เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

การจัดตั้งกลุ่มอาชีพเพื่อขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

โดย : นางสาวลัดดา ศรีบุรมย์ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-29-11:41:07

ที่อยู่ : สนง.พัฒนาชุมชนอำเภอโนนสูง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ในปี ๒๕๖๐ อำเภอโนนสูงได้รับการสนับสนุนงบประมาณ โครงการสร้างสัมมาชีพชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามแผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็งของรัฐบาล ซึ่งตอบสนองนโยบายรัฐบาลเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐ ข้าพเจ้ามีหมู่บ้านเป้าหมายที่รับผิดชอบจำนวน ๔ หมู่บ้าน ใน ๒ ตำบล โดยโครงการนี้จะต้องถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับปราชญ์ชุมชน เพื่อให้กลับไปสร้างทีม และจัดฝึกอบรมอาชีพให้กับครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพในหมู่บ้าน โดยใช้พื้นที่ในบ้านปราชญ์ชุมชนหรือศูนย์เรียนรู้ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ เพื่อมุ่งหมายให้ครัวเรือนที่เข้ารับการฝึกอาชีพมีความรู้ และปฏิบัติอาชีพได้จริง จนพัฒนาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน และต่อยอดสู่การรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความเข้มแข็งต่อไป

          ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานดังกล่าว ยังพบข้อจำกัดในการดำเนินงานในเรื่องการขาดการรวมกลุ่มอาชีพ ซึ่งวัยแรงงานส่วนใหญ่ในบ้านหลุมข้าวพัฒนา ประกอบอาชีพรับจ้างในตัวเมืองจังหวัดนครราชสีมา ประชาชนที่ร่วมกิจกรรมในหมู่บ้านส่วนมากจะเป็นผู้สูงอายุและชอบอยู่บ้าน จึงได้มีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพเพื่อขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขึ้น

วัตถุประสงค์ ->

๑. ประชุมสร้างความเข้าใจการดำเนินงานสัมมาชีพชุมชนให้กับทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน

๒. มอบหมายทีมวิทยากรผู้นำสัมมาชีพ จัดทำฐานข้อมูลครัวเรือนที่ต้องดูแล โดยวิทยากรสัมมาชีพชุมชน ๑ คน รับผิดชอบหาทีมเพิ่มเติมโดยการเป็นที่ปรึกษา สนับสนุน และติดตามผลการดำเนินงาน ๔ ครัวเรือน

๓. ประชุมสร้างความรู้ความเข้าใจการดำเนินงานสัมมาชีพชุมชน แก่ครัวเรือนสัมมาชีพทั้ง 20 ครัวเรือน โดยให้ครัวเรือนสัมมาชีพได้แสดงความคิดเห็นอย่างทั่วถึง ให้เลือกกลุ่มอาชีพที่ครัวเรือนต้องการฝึกทักษะและต้องการประกอบอาชีพเอง โดยจะต้องเป็นกลุ่มอาชีพที่มีวัตถุดิบในพื้นที่เกิดการสร้างรายได้สร้างอาชีพให้แก่คนในชุมชน ที่สำคัญคือเป็นการให้ชาวบ้านสอนชาวบ้านเอง เป็นอาชีพที่สร้างรายได้เร็ว ชี้ให้เห็นถึงการรวมกลุ่มอาชีพ

๖. การศึกษาดูงานการทำน้ำพริกและกล้วยฉาบ จากหมู่บ้านที่ประสบผลสำเร็จ

๗. สร้างความรู้ความเข้าใจในการก่อตั้งกลุ่มอาชีพ เพื่อต่อยอดเป็นกลุ่ม OTOP

๘. การคัดเลือกคณะกรรมการกลุ่ม เพื่อทำหน้าที่บริหารจัดการกลุ่มอาชีพ

๙. การระดมทุนในการก่อตั้งกลุ่มอาชีพ เพื่อให้สมาชิกรู้สึกว่าตนเองเป็นเจ้าของกลุ่ม

 ๑๐. จัดตารางการปฏิบัติงานของกลุ่ม

๑๑. ประชาสัมพันธ์การดำเนินงาน และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ่านช่องทางต่างๆ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. การจัดการและการพัฒนาทรัพยากรบุคคลในการทำงานของกลุ่ม/องค์กรชุมชนนั้นมีทั้งการทำนุบำรุงรักษา ทั้งจัดการทั้งพัฒนา ร่วมทั้งสืบทอดด้วย มิติของการพัฒนาบุคคลมี 2 มิติ คือ

- พัฒนาความสามารถ ได้แก่ ทักษะการผลิตการตลาดทำงานองค์กร การต่อรอง การจัดการกับความขัดแย้ง เป็นต้น

- พัฒนาจิตสำนึก ได้แก่ ความซื่อสัตย์ รักษาวินัย มีศีลธรรม รับผิดชอบ เสียสละ เป็นต้น

2. การจัดการและการพัฒนาทรัพยากรวัตถุ การจัดการและการพัฒนาทุน ได้แก่ กลยุทธ์การระดมทุน การพัฒนาทุน การจัดแบ่งบริหารเงินทุน การผลิตและการแปรรูปผลผลิต การเพิ่มมูลค่าผลผลิต การเก็บรักษาจะมีลักษณะเชื่อมโยงอย่างต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ การจัดการและการพัฒนาการตลาดในกรณีที่องค์กรชุมชนเริ่มทำธุรกิจจำเป็นต้องมีการแสวงหาตลาด การขยายตลาด ร่วมทั้งการสร้างตลาดใหม่ๆ การจัดการกับการแบ่งปันผลประโยชน์ ได้แก่ กิจกรรมที่เกี่ยวกับการจัดสรรกำไร การจ่ายค่าตอบแทนเงินปันผลโดยยึดหลักการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง หลักยุติธรรม และหลักความโปร่งใส ตรวจสอบได้

อุปกรณ์ ->

1. ควรมีการกำหนดกิจกรรมของกลุ่มให้ชัดเจน สมาชิกในกลุ่มต้องมีส่วนร่วมในการประชุมหารือ เพื่อการกำหนดกิจกรรมของกลุ่ม ธุรกิจหรือการให้บริการของกลุ่มให้ชัดเจน เพื่อให้การดำเนินงาน/กิจกรรมของกลุ่มบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมาย

2. สมาชิกทุกคนในกลุ่มต้องมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม ร่วมวางแผนการทำงาน ร่วมกันสอดส่องดูแลการดำเนินงานของคณะกรรมการว่าถูกต้องตามที่กำหนดหรือไม่ ต้องคิดเสมอว่าเราเป็นเจ้าของกิจการกลุ่ม การดำเนินงานของกลุ่มจะสำเร็จหรือล้มเหลวขึ้นอยู่กับสมาชิกทุกคน และการมีส่วนร่วมในการร่วมมือร่วมแรงร่วมใจและร่วมทุนของสมาชิกทุกคน

3. กำไรที่เกิดจากการทำธุรกิจของสมาชิกในกลุ่มจะต้องแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม ซึ่งต้องระบุไว้ในข้อตกลงตั้งแต่เริ่มแรกของการดำเนินงานโครงการจัดทำเป็นเอกสารว่าจะแบ่งผลประโยชน์กันอย่างไร มีอะไรบ้าง และจะแบ่งปันเท่าใด อย่างไร โดยทั่วไปจะแบ่งเป็น ๒ ส่วน โดย ส่วนแรก จะใช้ในการพัฒนางานของกลุ่ม ส่วนที่สองใช้ในการแบ่งปันผลประโยชน์คืนกำไรให้แก่สมาชิก

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. การทำงานของกลุ่มจะต้องโปร่งใสตรวจสอบได้ การทำงานทุกอย่างย่อมมีการผิดพลาดเสมอ สมาชิกต้องคอยสอดส่องดูและการทำงานของคณะกรรมการโดยตลอด เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่กลุ่มได้หากพบว่าอะไรที่ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นไปตามที่กำหนดหรือตกลงไว้ต้องรีบทักท้วงจะได้ไม่เกิดความเสียหายลุกลามใหญ่โตจนแก้ไขไม่ได้ ทางกลุ่มจะได้ให้บริการได้อย่างเต็มที่ สมาชิกก็ต้องมีความไว้วางใจ ไม่หวาดระแวงกันโดยเฉพาะเรื่องการเงิน ซึ่งต้องมีการจดบันทึกเป็นประจำทุกวัน หากปล่อยไว้นานๆ อาจหลงลืมได้ ไม่สามารถบอกได้ว่าจ่ายค่าอะไรไป รับค่าอะไรมา ที่สำคัญคือทำให้รู้ว่าแต่ละปีกิจการของกลุ่มมีกำไร-ขาดทุนมากน้อยเพียงใด

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครราชสีมา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา