เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน

โดย : นางสาวจิราภรณ์ ศรีพรม ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-29-11:47:29

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองยาง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองยาง ได้จัดทำโครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน เพื่อส่งเสริมอาชีพตามแนวทางสัมมาชีพชุมชนแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย โดยคัดเลือกพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินงานในเขตพื้นที่อำเภอเมืองยาง  จากโครงการส่งเสริมการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงภาคเกษตรและภาคชนบท (ยุทธศาสตร์ที่ 1 ) ซึ่งอำเภอเมืองยางได้รับเป้าหมาย จำนวน 19 หมู่บ้าน และในพื้นที่ตำบลกระเบื้องนอกจำนวน 13 หมู่บ้านและตำบลอื่นๆอีก 6 หมู่บ้าน  ซึ่งหลักการคือการพัฒนาทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับปราชญ์ชุมชน คือ 1 คน ต่อ 1 หมู่บ้าน ซึ่งได้รับการอบรม จากสถาบันการพัฒนาชุมชนสระบุรีเพื่อให้ปราชญ์กลับไปสร้างทีมอีก4 คนและจัดฝึกอบรมให้กับครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพในหมู่บ้านๆละ 20 คน เพื่อมุ่งหมายให้ครัวเรือนที่เข้ารับการฝึกอาชีพมีความรู้ และปฏิบัติอาชีพได้จริง จนพัฒนาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือน และต่อยอดสู่การรวมกลุ่มการจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความเข้มแข็งต่อไปและสามารถลงทะเบียนโอทอปได้

วัตถุประสงค์ ->

1. ศึกษาและทำความเข้าใจแนวทางสัมมาชีพชุมชนอย่างละเอียด รวมทั้งจัดทำแผนปฎิบัติการ เตรียมความพร้อมก่อนการดำเนินการสังเคราะข้อมูลอาชีพ ทักษะพื้นฐาน(ทุนเดิมของหมู่บ้านและของผู้แทนครัวเรือนเป้าหมายที่เข้าฝึกอบรมที่สถาบันการพัฒนาชุมชน)

2.ดำเนินการ ร่วมกับหน่วยงานภาคี และพัฒนากรตำบล คัดเลือกปราชญ์ชุมชนเพิ่มเติมอีกหมู่บ้านละ 4 คน

3. จัดเวทีให้ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน มีส่วนร่วม แสดงออก แสดงความคิดเห็นในแง่มุมต่างๆ เพื่อพัฒนาศักยภาพ บุคลิกภาพ และช่วยกันหาวิธีการนำเสนอความรู้วิชาการทฤษฎีเกี่ยวกับอาชีพของปราชญ์

4.ร่วมกันคัดเลือก หรือรับสมัคร ครัวเรือนสัมมาชีพเป้าหมาย จำนวน 20 ครัวเรือน กับทีมวิทยากร 4 คนโดยเน้นครัวเรือนที่เป็นครัวเรือนยากจนตกเกณฑ์ จปฐ.เพื่อที่จะสามารถนำความรู้และอาชีพที่ได้ไปปฏิบัติเพื่อเพิ่มรายได้

5. ระดมสมอง ร่วมประชุมปรึกษาหารือเพื่อวางแผน ออกแบบ วิธีการจัดประชุมครัวเรือนเป้าหมายและช่วยกันหาวิธีการนำเสนอความรู้วิชาการทฤษฎีเกี่ยวกับอาชีพของปราชญ์เพื่อนำเสนอออกมาให้ผู้แทนครัวเรือนเข้าใจสามารถทำได้และสามารถนำไปประกอบอาชีพได้อย่างต่อเนื่อง

6.จัดทำฐานครัวเรือนเป้าหมาย เพื่อนำไปใช้ในการต่อยอดการพัฒนาอื่นๆ

7. ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานและรายงาน ความสำเร็จ  อุปสรรค ปัญหา ให้พัฒนากรประจำตำบลทราบ เพื่อจะหารือ แนะนำ แก้ไขปัญหาต่อไป

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. การเตรียมความพร้อมก่อนการดำเนินการ สังเคราะห์ข้อมูลอาชีพ รวมถึงทักษะพื้นฐาน ทุนเดิม และคำนึงถึงศักยภาพของทีมวิทยากรแต่ละคน ซึ่งมีไม่เท่ากัน

2. ความร่วมมือร่วมใจและความสามัคคี เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการร่วมกันทำงานของทีมวิทยากรฯ

3. มีการมอบหมายงาน แบ่งภาระหน้าที่ที่ชัดเจนของแต่ละคนตามความถนัด

4.มีการเปิดโอกาสให้ทีมแสงความคิดเห็น 

5.เปิดใจพูดคุยกันในกรณีที่มี ปัญหา หรือความคิดเห็นไม่ตรงกันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงข้อมูลที่จะนำเสนอเพื่อพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นไป

อุปกรณ์ ->

1.ห้ามการเปรียบเทียบความสมารถและเข้าใจถึงศักยภาพของแต่ละบุคคล

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1.ควรเข้าไปติดตามและให้กำลังทีมวิมวิทยากรสัมมาชีพและครัวเรือนเป้าหมายอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสทอเพื่อเป็นกำลังใจ

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครราชสีมา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา