เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การเลี้ยงปลาดุกในกระชัง

โดย : นายทองพิษ ปฎิทันโด ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-03-29-16:16:49

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ ๑๙ หมู่ที่๕ ตำบลหนองตาดใหญ่ อำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

กรมการพัฒนาชุมชน  กระทรวงมหาดไทย ได้จัดฝึกอบรมโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพให้กับครัวเรือนชุมชน โครงการส่งเสริมการเลี้ยงปลาในกระชัง จึงเป็นโครงการที่ผ่านการคัดเลือกจากเวทีประชาคม แรงบันดาลใจมาจากการได้ศึกษาดูงานจากผู้ประสบผลสำเร็จ เหตุผลเพื่อให้เกิดอาชีพ และสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนและเป็นแหล่งศึกษาดูงาน พัฒนาอาชีพ ของหมู่บ้าน / ชุมชนต่อไปการเลี้ยงปลาดุก การเลี้ยงปลาดุก สามารถเลี้ยงได้ทั้งในบ่อดิน บ่อซีเมนต์และในกระชัง แต่ส่วนมากนิยมเลี้ยงในบ่อดิน ซึ่งขนาดบ่อดินที่เหมาะสมควรมีขนาดไม่เกิน 1 ไร่

วัตถุประสงค์ ->

 การเตรียมพันธ์ปลา การเลือกซื้อลูกปลาควรพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

 1. แหล่งพันธุ์หรือบ่อเพาะฟัก ควรดูจาก- ความน่าเชื่อถือและไว้วางใจได้ในเรื่องคุณภาพ- มีการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ เพื่อให้ได้พันธุ์ที่มีคุณภาพ- มีความชำนาญในการขนส่งลูกปลา

2. ลักษณะภายนอกของลูกปลาต้องปกติสมบูรณ์ ซึ่งสังเกตจาก- การว่ายน้ำต้องปราดเปรียว ไม่ว่ายควงสว่าน หรือลอยตัวตั้งฉากพื้นบ่อ- ลำตัวสมบูรณ์ หนวด หาง ครีบ ไม่กร่อน ไม่มีบาดแผล ไม่มีจุดหรือปุยขาวเกาะ- ขนาดลูกปลาต้องเสมอกันการปล่อยลูกปลาบ่อเลี้ยง เมื่อขนส่งลูกปลามาถึงบ่อที่เตรียมไว้ควรแช่ถุงปลาไว้ในบ่อประมาณ 10-15 นาที เพื่อปรับอุณหภูมิระหว่างน้ำในถุงกับน้ำในบ่อเพื่อป้องกันลูกปลาช็อค

    ก่อนปล่อยลูกปลาควรมีการทำร่มเงาไว้ในบ่อให้ลูกปลาได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยอัตราการปล่อยเกษตรกรรายใหม่ ควรปล่อยลูกปลาขนาดปลานิ้ว จะทำให้อัตราการรอดสูง อัตราการปล่อย ปลาขนาด 2-3 เซนติเมตร ปล่อย 80,000-100,000 ตัว/ไร่ ก่อนปล่อยควรสุ่มนับจำนวนเพื่อตรวจสอบให้รู้จำนวนจริงอาหารและการให้อาหาร

ต้นทุนการผลิตปลาประมาณ 80% เป็นค่าอาหาร เพราะฉะนั้นการเลี้ยงใช้อาหารเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษการเลือกซื้ออาหาร ลักษณะของอาหาร - สีสันดี- กลิ่นดี ไม่เหม็นหืน- ขนาดเม็ดสม่ำเสมอ ไม่เป็นฝุ่น- การลอยตัวของอาหารในน้ำอยู่ได้นาน- อาหารไม่เปียกชื้น ไม่จับตัวเป็นก้อน ไม่ขึ้นราประเภทของอาหารสำเร็จรูป - อาหารสำหรับลูกปลาวัยอ่อน ใช้สำหรับลูกปลาขนาด 1 – 4 เซนติเมตร- อาหารปลาดุกเล็กพิเศษ ใช้สำหรับลูกปลาขนาด 3 เซนติเมตร – 1 เดือน- อาหารปลาดุกเล็ก ใช้สำหรับปลาอายุ 1-3 เดือน- อาหารปลาดุกใหญ่ ใช้สำหรับปลาอายุ 3 เดือน – ส่งตลาดวิธีการให้อาหารปลา เมื่อปล่อยลูกปลาวันแรกไม่ต้องให้อาหาร จะเริ่มให้อาหารวันถัดไป อาหารที่ให้เป็นอาหารลูกปลาวัยอ่อน พรมน้ำ แล้วนวดจนเหนียวปั้นเป็นก้อนแล้วเสียบกับไม้ปักไว้รอบบ่อปริมาณที่ให้ต้องให้ปลากินหมด ภายในเวลา 30-60 นาที โดยให้อาหารประมาณ 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นอาจจะให้อาหารปลาดุกเล็กพิเศษแช่น้ำให้นิ้มแล้วปั่นรวมกับอาหารลูกปลาวัยอ่อนให้ปลากิน เมื่อปลาโตพอกินอาหารเม็ดได้ก็เริ่มให้อาหารปลาดุกเล็กพิเศษอย่างเดียวหว่านให้กินกระจายทั่วบ่อปริมาณที่ให้กะหมดภายใน 30 นาที ให้กินจนลูกปลาอายุ 1 เดือน

ให้อาหารปลาดุกเล็กโดยให้ในแต่ละมื้อควรให้ปลากินหมดภายใน 30 นาที ช่วงนี้ควรเริ่มฝึกให้ปลากินอาหารเป็นที่ โดยให้อาหารจุดเดิมประจำปละเคาะหลักไม้ทุกครั้งเมื่อมีการให้อาหาร การให้อาหารปลาจะให้ 2 มื้อ ต่อวันให้อาหารปลาดุกเล็กจนลูกปลามีอายุ 2 เดือน ให้อาหารปลาดุกใหญ่ ปริมาณที่ให้แต่ละมื้อจะต้องให้ปลากินหมดภายใน 30 นาที่ โดยให้อาหาร 2 มื้อ ในกรณีปลาป่วย หรือกินอาหารลดลงให้ลดปริมาณอาหารลงครึ่งหนึ่งของปริมาณที่ให้ปกติ ในกรณีเกิดจากสภาพน้ำ หรือการเปลี่ยนแปลงของอากาศให้ปรับสภาพน้ำโดยทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำ หรือใส่เกลือ หรือปูนขาว ถ้าพบว่าปลาที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียให้ผสมปฏิชีวนะ 3-5 กรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ให้กินติดต่อกัน 7 วัน เช่น อาออกชีเตตร้าซัยคลิน ถ้าเกิดจากพยาธิภายนอกให้รักษาตามลักษณะของพยาธินั้น ๆ เช่นถ้าพบปลิงใส เห็บระฆัง เกาะจำนวนมาก หรือเริ่มทยอยตายให้ใช้ฟอร์มาลินเข้มข้น 30-40 ซีซี/น้ำ1,000 ลิตร ฉีดพ่นหรือสาดลงในบ่อแช่ทิ้งตลอด

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

การเลี้ยงปลาดุกในกระชัง เป็นอาชีพที่สามารถสร้างรายได้แก่ผู้เลี้ยงเป็นอย่างดี หากมีความสนใจ เอาใจใส่อย่างต่อเนื่อง และอาหารที่ใช้อาจใช้ไฟในการล่อแมลง เป็นช่องทางในการลดค่าใช้จ่ายด้านอาหารปลา

อุปกรณ์ ->

การให้อาหารลูกปลาควรให้จำนวนทีละน้อย เนื่องจากลูกปลามีกระเพาะค่อนข้างเล็ก และการย่อยอาหารยังไม่มีประสิทธิภาพเหมือนปลาโต

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ผู้เลี้ยงปลาในกระชัง ต้องมีความเข้าใจในหลักการเลี้ยง และต้องมีความอดทน ตลอดจนต้องเป็นคนตรงต่อเวลาในการทำกิจกรรมดังกล่าว

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครราชสีมา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา