เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

เทคนิคการลดต้นทุนในการเลี้ยงปลานิล ปลาตะเพียน ด้วยการเพาะพันธุ์ปลานิล ปลาตะเพียน

โดย : นายส่งเสริม ศุภโชควิบูลย์ ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-03-20-18:50:41

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ ๑๗๑ หมู่ ๔ ตำบลดอนใหญ่ อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปี  ๒๕๔๐  ได้ปรับเปลียนสภาพพื้นที่ทำนา  ๗  ไร่  เป็นไร่นาสวนผสม  โดยจ้างเหมารถขุดคลองล้อมรอบเป็นรูปเกือกม้า  และขุดเป็นสระน้ำ  ๒  สระ  ซึ่งนำดินที่ขุดมาถมคันคู  เพื่อปลูกต้นไม้  และถมเพื่อเป็นพื้นที่ปลูกสร้างที่อยู่อาศัย  และปศุสัตย์ ประมาณ  ๒  งาน  คงเหลือพื้นที่ทำนาประมาณ  ๑ ไร่เศษ  เหตุที่ต้องขุดคลองรอบพื้นที่เนื่องจากต้องการสำรองน้ำไว้สำหรับการเลี้ยงปลาและอุปโภคบริโภคทั่วไป  เพราะเป็นพื้นที่นอกเขตชลประทาน        

ในปีแรกของการเลี้ยงปลา  ได้ซื้อลูกปลาพันธุ์ต่าง ๆ มาปล่อยสิ้นเงินไปถึง  ๑๘,๐๐๐  บาท  ซึงในคลองเน้นปล่อยปลากินพืช  ในสระปล่อยปลานิลกับปลาตะเพียน  ซึ่งจะสูบน้ำจับปลาขายในช่วง  มีนาคม – เมษายน  ของทุกปี  การสูบน้ำจับปลาในแต่ละครั้งสังเกตเห็นที่ก้นสระมีลูกปลานิล  ปลาตะเพียน  จำนวนมากตาย  ซึ่งทำให้เกิดความเสียดอย  จึงเกิดความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงการเลี้ยงแบบเดิมคือเมื่อครบปีแล้วสูบน้ำจับปลา  ล้างบ่อ     โดยจับปลาขายโดยวิธีอื่นแทน  และจะเพาะพันธุ์ปลานิล  ปลาตะเพียน  ปีละ 3-4 ครั้ง  โดยเริ่มช่วงแรกในเดือนพฤษภาคม  ซึ่งเป็นช่วงต้นปีที่ปลาจะวางไข่  ซึ่งเป็นช่วงที่จะสามารถเพาะพันธุ์ปลาตามธรรมชาติได้ผลดี 

วิธีการเพาะพันธุ์ปลานิล  ปลาตะเพียน  คือการสูบน้ำขึ้นจากบ่อและวางสังกะสีให้น้ำไหลลงบ่อคืนโดยเริ่มสูบน้ำประมาณเวลา ๑๖.๓๐  - ๒๐.๓๐ น. ก็หยุดสูบ  ซึ่งในช่วงที่มีความมืดประมาณ ๑๙.๐๐ – ๒๐.๐๐ น. จะสังเกตเห็นปลานิล  ปลาตะเพียน  มาเกี้ยวและผสมพันธุ์วางไข่บริเวณที่น้ำไหลลงสระ  และหลังจากหยุดการสูบน้ำแล้วไข่ปลาที่แม่ปลามาวางไว้จะใช้เวลาฟักตัวประมาณ  ๘ – ๑๒  ชั่วโมง  ก็จะเป็นลูกปลา  ซึ่งมีจำนวนมากมาย  สามารถลดต้นทุนในการซื้อลูกปลามามาเลี้ยงได้

วัตถุประสงค์ ->

๑.  เลือกพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำ  เช่นแม่น้ำ  ลำคลอง  ที่มีน้ำบริบูรณ์  น้ำไม่ท่วม

๒.  ดินควรเป็นดินเหนียว  หรือเหนียวปนทราย  เพราะสามารถเก็บกักน้ำได้ดี

๓.  ใกล้แหล่งรับซื้อ  ตลาด  หรือชุมชน

๔.  สะดวกต่อการขนส่ง

๕.  ปลอดภัยจากขโมย

๖.  อยู่ห่างจากโรงงานอุตสาหกรรม  หรือที่ซึ่งอาจจะระบายน้ำเสียมาถึงบ่อ

๗.  หาความรู้เกี่ยวกับปลาที่จะเลี้ยง

๘.  พันธุ์ปลาที่เลี้ยงเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย  โตเร็ว  ทนต่อสภาพแวดล้อม  รสชาติดีเป็นที่นิยมในการบริโภค

๙.  เตรียมบ่อโดยโรยปูนขาวที่ก้นบ่อ  ตากทิ้ง  ๑๕  วัน  เพื่อฆ่าเชื้อโรค  แล้วจึงปล่อยน้ำเข้า

๑๐.  ใช้มูลสัตว์ตากแห้งและฟางข้าววางซ้อน ๆ กันหลายชั้นที่มุมบ่อ  เพื่อให้เกิดพืชและไรน้ำ  เพื่อเป็นอาหาร 

       สำหรับลูกปลา 

๑๑.  บนคันบ่อควรปลูกต้นไม้เพื่อให้ร่มเงาแก่ปลาที่เลี้ยงไว้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

การลดต้นทุนการเลี้ยงปลานิล  ปลาตะเพียนโดยการเพาะพันธุ์ลูกปลาเอาเองมีเทคนิคในการเพาะพันธุ์ปลา  คือ

๑.  การสูบน้ำขึ้นจากบ่อและวางสังกะสีให้น้ำไหลลงบ่อคืนโดยเริ่มสูบน้ำประมาณเวลา ๑๖.๓๐  - ๒๐.๓๐ น. ก็หยุดสูบ  ซึ่งในช่วงที่มีความมืดประมาณ ๑๙.๐๐ – ๒๐.๐๐ น. จะสังเกตเห็นปลานิล  ปลาตะเพียน  มาเกี้ยวและผสมพันธุ์วางไข่บริเวณที่น้ำไหลลงสระ  และหลังจากหยุดการสูบน้ำแล้วไข่ปลาที่แม่ปลามาวางไว้จะใช้เวลาฟักตัวประมาณ  ๘ – ๑๒  ชั่วโมง  ก็จะเป็นลูกปลา  ซึ่งมีจำนวนมากมาย  สามารถลดต้นทุนในการซื้อลูกปลามามาเลี้ยงได้

๒.  การสร้างไรน้ำ  พืชน้ำ  เพื่อเป็นอาหารของลูกปลา  โดยใช้มูลสัตว์ตากแห้งและฟางข้าววางซ้อน ๆ กันหลายชั้นที่มุมบ่อ

๓.  การจับปลาขาย  หากจับขายโดยสูบน้ำจับขายเป็นรุ่น  (ขายทั้งหมด)  จะทำให้ขายได้ราคาถูก  และลูกปลาที่อยู่ในบ่อตาย  เกิดความเสียหาน  และต้องซื้อพันธุ์ปลาเลี้ยงใหม่  ควรจับปลาขายเรื่อย ๆ  โดยไม้ต้องสูบน้ำออกจากบ่อ  ซึ่งจะทำให้ขายได้ราคาสูง  และมีรายได้ตลอดทั้งปี

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

เกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิล ปลาตะเพียน  สามารถลดตนทุนในการซื้อลูกปลามาปล่อย  ด้วยวิธีการเพาะลูกปลาข้างต้น  ซึ่งสามารถทำได้ทั้งปี

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครราชสีมา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา