เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การเลี้ยงนกกระทาเนื้อ - นกกระทาไข่

โดย : นางเทียมใจ พลดงนอก ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-03-29-15:52:21

ที่อยู่ : เลขที่ 9 บ้านหนองตาดใหญ่ หมู่ที่1 ตำบลหนองตาดใหญ่ อำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

กรมการพัฒนาชุมชน  กระทรวงมหาดไทย ได้จัดฝึกอบรมโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพให้กับครัวเรือนชุมชน โครงการส่งเสริมการเลี้ยงนกกระทาเนื้อ นกกระทาไข่ จึงเป็นโครงการที่ผ่านการคัดเลือกจากเวทีประชาคม แรงบันดาลใจมาจากการได้ศึกษาดูงานจากผู้ประสบผลสำเร็จ เหตุผลเพื่อให้เกิดอาชีพ และสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนและเป็นแหล่งศึกษาดูงาน พัฒนาอาชีพ ของหมู่บ้าน / ชุมชนต่อไป

วัตถุประสงค์ ->

การเลี้ยงนกไข่

การเลือกดูเพศตัวเมียให้ไข่สามารถดูได้เมื่อนกอายุ 15 วัน คือในช่วงอยู่ในกรงนกรุ่น ตัวเมียจะเห็นขนใต้คางเป็นสีขาว ตัวผู้ขนใต้คางจะเป็นสีแดง การเลี้ยงนกไข่นั้นจะเลี้ยงในกรงขนาด 40 * 40 เซนติเมตร ต่อนก 7 ตัว หรือถ้าอากาศร้อนก็ควรลดเหลือ 6 ตัว เลี้ยงไปอีกประมาณ 10 วัน นกจึงเริ่มให้ไข่ วิธีการเลี้ยงนกไข่มีขั้นตอนต้องดูแล 3 ขั้นตอนคือ

ขั้นตอนแรก การให้อาหารและน้ำ โดยน้ำจะให้ไว้ในรางตลอด ส่วนอาหารจะให้วันละ 2 ครั้งคือ ตอนสาย ๆ และบ่าย ๆ อาหารที่ให้จะเป็นอาหารที่ใช้เลี้ยงนกกระทาโดยเฉพาะก็ได้หรืออาจจะเป็นสูตรอาหารที่คิดขึ้นเองโดยเน้นโปรตีนเป็นหลัก

ขั้นตอนที่สอง การทำความสะอาดรางน้ำและกรงนก ถ้าหากกรงนกไม่เปื้อนอาหารนั้นก็จะไม่สกปรกมากจึงไม่จำเป็นต้องทำความสะอาดประจำ แต่รางน้ำจำเป็นต้องทำความสะอาดทุกวัน เพราะถ้าสกปรกอาจทำให้นกเป็นโรคและติดเชื้อได้ง่าย การทำความสะอาดอาจติดตั้งเป็นระบบปั๊มน้ำไว้ แล้วเปิดน้ำไปตามรางใช้แปรงถูรางน้ำ ปล่อยน้ำล้างให้สะอาด วิธีนี้ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาถอดรางน้ำออกมาล้าง ส่วนตาข่ายที่ใช้ทำกรงต้องถอดออกไปทำความสะอาดนำไปขัดล้างแค่เพียง 2 ปีต่อครั้ง

ขั้นตอนสุดท้าย การเก็บไข่เวลาที่ใช้เก็บไข่ควรเก็บช่วงเย็นประมาณ 18.30 – 19.00 น. แล้วเตรียมใส่ถุงส่งให้ลูกค้าในวันรุ่งขึ้น หากมีไข่หลังจากเก็บไปแล้วก็จะนำไปรวมกันวันต่อไป ควรออกแบบกรงให้สะดวกต่อการเก็บไข่โดยให้ไข่ไหลเทออกมาที่รางด้านนอกกรง ถ้าหากมีไข่ติดอยู่ใต้กรงให้ใช้ไม้เขี่ยออกมาเบา ๆ ไข่ที่เก็บได้แล้วต้องรีบนำไปขาย เพราะอายุของไข่นกสด ๆ อยู่ได้ประมาณ 10 วันเท่านั้น นก 7 ตัว ควรจะให้ไข่ 4 – 5 ฟอง หากให้ต่ำกว่านี้ ต้องพยายามตรวจสอบว่านกตัวไหนไม่ให้ไข่ จะจับแยกออกมาเลี้ยงเป็นนกเนื้อแทน ปกตินกจะให้ไข่ประมาณ 8 – 9 เดือน และจะให้ไข่น้อยลงจนไม่ให้ไข่เลยเมื่ออายุ 10 – 12 เดือน จึงต้องปลดขายเป็นนกเนื้อ และทยอยเลี้ยงรุ่นใหม่หมุนเวียนกันไปตลอด

อุปกรณ์ที่จำเป็นในการเลี้ยงนกกระทา

1. เครื่องกก การเลี้ยงนกกระทาสามารถทาได้ 2 รูปแบบ ได้แก่ การเลี้ยงบนพื้นที่ปูทับด้วยวัสดุรองพื้น เช่น แกลบ (เปลือกข้าว) หรือเปลือกถั่ว หนาประมาณ 2.5 เซนติเมตร ในช่วงแรกของการกกจะต้องใช้ประสอบป่าน หรือกระดาษผิวด้านปูรองพื้น ล้อมรอบด้วยแผงกันกกซึ่งอาจจะทาด้วยไม้ไผ่สาน ตาข่าย หรือสังกะสีให้มีความสูงประมาณ 20 เซนติเมตร ล้อมรอบกกเอาไว้
เนื่องจากลูกนกกระทาแรกเกิดจะไม่สามารถผลิตความร้อนเพื่อรักษาอุณหภูมิร่างกายได้ ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องได้รับความอบอุ่นจากเครื่องกก ซึ่งอาจจะใช้หลอดไฟหรืออาจจะใช้เครื่องกกแก๊สก็ได้ ติดตั้งไว้ตรงส่วนกลางของวงล้อมกก วงล้อมกกที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 90 เซนติเมตรสามารถกกลูกนกได้ 150 ตัว และไม่ควรกกลูกนกกระทาในกกเดียวกันเกิน 300 ตัว ถ้าหากใช้หลอดไฟในการกกจะต้องคำนวณจำนวนวัตต์ที่ใช้ โดยประมาณให้ใช้หลอดไฟ 1 วัตต์/ลูกนก 1 ตัว ในช่วงสัปดาห์แรกจะต้องมีการกกตลอด 24 ชั่วโมง สัปดาห์ที่ 2 จะทำการกกเฉพาะตอนกลางคืนและสัปดาห์ที่ 3 ก็ไม่จำเป็นจะต้องกก แต่ถ้าเป็นช่วงฤดูหนาวก็อาจจะกกลูกนกจนกระทั่งอายุ 3 สัปดาห์ก็ได้
กรงกก สำหรับลูกนกซึ่งเพิ่งฟักออกจากไข่ใหม่ ๆ ต้องการความอบอุ่นเช่นเดียวกับลูกไก่ ซึ่งจำเป็นต้องให้ความอบอุ่นแก่ลูกนก การให้ความอบอุ่นอาจจะใช้หลอดไฟชนิดเผาไส้หรือเครื่องกกแก๊สก็ได้
ขนาดของกรงกกลูกนก ขนาดกว้าง 90 เซนติเมตร ยาว 1.50 เมตร สูง 40-50 เซนติเมตร ใช้กกลูกนกอายุ 1-20 วัน ได้ประมาณ 250-300 ตัว ด้านข้างของกรงควรจะปิดทึบ ด้านบนทำเป็นฝาบุด้วยลวดตาข่ายยกเปิดปิดได้ ส่วนพื้นกรงใช้ลวดตาข่ายสี่เหลี่ยมขนาด 1 เซนติเมตร

2. อุปกรณ์ให้อาหาร สำหรับลูกนกควรใช้ถาดอาหารทำเองให้มีขอบสูงขึ้นมาประมาณ 1-2 เซนติเมตร หรืออาจจะใช้รางอาหารสำหรับให้ลูกไก่ก็ได้ ในช่วง 3 วันแรกควรจะโรยอาหารลงบนพื้นที่ปูด้วยกระดาษหรือกระสอบป่านเพื่อให้นกได้รู้จักการกินอาหารได้เร็วขึ้น
อุปกรณ์ให้อาหารสาหรับนกใหญ่ ควรเป็นรางอาหารที่ตรงขอบด้านในเพื่อป้องกันการคุ้ยเขี่ยอาหารให้หกกระเด็นออกมานอกราง ซึ่งจะตั้งไว้ภายในกรงหรือแขวนอยู่ด้านนอกกรงก็ได้

3. อุปกรณ์ให้น้ำ สาหรับลูกนกให้ใช้อุปกรณ์ให้น้ำลูกไก่แบบขวดขนาดเล็ก และใส่ก้อนกรวดเล็กๆ ไว้ในจานน้ำด้วยเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกนกตกน้ำ
ส่วนนกใหญ่ หรือลูกนกอายุเกิน 2-3 สัปดาห์แล้ว ใช้อุปกรณ์การให้น้ำลูกไก่แบบขวดคว่ำไม่ต้องใส่ก้อนกรวดหากให้น้าภายในกรง แต่ถ้าให้น้ำภายนอกกรงก็ใช้รางน้ำแขวนไว้ด้านนอกกรงเช่นเดียวกับรางอาหาร หรือจะใช้ขันน้ำก็ได้
4. เครื่องตัดปากนก เมื่อลูกนกมีอายุประมาณ 30 วัน ก่อนที่จะแยกไปเลี้ยงในกรงนกใหญ่ ควรจะตัดปากเสียก่อน เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้นกจิกก้นกัน ซึ่งเป็นสาเหตุให้นกตายได้ วิธีการตัดปากนกกระทาทำเช่นเดียวกับการตัดปากไก่

 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ปัจจัยความสำเร็จการเลี้ยงนกกระทา
เหตุผลบางประการที่ทำให้นกกระทาได้รับความสนใจและนิยมเลี้ยงกันมาในหลายประเทศ ได้แก่
1. โรงเรือนสาหรับเลี้ยงนกกระทาไม่จำเป็นจะต้องออกแบบมาโดยเฉพาะ เพียงมีห้องว่างพอที่จะกันแดด ลม ฝน และศัตรูต่าง ๆ ได้ก็สามารถเลี้ยงนกกระทาได้แล้ว
2. นกกระทาต้องการพื้นที่การเลี้ยงน้อยจึงทำให้ต้นทุนการเลี้ยงต่อตัวต่ำ
3. นกกระทาสามารถเลี้ยงและจำหน่ายเป็นนกกระทาเนื้อได้เมื่ออายุประมาณ 5 สัปดาห์ และนกกระทาตัวเมียจะเริ่มวางไข่เมื่ออายุประมาณ 7 สัปดาห์ ดังนั้น การเลี้ยงนกกระทาจึงสามารถคืนทุนได้เร็วกว่าการเลี้ยงไก่มาก
4. นกกระทามีความต้านทางโรคมากกว่าไก่ ดังนั้น การเลี้ยงนกกระทาจึงไม่จำเป็นจะต้องใช้วัคซีนป้องกันโรค ยาถ่ายพยาธิ จึงง่ายต่อการเลี้ยงดูและการจัดการ
5. เนื่องจากนกกระทามีขนาดเล็กจึงกินอาหารน้อยส่งผลให้ต้นทุนในการเลี้ยงดูน้อยลงด้วย
ดังนั้น ฟาร์มเลี้ยงนกกระทาจึงสามารถทำได้แม้กระทั่งเกษตรกรผู้นั้นจะมีต้นทุนน้อย มีทักษะใน

อุปกรณ์ ->

โรคและการป้องกัน
นกกระทามีความทนทานต่อโรคติดต่อมากกว่าไก่ อัตราการตายในระยะกกอาจสูงถึง 20-25% ถ้าหากมีการจัดการไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะเรื่องของการให้ความอบอุ่นในการกก การกกที่หนาแน่นเกินไป หรือการใช้อุปกรณ์ให้น้ำและอาหารไม่เหมาะสม ถ้ามีการจัดการและการเลี้ยงดูที่ถูกต้องนกกระทาจะมีอัตราการตายตั้งแต่แรกเกิดจนถึงจับขายเป็นนกเนื้อประมาณ 8-10% การจัดการป้องกันโรคติดต่อเหมือนกับการเลี้ยงไก่ แต่การเลี้ยงนกกระทาไม่จำเป็นจะต้องทำวัคซีนเหมือนกับไก่กระทงและไก่ไข่

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การประกอบอาชีพเสริมโดยการเลี้ยงนกกระทา ต้องเป็นผู้มีความอดทน มีใจรักในอาชีพ และเป็นคนตรงต่อเวลาในการทำงาน จึงจะประสบความสำเร็จ

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครราชสีมา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา