เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน ต.พะงาด

โดย : นายจักรพงศ์ พงษ์ไพฑูรย์ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-19-18:11:00

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอขามสะแกแสง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ตามที่กรมการพัฒนาชุมชนได้กำหนดดำเนินโครงการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน ใน 22 หมู่บ้าน ของอำเภอขามสะแกแสง โดยอยู่ในตำบลพะงาด 2 หมู่บ้าน ซึ่งข้าพเจ้ามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ดำเนินเกี่ยวกับกิจกรรมในลักษณะนี้ เนื่องจากผลที่เกิดขึ้นและประโยชน์ที่เกิดขึ้นจะตกอยู่กับชาวบ้านและหมู่บ้าน ซึ่งเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนที่คน จุดมุ่งหมายเดียวกันก็คือทำอย่างไรให้พี่น้องชาวบ้านพึ่งพาอาศัยตัวเอง และคนในชุมชนดูแลกันได้ จึงมีความอยากที่จะดำเนินกิจการนี้อย่างเต็มที่ ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ แต่ขึ้นอยู่กับบริบทของหมู่บ้านด้วย

วัตถุประสงค์ ->

1. เตรียมความพร้อมปราชญ์ชุมชน มีการจัดเวทีประชุมเพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินงานโครงการเบื้องต้นพร้อมหาข้อมูลปราชญ์ในหมู่บ้าน 

2. ให้ปราชญ์จัดหาทีมปราชญ์ที่จะมาทำหน้าที่เป็นทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน โดยมีผู้นำวิทยากรสัมมาชีพชุมชนเป็นหัวหน้าทีม

3. เฟ้นหาครัวเรือนที่จะมารับการถ่ายทอดความรู้จากปราชญ์ชุมชน อีก 20 ครัวเรือน พร้อมสอบถามความต้องการในการเรียนรู้ของครัวเรือนทั้งหมด

4. เน้นการดำเนินการ ให้คนในชุมชนดูแลซึ่งกันและกัน ก็คือทีมปราชญ์จะต้องดูแลครัวเรือนให้ได้รับความรู้และสามารถนำไปดำเนินการเองได้

5. จุดหมายปลายทางของทีมปราชญ์และครัวเรือน คือการจัดตั้งกลุ่มแต่ในเมื่ออาชีพสาธิตของตำบลพะงาดเป็นการทำการเกษตรจึงให้จับกลุ่มกันไว้ก่อน ร่วมกันปลูก ร่วมกันบริหาร

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ปัจจัยแห่งความสำเร็จในครั้งนี้มีหลายปัจจัย

1.การวางแผน และดำเนินการตามแผน ในช่วงเวลาที่จำกัดของทั้งพัฒนากรเอง ของปราชญ์ และของชาวบ้าน การรวมใจเป็นหนึ่งเดียวของทุกฝ่าย เพื่อการเห็นสิ่งที่เป็นประโยชน์จะเกิดขึ้นในหมู่บ้านของตัวเอง และสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่หมู่บ้านต้องการจริงๆ

2. การทำงานเป็นทีมของหลายๆ ฝ่าย ไม่ใช่แต่พัฒนากร รวมทั้งต้องขอบคุณหน่วยงานอื่นๆ ที่ได้บูรณาการร่วมกัน

3.หัวใจของผู้นำชุมชน หลายๆ บ้านที่ข้าพเจ้าได้เข้าไปดำเนินการ หัวใจหลักอยู่ที่ผู้นำชุมชน สามารถยึดหัวใจของคนในชุมชนได้ จึงง่ายต่อการดำเนินงานโครงการ

4. ทุกฝ่ายรู้หน้าที่ของตนเอง พัฒนากร รู้หน้าที่ของตนเองว่าต้องทำอะไร  ปราชญ์ชุมชนรู้หน้าที่ของตนเองว่าสิ่งใดจะดีต่อชุมชน  ครัวเรือน ก็รู้หน้าที่ของตนเองว่าควรทำอย่างไรให้ตัวเองได้รับประโยชน์จากการดำเนินโครงการนี้

5. การให้เกียรติกัน ก็คือ ปราชญ์ได้รับความนับถือ และเชื่อถือจากครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ มิฉะนั้นจะไม่สามารถดำเนินกิจกรรมได้

6. สร้างแรงจูงใจในการดำเนินงานให้แก่ผุ้นำชุมชนและปราชญ์สัมมาชีพ ร่วมทั้งครัวเรือนทั้ง 20 ครัวเรือน

 

อุปกรณ์ ->

อย่าปล่อยให้ปราชญ์ดำเนินการเองโดยลำพังขาดพัฒนากรเป็นผู้ดูแลเป็นกำลังใจให้ อย่าปล่อยทิ้ง ปล่อยขว้างทีม หมั่นให้กำลังใจ ทั้งปราชญ์ และ ครัวเรือน เมื่อใดที่เราไม่เข้าไปให้คำแนะนำเขา หรือให้กำลังใจเขา ไฟในตัวเขาก็จะมอด หมั่นหาสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่ออาชีพที่ได้ทำการสาธิต ไปบอกกล่าวให้ทั้งปราชญ์ และครัวเรือนทราบ สามารถปรับเปลี่ยนไปสู่กิจกรรมที่ดีขึ้น มีการพูดคุยกันอย่างสม่ำเสมอ ปรึกษาในการดำเนินงาน ร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครราชสีมา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา