เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชน

โดย : นางจำเรียง มณีพินิจ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-25-09:04:00

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

กรมการพัฒนาชุมชนได้กำหนดดำเนินกิจกรรมสร้างสัมมาชีพชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงภายใต้การบูรณาการความร่วมมือของประชารัฐ โดยการส่งเสริมสนับสนุนให้ครัวเรือนในหมู่บ้านพื้นที่ความรับผิดชอบของยุทธศาสตร์ที่ ๑ การส่งเสริมการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคเกษตรและชนบท ได้เรียนรู้พัฒนาอาชีพให้เกิดสัมมาชีพชุมชน เพื่อสร้างรายได้ที่ส่งผลให้เศรษฐกิจฐานรากเติบโตไปได้อย่างมีคุณภาพ อำเภอชุมพวงมีเป้าหมายในการดำเนินงาน  ๑๙ หมู่บ้าน

วัตถุประสงค์ ->

๑.  เตรียมฐานข้อมูล หมู่บ้านเป้าหมาย 

๒. ประชุมเชิงปฏิบัติการทีมเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนและปราชญ์ เพื่อจัดทำแผนการขับเคลื่อนฯ

๒.๑ ชี้แจง ทำความเข้าใจรายละเอียดการดำเนินงานของโครงการ(เป้าหมาย –ขั้นตอนการดำเนินงาน- ผลผลิต/ผลลัพธ์-ตัวชี้วัด) เนื้องานมีหลายขั้นตอน จึงต้องชัดเจนในทุกขั้นตอน ว่าใครจะต้องทำอะไร กับใคร ที่ไหน อย่างไร

๒.๒ กระจายพื้นที่เป้าหมายให้พัฒนากรทุกคนได้รับผิดชอบ  และมอบหมายผู้รับผิดชอบงาน เช่น งานเบิกจ่าย  งานเอกสารวิชาการ  งานรายงาน โดยเจ้าภาพผู้รับผิดชอบเป็นผู้ประสานงานภาพรวม  และกระจายพื้นที่เป้าหมายให้พัฒนากรทุกคนได้รับผิดชอบ

๒.๓ กำหนดระบบการติดตาม  ๑) การรายงานเป็นเอกสาร  ภาพถ่าย  ไลน์  ๒) ร่วมกิจกรรมในพื้นที่

๒.๔ กำหนดเป็นตัวชี้วัดผลการประเมินผลการปฏิบัติราชการของเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน

๒.๕ จัดทำแผนการขับเคลื่อนฯ  และแผนปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่

๓.ประชุม ศจพ.อ.นำเสนอแผน และมอบเจ้าภาพร่วมดำเนินการ เช่น ธกส. ปกครอง

๔.แสวงหาภาคีร่วมดำเนินการ เช่น ปราชญ์/ผู้รู้  กลุ่ม/องค์กร  ท้องถิ่น หน่วยงาน  เอกชน

๕.      ติดตาม สนับสนุน อย่างต่อเนื่อง (เป็นทางการ/ไม่เป็นทางการ)

๕.๑ พัฒนากร ร่วมกับทีมพี่เลี้ยงติดตามสนับสนุนให้คำแนะนำ ให้กำลังใจ ทีมวิทยากรสัมมาชีพ

      และรายงายผลทางไลน์  เอกสาร 

๕.๒ พัฒนาการอำเภอ สอนแนะ กำกับการปฏิบัติงานของพัฒนากร และร่วมกิจกรรมเพื่อประเมินผล

๕.๓ เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน สนทนากลุ่มทุกสัปดาห์ เพื่อ รายงานผล หารือ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงาน กรณีมีอุปสรรคต้องปรับแผนฯ เพื่อให้งานสามารถดำเนินการต่อไปได้

๖. เชื่อมโยงเครือข่ายฯ โดยการจัดทำทะเบียน/การประชุมทีมวิทยากรสัมมาชีพร่วมกันในระดับอำเภอ  การเรียนรู้อาชีพระหว่างหมู่บ้าน เพื่อให้เกิดการพบปะ พูดคุย แลกเปลี่ยนประสบการณ์ เสริมสร้างความสัมพันธ์ของปราชญ์สู่การก่อเกิดเครือข่ายในอนาคต 

๗.  การสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ ทุกระยะ เช่น รายงานผลในที่ประชุม กบอ. และกำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน ทุกเดือน  ลงในไลน์กลุ่ม  เฟสบุ๊ค  บอร์ประชาสัมพันธ์ในหมู่บ้าน  นำผลิตภัณฑ์/สินค้าสัมมาชีพ มาแสดง/ จำหน่ายในตลาดนัด

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

๑. เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนทุกคน รู้และเข้าใจกระบวนงานและโครงการอย่างชัดเจน

๒. มีการทำงานเป็นทีม และเป็นระบบ (PDCA)

๓. มีความต่อเนื่องในการติดตาม  สนับสนุน ทีมวิทยากรสัมมาชีพ

 

อุปกรณ์ ->

๑. การเร่งรีบในการปฏิบัติงาน อาจทำให้สัมมาชีพที่เกิดขึ้น ไม่มีความยั่งยืน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

๑. พัฒนากรควรพัฒนาทักษะการเป็นวิทยากรของทีมวิทยากรสัมมาชีพ ด้วยการเป็นแบบอย่าง สอนแนะ ให้กำลังใจ แก่วิทยากรสัมมาชีพในการฝึกปฏิบัติเพื่อเพิ่มพูนทักษะและความสามารถในการถ่ายทอดและจัดฐานการเรียนรู้

๒. เชื่อมโยงกับเครือข่ายกิจกรรมอื่น ๆ เครือข่าย OTOP  เครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน  เครือข่ายตลาดนัด เพื่อเป็นช่องทางในการพัฒนาปรับปรุงการผลิต/อาชีพ ให้เกิดมูลค่าเพิ่ม รายได้เพิ่ม

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครราชสีมา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา