำได้ง่ายมาก

วัตถุประสงค์ ->

ให้ใช้ปูนขาวปรับสภาพดินให้เหมาะกับการเลี้ยงปลาดุก 60 ถึง 100 กิโลกรัมต่อไร่ โรยให้ทั่วบริเวณบ่อ ใส่ปุยคอก 200กิโลกรัมต่อไร่ แล้วปล่อยน้ำเข้า ประมาณ 50 Cm. ปล่อยทิ้งไว้ 5 วัน หรือสังเกตุจากสีของน้ำถ้าเป็นสีเขียวก็ใช้ได้ครับ ตรวจวัดความเป็นกรดด่างให้อยู่ 7.5 – 8.5 ถ้ายังไม่ถึงให้เติมปูนขาวเพิ่มได้อีก

ก่อนการปล่อยลูกปลาลงสู่บ่อควรเอาถุงปลาแช่น้ำในบ่ 10-15 นาทีเพื่อเป็นการปรับอุณหภูมิให้เเท่ากัน ป้องกันการช็อคน้ำของลูกปลา ขนาดลูกลูกปลาที่จะปล่อยควรมีขนาดเท่ากับนิ้วมือ จะเพิ่มอัตราการรอดให้มากยิ่งขึ้น

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

การเลือกอาหารปลาถือเป็นเรื่องที่สำคัญลำดับต้นๆ ของการเลี้ยงปลาดุก เพราะต้นทุนกว่า 80% ของการเลี้ยงปลาดุกอยู่ที่อาหาร เราจึงต้องพิถีพิถันในการเลือกอาหารปลาให้มาก ไม่ว่าจะเป็นสีสัน กลิ่น ขนาดของเม็ด การลอยตัวในน้ำ ล้วนต้องเอาใจใส่มากๆ

อุปกรณ์ ->

ควรเลือกลูกปลาทีมาจากแหล่งที่มีความน่าเชื่อถือ เป็นอันดับแรก ส่วนการดูลูกปลานั้นให้เลือกที่มีความแข็งแรง วายน้ำได้เร็ว ลำตัว หน่วด ครีบ หาง สมบูรณ์ ไม่ว่ายน้ำหงายท้องหรือ ตั้งฉากกับน้ำ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ก่อนการเริ่มปล่อยปลาลงสู่บ่อ ควรมีการวัดอัตราการกินอาหารของลูกปลา เพื่อไม่ให้อาหารมากหรือน้อยเกินไป ซึ่งจะทำให้ผลกำไรน้อยลง

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา