เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพชุมชนสู่การรวมกลุ่มอาชีพ

โดย : นางสาวณัฐฏ์ภรณ์ พันธ์ชัย ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-28-17:20:29

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอโนนแดง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

กรมการพัฒนาชุมชน  ได้รับการจัดสรรงบประมาณให้ดำเนินการโครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน โดยมีเป้าหมายในการดำเนินการให้ครัวเรือนสัมมาชีพตั้งแต่ 5 ครัวเรือนขึ้นไป ซึ่งผ่านการส่งเสริมการสร้าง สัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน จำนวน 5 วันที่มีการประกอบอาชีพเดียวกันหรือประเภทอาชีพเดียวกันมาร่วมกันดำเนินการจัดตั้งกลุ่มอาชีพ กลุ่ม OTOP  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการประกอบอาชีพ

เพื่อให้การบริหารจัดการกลุ่ม/องค์กรชุมชน เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ และบรรลุวัตถุประสงค์ จากประสบการณ์การทำงานพัฒนาชุมชนมาหลายปี พัฒนากรจึงควรเข้ามามีส่วนร่วมในการอำนวยให้เกิดการจัดตั้งกลุ่มอาชีพ และส่งเสริมให้การบริหารจัดการกลุ่มมีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์ ->

               1.  เผยแพร่/ประชาสัมพันธ์  เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในการรวมกลุ่มในการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ  เพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน  โดยอยู่บนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยเริ่มตั้งแต่  ร่วมคิด  ร่วมตัดสินใจ  ร่วมปฏิบัติ  ร่วมรับผลประโยชน์  และร่วมแก้ไขปัญหา

                2.  จัดให้มีการประชาคมสำรวจปัญหา  วิเคราะห์ศักยภาพ/ทรัพยากรและความต้องการของประชาชนที่ต้องการเข้ามารวมกลุ่ม  เพื่อให้ตรงกับพื้นฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นและความต้องการที่แท้จริงของชุมชน

                3.  สนับสนุนการรวมกลุ่มของประชาชนในหมู่บ้าน  โดยยึดหลัก  5ก  ดังนี้

                ก1 : กลุ่ม/สมาชิก  ที่มีความสมัครใจพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการดำเนินงานของกลุ่ม

                ก2 : กรรมการ  ซึ่งได้รับมอบหมายและเป็นตัวแทนจากสมาชิกให้บริหารกลุ่ม

                ก3 : กฎ กติกา ระเบียบข้อบังคับกลุ่ม  เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติร่วมกัน  ระหว่างสมาชิกและคณะกรรมการ

                ก4 : กองทุน  ปัจจัย  เงินหรือเครื่องมือ  ที่ทำให้กิจกรรมของกลุ่มดำเนินการได้และบรรลุตามวัตถุประสงค์ของกลุ่ม

                ก5 : กิจกรรม  เป็นสิ่งที่ร่วมกันปฏิบัติ  เพื่อสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนและชุมชน

                4.  ประชุม  อบรม  เพิ่มขีดความสามารถของคณะกรรมการบริหารกลุ่มอาชีพ

                5.  ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน  สนับสนุนด้านวิชาการ  วัสดุ  อุปกรณ์  งบประมาณแก่กลุ่มอาชีพ  ตลอดจนความรู้ในด้านการพัฒนาคุณภาพ  รูปแบบมาตรฐานของสินค้า  เพื่อเพิ่มมูลค่าและให้ตรงตามความต้องการของตลาด

                6.  ประชาสัมพันธ์  จัดหาแหล่งจำหน่ายสินค้าสู่ตลาดอย่างกว้างขวาง  เช่น  การจัดแสดงและจำหน่ายสินค้าตามงานเทศกาลต่างๆ  การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ  เช่น  วิทยุชุมชน  โทรทัศน์  แผ่นพับต่างๆ

                7.  หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องและคณะกรรมการ/สมาชิกกลุ่ม  ประเมินผล  ปรับปรุงผลการดำเนินงานของกลุ่ม  เพื่อพัฒนากลุ่มให้ก้าวหน้า

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

การใช้หลัก 5  ก ในการดำเนินการจัดตั้งกลุ่มและการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสมาชิกในการร่วมกันกำหนดทิศทางการบริหารจัดการและทุกกระบวนการในการจัดตั้งกลุ่ม 

อุปกรณ์ ->

                1.  การสร้างความรู้ความเข้าใจเบื้องต้น  เป็นสิ่งสำคัญในการจัดตั้งกลุ่ม

                2.  การจัดตั้งกลุ่มอาชีพให้มีความยั่งยืน  ต้องอยู่บนพื้นฐานของความต้องการที่แท้จริงของประชาชนและพื้นฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นที่พร้อมจะรับการพัฒนา

                3.  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน  มีการติดตามประเมินผลและให้การสนับสนุนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

                4.  ยึดหลัก  5ก  ในการพัฒนากลุ่มอาชีพ

             

กระบวนการ/ขั้นตอน->

  1. กลุ่มควรมีการเชื่อมโยงเครือข่ายกับกลุ่มอื่นที่มีสินค้าชนิดเดียวกัน  เพื่อให้เกิดการพัฒนาและสร้างความแตกต่างในตัวสินค้า  เพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภคมากขึ้น

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครราชสีมา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา