เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ "การทำไข่ทรงเครื่องเพิ่มรายได้ในครัวเรือน"

โดย : นายชาติชาย ทองผนึก ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-27-14:29:23

ที่อยู่ : 211 หมู่ที่๑ บ้านตลาดนาบุญ ตำบลโพนทอง อำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

กรมการพัฒนาชุมชน  กระทรวงมหาดไทย ได้จัดฝึกอบรมโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพให้กับครัวเรือนชุมชน  ซึ่งให้เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนได้มีส่วนร่วมในการจัดทำเทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพเพื่อเป็นการเผยแพร่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างภาคีพัฒนาและครัวเรือนสัมมาชัีพ จึงเป็นกิจกรรมที่สร้าง แรงบันดาลใจมาจากการได้ศึกษาดูงานจากผู้ประสบผลสำเร็จ เหตุผลเพื่อให้เกิดการสร้างอาชีพ พัฒนารายได้สู่ประชาชนที่แท้จริง 

วัตถุประสงค์ ->

ขั้นตอนวิธีการทำ  / วิธีการประกอบ

          ๑. นำไข่ไก่มากะเทาะเปลือก โดยใช้มีดปลายแหลมกะเทาะเปลือกไข่ด้านป้าน ให้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ  ๕  มม.

          ๒. คว่ำไข่ไก่ที่กะเทาะเปลือกลง โดยใช้ไม้ไผ่ (ขนาดไม้เสียบลูกชิ้น) แทงในรูไข่ที่กะเทาะเปลือก เพื่อให้น้ำไข่ไหลได้สะดวก

          ๓. นำน้ำไข่เทลงในหม้อเพื่อทำการปรุงรส โดยใช้ คนอร์หรือรสดี  กระเทียม  พริกไทย  ผักชีไทย  ใบมะกรูดที่หั่นแล้ว  เกลือ

          ๔. เมื่อผสมเครื่องปรุงเสร็จเรียบร้อย นำน้ำไข่กรอกใส่ไข่ โดยใช้ขวดน้ำพลาสติกที่ตัดเป็นรูปปากฉลามกรอกน้ำไข่ ใส่ไข่ให้เต็ม

          ๕. การนึ่งไข่     

- นำไข่บรรจุใส่แผงไข่จำนวน ๓๐  ฟองเพื่อทำการนึ่ง โดยใช้ซึงขนาด เบอร์ ๔๐

- ระหว่างทำการนึ่ง ควรหมั่นเช็คอุณหภูมิภายในซึง โดยการเปิดฝาซึงบ่อยฯ  มิฉะนั้นไข่ที่นึ่งจะเกิดการแตกและเสียหายได้ (ระยะเวลาในการนึ่งประมาณ  ๒๐ – ๒๕ นาที)

- การสังเกตไข่ที่นึ่ง หากไข่สุก จะใช้ไม้ไผ่ขนาดไม้เสียบลูกชิ้นแทงลงในรูไข่ ไข่ที่นึ่งสุกแล้วเมื่อเราใช้ไม้เสียบลูกชิ้นแทงลงไปในรูไข่ เมื่อยกไม้ขึ้นไข่ที่นึ่งสุกแล้วจะติดขึ้นมากับไม้ขึ้นมา  หากไข่ไม่ติดกับไม้แสดงว่าไข่ไม่สุกต้องทำการนึ่งต่อไป                                      

๖. การปิ้งไข่

- เมื่อทำการนึ่งไข่สุกเสร็จเรียบร้อยแล้ว  ต้องปล่อยให้ไข่เย็นตัวในอุณหภูมิปกติ ถึงนำไปปิ้งต่อไป

อุปกรณ์ หรือวัตถุดิบที่ใช้

๑. ซึงขนาดเบอร์ ๔๐

          ๒. เตาแก๊ส

          ๓. ไข่ไก่ ๑ แผง (จำนวน ๓๐ ฟอง)

          ๔. คนอร์ไก่หรือรสดี

          ๕. พริกไทย 

          ๖. ใบมะกรูด

          ๗. ผักชีไทย

          ๘. กระเทียม

          9. ไม้เสียบไข่ปิ้ง

 

ต้นทุนโดยเฉลี่ย   ต่อ ไข่ ๑ แผง ประมาณ  ๑๒๐ บาท

          ๑. ไข่ไก่เบอร์๒  ๙๐ บาท

          ๒. คนอร์/รสดี ๑ ซอง  ๑๒ บาท (ใช้กับไข่ได้ ๓ ถาด)

          ๓. พริกไทยเม็ด ใบมะกรูด ผักชีไทย เกลือ กระเทียม

 

รายได้/การจำหน่าย (กำไรประมาณแฝงละ ๖๐ –๗๐ บาท

          - ไข่ปิ้งทรงเครื่อง ๑ ไม้  ๓ ฟอง ราคา ๒๐  บาท

          - ไข่ปิ้งทรงเครื่อง ๑ แผง  ๑๐ ไม้ฯละ ๒๐  บาท เป็นเงิน  ๒๐๐  บาท /แฝง

 

ประโยชน์ที่จะนำลงใช้ในพื้นที่

          ๑. เพื่อส่งเสริมด้านอาชีพแก่ราษฎรที่สนใจให้มีรายได้เสริมแก่ครัวเรือน

          ๒. เพื่อเป็นการส่งเสริมการบริโภคอาหารประเภทโปรตีนจากไข่ไก่

          ๓. เพื่อเป็นกาส่งเสริมการบริโภคอาหารที่ปรุงแต่งจากสมุนไพรธรรมชาติที่หาได้ในท้องถิ่น

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

การประกอบอาชีพต้องขึ้นอยู่กับความพร้อมและมีใจรักที่จะกระทำในอาชีพนั้นฯ ซึ่งต้องใช้ความอดทน มุมานะต่อสิ่งที่เรากระทำ ซึ่งจะเกิดแรงบันดาลใจตลอดจนความภาคภูมิใจต่ออาชีพนั้นฯ

อุปกรณ์ ->

- ระหว่างทำการนึ่ง ควรหมั่นเช็คอุณหภูมิภายในซึง โดยการเปิดฝาซึงบ่อยฯ  มิฉะนั้นไข่ที่นึ่งจะเกิดการแตกและเสียหายได้ (ระยะเวลาในการนึ่งประมาณ  ๒๐ – ๒๕ นาที)

- การสังเกตไข่ที่นึ่ง หากไข่สุก จะใช้ไม้ไผ่ขนาดไม้เสียบลูกชิ้นแทงลงในรูไข่ ไข่ที่นึ่งสุกแล้วเมื่อเราใช้ไม้เสียบลูกชิ้นแทงลงไปในรูไข่ เมื่อยกไม้ขึ้นไข่ที่นึ่งสุกแล้วจะติดขึ้นมากับไม้ขึ้นมา  หากไข่ไม่ติดกับไม้แสดงว่าไข่ไม่สุกต้องทำการนึ่งต่อไป 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

อาชีพทางเลือกขึ้นอยู่กับตัวเราเองมีความพร้อมที่จะกระทำในอาชีพดังกล่าวหรือไม่ 

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครราชสีมา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา