เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคกระบวนการขับเคลื่อนสัมมนาชีพชุมชนอำเภอโนนไทย

โดย : นางกนกรัชต์ วงษ์กาฬสินธุ์ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-20-16:47:39

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

กรมการพัฒนาชุม ได้กำหนดวิสัยทัศน์ ปี พ.ศ.2560-2560   “เศรษฐกิจฐานรากมั่นคงและชุมชนพึ่งตนเองได้ ภายในปี 2565” และได้กำหนดวาระ (Agenda) สัมมาชีพชุมชนเข้มแข็งภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยปัจจัยขับเคลื่อน (Drive) 3 ประการคือ การพัฒนาอาชีพครัวเรือน หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) และเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ  และจาก Agenda ของกรมการพัฒนาชุมชน ได้กำหนดการดำเนินงานในปี 2560 ที่จะมุ่งเน้นการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากชุชน โดยทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น ด้วยการสร้างอาชีพ จึงกำหนดการดำเนินงานตามโครงการ “สัมมาชีพชุมชน” ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อให้คนในชุมชนที่เป็นปราชญ์ชุมชนด้านอาชีพที่ประสบผลสำเร็จและมีองค์ความรู้ในการประกอบอาชีพในชุมชนสอนกันเอง จากภารกิจดังกล่าว กรมการพัฒนาชุมชนได้กำหนดให้ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ ดำเนินกิจกรรมตามโครงการสัมมาชีพชุมชน ประกอบด้วยกิจกรรมหลายกิจกรรม คือ การประชุมชนเชิงปฏิบัติการทีมสนับสนุนการขับเคลื่อนสัมมาชีพระดับอำเภอ  กิจกรรมเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพระดับหมู่บ้าน กิจกรรมส่งเสริมการสร้างสัมมนาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้านและการสนับสนุนการจัดตั้งและพัฒนากลุ่มอาชีพสัมมาชีพชุมชน  จากกระบวนงานดังกล่าว พัฒนาการอำเภอ คือผู้ที่แปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการและภารกิจของกรมฯ จึงได้มีกระบวนการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนอำเภอโนนไทย ให้บรรลุเป้าหมาย และอำเภอโนนไทยมีหมู่บ้านที่จะต้องดำเนินการขับเคลื่อนโครงการสัมมาชีพชุมชน จำนวน 22  หมู่บ้าน ซึ่งมีแนวทางในการดำเนินงานดังนี้

วัตถุประสงค์ ->

กระบวนการขับเคลื่อนโครงการสัมมาชีพชุมชนอำเภอโนนไทย  ให้บรรลุเป้าหมายหมายและมีประสิทธิ์ภาพ  พัฒนาการอำเภอจะต้องมีกระบวนการขับเคลื่อนงานที่ชัดเจน เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานให้กับพัฒนากร จึงมีกระบวนการขับเคลื่อนงาน ดังนี้

๑) ขั้นตอนที่ 1 การสร้างกลไกและวางแผนการขับเคลื่อน  ประกอบด้วย การสร้างความรู้ความเข้าใจกับพัฒนากร  จัดทำข้อมูลพื้นที่เป้าหมาย ประชุมชี้แจงกำนัน/ผู้ใหญ่บ้านพื้นที่เป้าหมาย  จัดข้อมูลและประวัติปราชญ์ชุมชนหมู่บ้านละ 5 คน โดยพัฒนากรร่วมกับผู้นำชุมขนเวทีประชาคมคัดเลือกปราชญ์ชุมชน  ทำฐานข้อมูลหมู่บ้านเป้าหมาย คัดเลือกครัวเรือนสัมมาชีพโดยปราชญ์ชุมชนคัดเลือกครัวเรือนตามคุณสมบัติที่กำหนด และจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan)

  2) ขั้นตอนที่ 2 การขับเคลื่อนกระบวนงาน  มีดังนี้

     2.1) การขับเคลื่อนระดับกลไกการสนับสนุน ประกอบด้วย 1) การแต่งตั้งกลไก/คณะทำงานทีมสนับสนุนสัมมาชีพระดับอำเภอ  (ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง/องค์กรเครือข่ายงานพัฒนาชุมชน)  2) การบูรณาการการทำงานกับหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง (เชิงพื้นที่และกิจกรรม)   3) จัดประชุมทีมสนับสนุนสัมมาชีพชุมชน/กำนัน/ผู้ใหญ่บ้านเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ  4) กำหนดรูปแบบ/วิธีการดำเนินกิจกรรมร่วมกับพัฒนากร   และ5) กำหนดพื้นที่เป้าหมายในการรับผิดชอบ (พัฒนากร 1 คนรับผิดชอบ 4-5 หมู่บ้าน)

    2.2) การขับเคลื่อนกิจกรรม ประกอบด้วย 1.) ทีมวิทยากรสัมมาชีพจัดทำแผนการสอน  2) จัดจุดตัวอย่างนำร่องให้เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนได้ศึกษาและปราชญ์สัมมาชีพชุมชนได้ศึกษา  2) สร้างแกนหลักของปราชญ์สัมมาชีพ และสร้างเครือข่ายสัมมาชีพชุมชนในอำเภอ  3) ดำเนินกิจกรรมตามกระบวนการตอนของแต่ละกิจกรรม 

  3) ขั้นตอนที่ 3 การติดตามและประเมินผล  ประกอบด้วย 1) กำหนดพื้นที่ให้ทีมสนับสนุนระดับอำเภอติดตามพื้นที่เป้าหมาย  2) ส่งต่อกิจกรรมให้กับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น อาชีพเลียงสัตว์ส่งให้ปศุสัตว์เข้ามาสนับสนุน ฯลฯ  3) ร่วมกับเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอ เพื่อสรุปบทเรียน และ AAR

4) ขั้นตอนที่ 4 การสร้างความยั่งยืนและประชาสัมพันธ์  ประกอบด้วย  1) ประกาศเชิดชูเกียรติ

และมอบประกาศเกียรติบัตรให้ผู้นำสัมมาชีพ หมู่บ้านละ 5 คน ต่อที่ประชุมกำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน  2) การคัดเลือกครัวเรือนสัมมาชีพดีเด่นระดับหมู่บ้านๆ ละ 1  คน  3) การจัดตลาดนัดสัมมาชีพชุมชนระดับอำเภอ  4) จัดตั้งโรงเรียนสัมมาชีพชุมชน 1 แห่ง

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

          1) การคัดเลือกผู้นำปราชญ์ของแต่ละหมู่บ้าน หากได้ผู้นำปราชญ์ชุมชนที่มีความพร้อมจะทำให้ประสบผลสำเร็จยิ่งขึ้น

          2) ความพร้อมและศักยภาพของหมู่บ้านและผู้นำชุมชน (กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน) หากไม่ได้คัดเลือกเป็นปราชญ์ จะต้องมีความเข้าใจในการดำเนินงานตามโครงการ

        3) ความเข้าใจในขั้นตอนกระบวนงานของเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน (พัฒนากร)

อุปกรณ์ ->

          1) การคัดเลือกปราชญ์ชุมชน/ผู้นำสัมมาชีพชุมชน  ต้องมีคุณลักษณะของการเป็นผู้นำ

          2) การคัดเลือกครัวเรือนจะต้องเป็นครัวเรือนที่มีความสนใจอย่างแท้จริง และมีความมุ่งมั่นในการดำเนินกิจกรรม

          3) เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนต้องเข้าใจกระบวนการอย่างแท้จริงและมองเป้าหมายการทำงานเดี่ยวกัน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

          1) ควรมีการสร้างความรู้ความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนทุกคนถึงขั้นตอนกระบวนการทำงานให้เข้าใจอย่างท่องแท้

          2) การคัดเลือกพื้นที่เป้าหมาย ควรให้พื้นที่เป็นผู้กำหนด พื้นที่มีการคัดเลือกโดยบูรณาการจากหน่วยงานตามการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงภาคการเกษตรและชนบท (ยุทธที่ 1) บางพื้นที่ไม่มีความพร้อมที่แท้จริง

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครราชสีมา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา