เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การทอผ้าฝ้ายพันคอ

โดย : นางเทวา ภูผาพันธ์ ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-03-29-16:00:06

ที่อยู่ : ๒๑๖ หมู่ที่๒ บ้านหนองตาด ตำบลหนองตาดใหญ่ อำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

กรมการพัฒนาชุมชน  กระทรวงมหาดไทย ได้จัดฝึกอบรมโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพให้กับครัวเรือนชุมชน โครงการส่งเสริมการทอผ้าฝ้ายพันคอ จึงเป็นโครงการที่ผ่านการคัดเลือกจากเวทีประชาคม แรงบันดาลใจมาจากการได้ศึกษาดูงานจากผู้ประสบผลสำเร็จ เหตุผลเพื่อให้เกิดอาชีพ และสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนและเป็นแหล่งศึกษาดูงาน พัฒนาอาชีพ ของหมู่บ้าน / ชุมชนต่อไป

วัตถุประสงค์ ->

กรรมวิธีการทอผ้าให้เกิดลวดลายโดยการมัดที่เส้นพุ่งหรือเส้นยืนด้วยเชือกก่อนนำไปย้อมสีเพื่อให้เกิดสีและลายตามที่กำหนด แล้วจึงนำมาทอเป็นผ้าผืน   มีการทำกันมากในภาคอีสาน และบางจังหวัดในภาคกลาง เช่น จังหวัดอุทัยธานี
สุพรรณบุรี และชัยนาท ฯลฯ   การทอผ้ามัดหมี่แต่ละผืน จะต้องใช้เวลาและความปราณีต จัดเรียงเส้นไหมและฝ้าย
ให้สม่ำเสมอคงที่ และกรรมวิธีต้องเรียงลำดับก่อน - หลังเพื่อให้เกิดลวดลายสวยงาม ถูกต้อง ลวดลายจะเป็นลวดลาย

การค้น เส้นฝ้ายมีไขฉาบโดยธรรมชาติ ก่อนนำมาใช้ต้องชุบน้ำให้เปียกทั่วอณูของเส้นฝ้าย โดยชุบน้ำแล้วทุบด้วยท่อนไม้ผิวเรียบเรียกว่า การฆ่าฝ้าย ก่อนจะชุบฝ้ายหมาดน้ำในน้ำแป้งและตากให้แห้ง คล้องฝ้ายใส่กงแล้วถ่ายเส้นฝ้ายไปพันรอบอัก ตั้งอักถ่ายเส้นฝ้ายพันรอบหลักหมี่ ซึ่งมีความกว้างสัมพันธ์กับความกว้างของฟืมที่ใช้ทอผ้า นับจำนวนเส้นฝ้ายให้เป็นหมวดหมู่แต่ละหมู่มีจำนวนเส้นฝ้ายสัมพันธ์กับลายหมี่ มัดหมวดหมู่ฝ้ายด้วยเชือกฟาง วิธีการค้นหมี่ เอาฝ้ายที่เตรียมมาแล้วมัดหลักหมี่ด้านล่างก่อน แล้วพันรอบหลักหมี่ไปเรื่อยๆ เรียกว่า การก่อหมี่ การค้นหมี่จะต้องค้นจากล่างขึ้นบน หรือบนลงล่างจนกว่าจะครบจำนวนรอบที่ต้องการ ภาษาท้องถิ่นเรียกแต่ละจำนวนว่าลูกหรือลำ ถ้าก่อหมี่ผูกฝ้ายด้านขวา ก็ต้องวนซ้ายมาขวาทุกครั้ง ควรผูกฝ้ายไว้ทุกลูกด้วยสายแนม เพื่อไม่ให้หมี่พันกัน หรือหลุดออกจากกัน
การมัดหมี่ มัดกลุ่มฝ้ายแต่ละลูกหมี่ด้วยเชือกฟาง จนครบหลักหมี่ ทำเป็นเชิงผ้า การเริ่มต้นมัดลาย
หมี่ อาจมัดจากด้านบนไล่เรียงลงข้างล่าง หรือมัดข้างล่างก่อน ก่อนจึงไล่เรียงขึ้นข้างบน บางคนอาจเริ่มมัดจากตรงกลางก่อนจึงขยายออกไปเต็มหลักหมี่เริ่มมัดปลายเชือกด้านหนึ่งกับลูกหมี่ก่อน จึงพันอีกปลายหนึ่งซ้อนทับให้แน่นเพื่อไม่ให้สีย้อมซึมเข้าข้อหมี่ เมื่อพันทับกันไปจนได้ความยาวตามลายหมี่แล้ว มัดปลายเชือกกับลูกหมี่ให้แน่นเช่นกัน โดยเหลือปลายเชือกไว้เมื่อเวลาแก้ปอมัดจะทำได้ง่าย เอาเชือกเส้นหนึ่งสอดเข้าไปในช่องหลักหมี่ข้างใดข้างหนึ่ง ผูกกลุ่มฝ้ายไว้เป็นวงไม่ให้หมี่ที่มัดลวดลายแล้วหลุดออกจากกัน และใช้เป็นหูหิ้วสำหรับจับ เวลาย้อม ถอดฝ้ายมัดหมี่ออกจากหลักหมี่

การแก้ปม หมี่ที่มัดเสร็จเรียบร้อยและถอดออกจากหลักหมี่แล้วนำไปแช่น้ำให้เปียกบิดให้หมาด นำไปย้อมสีครามล้างสีให้สะอาด จึงนำมาแก้ปอมัดหมี่ พาดราวกระตุกให้เรียงเส้น ผึ่งให้แห้งได้ฝ้ายมัดหมี่

การปั่นหลอด นำฝ้ายมัดหมี่คล้องใส่กงซึ่งวางอยู่ระหว่างตีนกง 1 คู่ หมุนกงคลายฝ้ายออกจากกงพัน
เข้าหลอดไม้ไผ่เล็กๆที่เสียบแน่นอยู่กับเหล็กไนของหลา ความยาวของหลอดไผ่สัมพันธ์กันกับกระสวยทอผ้า เมื่อหมุนกงล้อไม้ไผ่ของหลา เหล็กไนและหลอดจะหมุนเอาเส้นฝ้ายจากกงพันรอบแกนหลอดไม้ไผ่ ให้ได้จำนวนเส้นฝ้ายพอเหมาะกับขนาดของร่องกระสวยทอผ้า

การร้อยหลอดฝ้าย ร้อยหลอดฝ้ายที่ปั่นแล้วตามลำดับก่อนหลังหากร้อยหลอดผิดลำดับหรือทำเชือกร้อยหลอดขาดทำให้ลำดับฝ้ายผิดไป ไม่สามารถทอเป็นลวดลายตามต้องการได

  ลายหมี่ นับเป็นวัฒนธรรมด้านสิ่งทอของภูมิภาคอีสาน ผ้าฝ้าย ความสวยงามของลาย หมี่เป็นสัญลักษณ์แสดงความเจริญทางปัญญาของชุมชนและที่สำคัญอีกอย่างของผ้าทอที่มีคุณภาพและมีเสน่ห์สวยสะดุดตาคือการเพิ่มสีสรรด้วยการย้อม ที่ทำให้ผู้ใช้มีความพอใจ ภูมิใจที่ได้เป็นเจ้าของ การใช้ผ้าย้อมครามมานานเท่ากับการทอผ้า ในสมัยโบราณสีครามได้ฉายาว่าเป็นราชาแห่งสีย้อม   นอกจากนี้มีร่องรอยการทำสีครามธรรมชาติ และพบต้นครามกระจายอยู่ทั่วไปในเขตร้อนของเอเชีย แอฟริกา และอเมริกา ดังนั้นสีครามและผ้าย้อมครามจึงเคยเป็นที่รู้จักของคนเกือบครึ่งโลก แต่ถูกเทคโนโลยีและสีสังเคราะห์เข้าแทนที่ ทำให้การทำสีครามและผ้าย้อมครามลดลงอย่างรวดเร็วจนความรู้ด้านนี้เกือบสูญย้อมสีครามด้วยวัตถุดิบจากธรรมชาติ โดยกระบวนการดั้งเดิมที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ทำให้ผ้าย้อมครามได้รับความนิยมจากกลุ่มคนที่ตระหนักในคุณค่าของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและศิลปะพื้นบ้านทำด้วยมือ ซึ่งเป็นกลุ่มคนวัยทำงานทั้งในสำนักงาน สถานศึกษาและอื่นๆจนขยายออกไป

กรรมวิธีการทำเส้นด้าย
        - การอิ้วฝ้าย หรือการหีบฝ้าย เป็นการแยกเมล็ดฝ้ายออกจากปุยฝ้าย โดยใช้เครื่องหีบฝ้าย หรือเครื่องอิ้วฝ้าย
        - การดีดฝ้ายเป็นการทำให้ฝ้ายแตกกระจายออกเป็นเนื้อเดียวกัน
        - การดิ้วฝ้าย เป็นการนำด้ายที่ดีดเป็นปุยแล้วมาล้อหมุนให้ได้ฝ้ายที่มีลักษณะกลม โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า ไม้ล้อ
        - การเข็นฝ้าย หรือการปั่นฝ้าย เป็นการดึงฝ้ายที่ดิ้วแล้วให้เป็นเส้นด้าย โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า ไน หรือ หลา แล้วใช้ไม้เปียด้ายพันด้าย จนมีขนาดโตพอประมาณ แล้วดึงด้ายออก เรียกว่า ปอย หรือ ไจ

การตกแต่งเส้นด้าย
        - การฆ่าด้าย เป็นวิธีการทำให้ด้ายมีความเหนียว มีความทนทานเพิ่มขึ้น ไม่เป็นขน โดยนำไปต้มกับข้าว วิธีการนี้จะใช้กับเส้นด้ายที่ไม่ต้องการย้อมสี
        - การย้อมสี เป็นวิธีเพิ่มความสวยงามให้แก่ผืนผ้า โดยใช้สีที่ได้จากธรรมชาติ ซึ่งจะได้จากส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น ราก ดอก ต้น แก่น ลูก และใบ กรรมวิธีการย้อมไม่ยุ่งยากซับซ้อน มีวิธีย้อมตามลักษณะของวัสดุ คือวัสดุบางชนิดจะต้องย้อมร้อน บางชนิดต้องย้อมเย็น พืชที่นำมาใช้เป็นสีย้อมผ้า ได้แก่
        สีดำ ได้จาก ผลมะเกลือ เปลือกกระโดน มะเกลือเลือด แก่นแกแล เปลือกอินทนิล ฝักระกำ
        สีคราม ได้จาก ต้นคราม
        สีเหลือง ได้จาก ขมิ้นกับยอดแค
        สีแดงและสีชมพูได้จาก แก่นฝาง
        สีเขียวอ่อนได้จาก ผักกาด
        วิธีการย้อมสี ผ้าหรือเส้นด้ายที่จะย้อม จะต้องซักหรือแช่น้ำให้เปียกทั่วกันทั้งผืนเสียก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้สีด่าง จะทำให้สีติดผ้าทั่วกันทั้งผืน และเมื่อย้อมสีเสร็จแล้วจะต้องนำผ้าไปล้างด้วยน้ำสะอาดก่อนนำไปตาก

เส้นใยและการทอ
        เส้นใยที่ใช้ทอ นิยมทอจากใยฝ้าย การเตรียมเส้นด้าย ต้องเลือกฝ้ายเฉพาะชนิดที่มีปุย สีขาว นำมาผ่านกรรมวิธีดังนี้
        1.  การอิ้วฝ้าย เป็นการนำปุยฝ้ายมาหีบเพื่อเอาเมล็ดออก
        2.  การดีดฝ้าย เป็นการทำให้ฝ้ายฟู ไม่จับตัวเป็นก้อน
        3.  การล้อฝ้าย เป็นวิธีการม้วนปุยฝ้ายให้เป็นแท่ง
        4.  การเข็นฝ้าย เป็นการปั่นดึงฝ้ายให้ออกมาเป็นเส้นด้าย
        5.  เปียด้าย เป็นวิธีการที่ทำให้ด้ายเป็นเข็ด หรือเป็นใจ
        6.  การทำความสะอาดเส้นด้าย โดยนำไปแช่น้ำ 2 - 3 คืน แล้วนำมาทุบหรือตำเพื่อทำให้ด้ายเข้าน้ำ แล้วนำไปต้มให้สิ่งสกปรกและไขมันออกให้หมด ต่อจากนั้นจึงนำไปย้อมสี
        7.  การฆ่าด้าย เป็นการทำให้ด้ายแข็งตัว มีความเหนียวและไม่เป็นขน โดยต้มกับข้าวสาร
        8.  การปั่นหลอด เป็นการนำด้ายมาปั่นใส่หลอด เก็บไว้โดยใช้กวักหรือหลาปั่นด้าย
        9.  การค้นด้าย เป็นการจัดเรียงเส้นด้ายที่จะทอโดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า "เผือ"
        10.  การหวีเครือ เป็นการนำด้ายที่ค้นแล้วไปสอดใส่ในรูฟืมที่ใช้ในการทอ แล้วใช้หวีเครือซึ่งทำจากขนหมูป่า หวีเส้นด้ายเพื่อทำให้จัดเรียงเป็นระเบียบ
        11.  สืบหูกเก็บเหา เป็นการต่อด้ายยืนหรือด้ายเครือเข้ากับเหาหรือตะกอ เพื่อแบ่งด้ายยืนออกเป็นหมู่ ๆ
        12.  การค้นหมี่ หมายถึง การกำหนดด้ายทอเส้นพุ่งโดยเรียกเป็นลำ (1 ลำ หมายถึง ด้าย 4 เส้น)
        13.  การมัดหมี่ เมื่อค้นหมี่เสร็จแล้วนำด้ายมาใส่ที่โฮงมัดหมี่เพื่อมัดเป็นลวดลายตามต้องการ แล้วนำไปย้อมสีทีละสีตามลายที่กำหนดไว้
        14.  การแก้มัดหมี่ ใช้มีดคม ๆ ตัดปมเชือกทีละเปลาะจนหมดเชือก
        15.  การกรอด้าย ด้ายที่มัดหมี่แล้วนำมากรอใส่หลอดเพื่อใส่กระสวย โดยใช้หลาปั่นด้ายและระวิง
        16.  นำหลอดด้ายที่กรอแล้วมาใส่ในกระสวย
        17. การทอ ผู้ที่ทอผ้ามัดหมี่ต้องมีความชำนาญจึงจะได้ลวดลายที่ถูกต้องชัดเจน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

การทอผ้าฝ้ายเป็นศิลป์การใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านในการออกแบบ ซึ่งต้องใช้ความปราณีต อดทน ในการนำผลผลิตทรงคุณค่าสู่สายตาลูกค้า

อุปกรณ์ ->

  

ข้อพึงระวัง

                           การตกแต่งเส้นด้าย
        - การฆ่าด้าย เป็นวิธีการทำให้ด้ายมีความเหนียว มีความทนทานเพิ่มขึ้น ไม่เป็นขน โดยนำไปต้มกับข้าว วิธีการนี้จะใช้กับเส้นด้ายที่ไม่ต้องการย้อมสี
        - การย้อมสี เป็นวิธีเพิ่มความสวยงามให้แก่ผืนผ้า โดยใช้สีที่ได้จากธรรมชาติ ซึ่งจะได้จากส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น ราก ดอก ต้น แก่น ลูก และใบ กรรมวิธีการย้อมไม่ยุ่งยากซับซ้อน มีวิธีย้อมตามลักษณะของวัสดุ คือวัสดุบางชนิดจะต้องย้อมร้อน บางชนิดต้องย้อมเย็น พืชที่

 วิธีการย้อมสี ผ้าหรือเส้นด้ายที่จะย้อม จะต้องซักหรือแช่น้ำให้เปียกทั่วกันทั้งผืนเสียก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้สีด่าง จะทำให้สีติดผ้าทั่วกันทั้งผืน และเมื่อย้อมสีเสร็จแล้วจะต้องนำผ้าไปล้างด้วยน้ำสะอาดก่อนนำไปตาก

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การทอผ้าฝ้ายธรรมชาติเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นทรงคุณค่า

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครราชสีมา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา