เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

เทคนิคการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชน

โดย : นางสาวเพ็ญศรี จุมพล ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-28-20:39:19

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอแก้งสนามนาง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ด้วยแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) ได้กำหนดยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำในสังคมเป็น 1 ใน 10 ยุทธศาสตร์การพัฒนาตามแผนฯ และรัฐบาลได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งมีนโยบายการลดความเหลื่อมล้ำของสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐที่มุ่งหวังแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับปากท้องของประชาชนในระดับล่างที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ประกอบกับได้มอบหมายกระทรวงมหาดไทยที่มีกรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานหลักบูรณาการไปสู่การปฏิบัติ 

     ด้วยนโยบายดังกล่าว ทำให้การดำเนินการในปี 2560 จึงมุ่งเน้นการยกระดับเศรษฐกิจฐานราก นั่นคือ รายได้ ที่ต้องทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยการสร้างอาชีพจึงมีที่มาของ "สัมมาชีพชุมชน" ซึ่งกำหนดแผนการสร้างสัมมาชีพชุมชนบนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่มีเป้าหมาย คือ ประชาชนได้รับการพัฒนาอาชีพและมีรายได้ โดยให้ชาวบ้านสอนชาวบ้านในสิ่งที่เขาอยากทำ ฝึกปฏิบัติจริงให้สามารถนำไปเป็นอาชีพสร้างรายได้ ส่งผลให้เศรษฐกิจฐานรากเติบโตอย่างมีคุณภาพ

วัตถุประสงค์ ->

1. การคัดเลือกปราชญ์ชุมชนที่ประสบผลสำเร็จหรือมีความเชี่ยวชาญในอาชีพนั้น ๆ  เข้ารับการฝึกอบรมผู้นำวิทยากรสัมมาชีพ ที่ศูนย์ศึกษาพัฒนาชุมชน โดยคัดเลือกปราชญ์ที่มีความเป็นผู้นำ สามารถถ่ายทอดความรู้ได้เข้ารับการฝึกอบรม หมู่บ้านละ 1 คน 

2. การส่งเสริมและสนับสนุนประชุมเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านๆละ 5 คน ดำเนินการ 3 วัน

3.การส่งเสริมและสนับสนุนทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน จัดฝึกอบรมตามโครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน จำนวน 5 วัน

4. ติดตาม สนับสนุนครัวเรือนสัมมาชีพ และทีมวิทยากรสัมมาชีพ ได้แก่ การให้ความรู้การบริหารจัดการกลุ่ม การพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยมีการบูรณาการหน่วยงานต่าง ๆ หรือทีมปฏิบัติการตำบลเข้าร่วมโครงการ ซึ่งทีมนี้ มีส่วนช่วยในการแนะนำพัฒนาอาชีพ เทคนิคหรือความรู้ที่ดีมีประโยชน์กับการพัฒนาอาชีพครัวเรือน

5. การส่งเสริมการจำหน่ายและหาช่องทางการจำหน่าย เพื่อให้ครัวเรือนมีรายได้เพิ่ม สามารถนำมาเป็นอาชีพเสริมของครอบครัวได้

5. การยกระดับสัมมาชีพชุมชนไปสู่การลงทะเบียน OTOP โดยเริ่มจากการฝึกอาชีพ มีผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ พัฒนาจนได้รูปแบบ มี่ยอดจำหน่าย และมีระบบการบริหารจัดการกลุ่มที่ดี ซึ่งเป็นการต่อยอดงานสัมมาชีพอีกทางหนึ่งด้วย

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. การคัดเลือกวิทยากรสัมมาชีพชมชน เพื่อไปอบรมในเบื้องต้น ซึ่งจะต้องเป็นผู้ที่มีศักยภาพ มีองค์ความรู้ สามารถสื่อสารได้ดี  เป็นผู้ที่ถ่ายทอดความรู้ได้ มีศักยภาพ เป็นที่น่าเชื่อถือ เป็นผู้นำที่ทุกคนให้ความเคารพ และเสียสละ

2. การคัดเลือกทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน โดยต้องเป็นผู้ที่มีศักยภาพ  เสียสละ และมีความรู้ในการสื่อสาร

3. การคัดเลือกครัวเรือนสัมมาชีพ ที่หัวไว ใจสู้ ที่พร้อมจะดำเนินกิจกรรมไปด้วยกัน

4. การส่งเสริมสนับสนุนอย่างจริงของเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนที่ไปติดตาม การดำเนินงานโครงการอย่างใกล้ชิด

5. การเลือกอาชีพที่สามารถปฏิบัติได้จริงและสอดคล้องกับวิถีชุมชน

อุปกรณ์ ->

1.อาชีพที่เลือกควรมาจากความต้องการของครัวเรือน ไม่ใช่ระบุเพียงให้ผ่านๆไป

2. ต้องมีการวิเคราะห์อาชีพเป็นอย่างดี จึงจะทำให้อาชีพนั้นประสบผลสำเร็จ ต้องคำนึงถึงรายได้ที่จะเข้ามาสู่ครัวเรือน สร้างงานสร้างรายได้จริง

3. การทำงานสัมมาชีพชุมชน หากไม่มีทีมวิทยากรสัมมาชีพ ที่เสียสละ มีความเป็นผู้นำ และครัวเรือนตั้งใจฝึกอาชีพเพื่อนำไปประกอบอาชีพจริงๆ คงเป็นการยากที่จะทำให้สัมมาชีพประสบผลสำเร็จ

ข้อเสนอแนะ

1.วิทยากรสัมมาชีพชุมชน ต้องมีความรู้สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ให้เข้าใจได้ง่าย เป็นผู้ที่มีความน่าเชื่อถือ เสียสละเวลาเพื่อส่วนรวม

2.ควรหาครัวเรือนที่ตั้งใจจริง เห็นประโยชน์ของการฝึกอบรมเพื่อสร้างงานสร้างรายได้

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนในแต่ละระดับ จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินงานสัมมาชีพชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อกำหนดวิธีการส่งเสริม สนับสนุน ตามบทบาทภารกิจที่เกี่ยวข้อง

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครราชสีมา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา