เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

เทคนิคการลดต้นทุนในการทำนาโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์

โดย : นายพสิษฐ์ จงกลาง ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-03-20-18:41:13

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ ๙๔ หมู่ ๒ ตำบลดอนใหญ่ อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การทำนาของข้าพเจ้า  ทำเหมือนชาวนาทั่วไป  คือ  จุดไฟเผาตอซัง  ไถนา  หว่านข้าว  ไถกลบ  ใส่ปุ๋ยเคมี  ฉีดยาฆ่าหญ้า  จ้างรถเก็บเกี่ยว  ขายข้าว  เป็นประจำทุกปีที่ผ่านมา  ในการทำนาวิธีดังกล่าว  หากฝนฟ้ามาตรงตามฤดูกาล  ก็จะได้ข้าวค่อนข้างมาก  แต่เมื่อหักค่าใช้จ่ายในการซื้อผลิตภัณฑ์เคมี  ก็จะเหลือกำไรเล็กน้อย  ซึ่งในปี  ๒๕๕๓  ข้าพเจ้าได้ปรับเปลี่ยนวิธีการทำนาโดย  ไม่เผาตอซังแต่ไถกลบ  ทิ้งไว้ ๓-๔ เดือนเมื่อถึงฤดูทำนา  ก็ไถพรวนดินก่อนหว่านข้าว   ใช้ปุ๋ยอินทรีชีวภาพแทนปุ๋ยเคมี  เป็นส่วนมาก  แต่ก็ยังใช้เคมีเสริมบ้างเล็กน้อย  ซึ่งจากการทำนาด้วยวิธีดังกล่าว  สามารถลดต้นทุนในการซื้อปุ๋ยเคมี  และสภาพดินในนาก็ดีขึ้นเรื่อย ๆ  มีกำไรมากขึ้น

วัตถุประสงค์ ->

๑.  ไถกลบตอซังหลังเก็บเกี่ยว

๒.  ขนมูลสัตว์ลงไปกองทิ้งไว้เป็นกอง ๆ  ในผืนนา  เมื่อฝนแรกตกลงมารอให้หญ้าหรือเมล็ดพืชที่อยู่ในมูลของ

     สัตว์งอกก่อน  ค่อยไถพรวน  เพื่อป้องกันวัชพืชแพร่กระจายในที่นา

๓.  หว่านเมล็ดพันธุ์ข้าว  แล้วไถกลบ

๔.  หว่านปุ๋ยอินทรีย์  แต่ใช้เคมีเฉพาะในพื้นที่ที่ข้าวงอกและสูงไม่ทันเพื่อนเท่านั้น

๕.  ตรวจแปลงนา  ปิดน้ำไม่ให้ไหลทิ้ง  ถอนวัชพืชออก  ทุกวัน

๖.  เกี่ยวมือในการจัดเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้ในปีต่อไป เพื่อป้องกันการปอมปนกับวัชพืช และเมล็ดพันธุ์ไม่แตกหัก

๗.  เปรียบเทียบบัญชีรายจ่ายในการลงทุน  จะพบว่าประหยัดเงินไดมากกว่า

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

เทคนิคในการลดต้นทุนในการทำนาโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์  มีขั้นตอนง่าย ๆ  ดังนี้

๑.  การไถกลบตอซังหลังการเก็บเกี่ยว

๒.  การขนมูลสัตว์ลงไปกองไว้ในผืนนา   (ที่ไม่เทกระจายเนื่องจากในมูลสัตว์มีเมล็ดพันธุ์ของวัชพืช) 

     กองไว้พอฝนแรกลง  ก็รอให้เมล็ดวัชพืชงอกก่อนค่อยไถกลบ  ซึ่งจะทำให้วัชพืชตาย

๓.  การจัดเก็บเมล็ดพันธุ์  ให้เกี่ยวมือ  นวดเอง  เนื่องจากการเก็บเกี่ยวด้วยเครื่องเกี่ยวอาจปลอมปน

     เมล็ดวัชพืช  และเมล็ดพันธุ์แตกหัก เสียหาย

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครราชสีมา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา