เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

เทคนิคการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน

โดย : นางชิตกนก สุวรรณธรรมา ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-19-18:57:53

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอประทาย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปัจจุบันสถานการณ์การประกอบอาชีพของประชาชนภาคการเกษรในชุมชน มีความเสี่ยงที่เกิดจากการประกอบอาชีพแบบดั้งเดิม เช่น ปลูกพืชเชิงเดี่ยว โรคพืช ราคาผลผลิตตกต่ำ การไม่มีอาชีพ หรือรายได้เสริมหลังฤดูกาลผลิต และยังมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มอาชีพค่อนข้างน้อย ส่งผลให้ประชาชนต้องเคลื่อนย้ายแรงงานไปประกอบอาชีพในเมือง การจะสร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำในสังคมได้จึงต้องมุ่งเน้นที่การยกระดับเศรษฐกิจฐานราก นั้นคือ "รายได้" ที่ต้องทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นด้วยการสร้างอาชีพ โดยให้ปราชญ์ชุมชนด้านอาชีพที่เชี่ยวชาญ และประสบผลสำเร็จในการประกอบอาชีพด้านต่างๆ ที่อยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชน เป็นผู้ถ่ายทอดให้คนอื่นทำตาม จึงเป็นที่มาของ "สัมมาชีพชุมชน" บนหลักปรัชญาเศรษฐกิฐพอเพียง ที่มีเป้าหมายคือ ประชาชนได้รับการพัฒนาอาชีพ โดยให้ชาวบ้านสอนชาวบ้านในสิ่งที่เขาอยากทำ ฝึกปฏิบัติจริงให้สามารถนำไปเป็นอาชีพได้ สร้างรายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัวได้  เพราะข้อเท็จจริงในทุกพื้นที่จะมีคนเก่งในแต่ละอาชีพอยู่แล้ว ซึ่งจะคัดเลือกและจัดเวทีฝึกทักษะการนำเสนอให้กับคนเก่งเหล่านี้ ยกให้เป็น "วิทยากรสัมมาชีพชุมชน" หลังจากนั้นกลีบไปสร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน เพิ่มเติมอีกหมู่บ้านละ 4 คน แล้วเปิดรับลูกศิษย์ที่สนใจฝึกอาชีพในแต่ละประเภทอาชีพ ซึ่งเรียนกว่า “ครัวเรือนสัมมาชีพ”  หมู่บ้านละ 20 คน เมื่อผ่านการฝึกปฏิบัติขั้นมาแล้ว ขั้นพื้นฐานที่สุดก็จะสามารถสร้างอาชีพบนฐานของเศรษฐกิจพอเพียงได้ หากมีความก้าวหน้าก็จะมีแหล่งทุนสนับสนุนต่อยอดอาชีพ สร้างผลผลิต สร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นมา เข้าสู่ระบบ OTOP เพื่อขยายตลาดในวงกว้างต่อไป

วัตถุประสงค์ ->

1. ศึกษาแนวทางการดำเนินงานสัมมาชีพชุมชนของกรมการพัฒนาชุมชน

2. สร้างความรู้ความเข้าใจแก่ ทีมสนับสนุนระดับตำบล ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน ในแนวทางการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชน

๓. การสร้างทีมวิทยากรในระดับหมู่บ้าน  โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของทีมวิทยากร  ในการกำหนดแนวทาง และขั้นตอน ในการดำเนินงาน และแผนปฏิบัติการ ในการสร้างสัมมาชีพในหมู่บ้าน

๔. ดำเนินการตามกิจกรรม และแนวทางที่กำหนด ( ระยะเวลา  ๕ วัน ) ดังนี้  ความรู้ทางวิชาการ/ทฤษฎีที่ต้องรู้เกี่ยวกับอาชีพ และสาธิตหรือฝึกปฏิบัติเบื้องต้นตามความเหมาะสม  ศึกษาดูงานเพิ่มพูนความรู้ด้านอาชีพ ณ หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง  สนับสนุนวัสดุประกอบอาชีพ และฝึกปฏิบัติ อาชีพตามที่ครัวเรือนต้องการ

๕. การติดตามสนับสนุน และประเมินผล ของ ทีมสนับสนุนระดับตำบล   หมู่บ้าน และเจ้าหน้าที่

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.ศึกษาเอกสาร/คู่มือแนวทางการดำเนินงานของกรมการพัฒนาชุมชน

2.ความร่วมมือของปราชญ์ชุมชนและครัวเรือนสัมมาชีพ

3.การติดตามส่งเสริมและสนับสนุนของพัฒนากรอย่างต่อเนื่อง

อุปกรณ์ ->

-การเลือกปราชญ์ชุมชน ควรคำนึงถึงความรู้ ความชำนาญ และความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ของปราชญ์เป็นสำคัญ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ควรปรับระยะเวลาในการดำเนินการแต่ละกิจกรรมให้กระชับกว่านี้

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครราชสีมา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา