เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการส่งเสริมสัมมาชีพ

โดย : นางสุวรรณา พันธุ์หวงพงษ์ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-24-15:08:33

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบ้านเหลื่อม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ด้วยแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) ได้กำหนดยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำในสังคมเป็น 1 ใน 10 ยุทธศาสตร์การพัฒนาตามแผนฯ และรัฐบาลได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งมีนโยบายการลดความเหลื่อมล้ำของสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐที่มุ่งหวังแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับปากท้องของประชาชนในระดับล่างที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ประกอบกับได้มอบหมายกระทรวงมหาดไทยที่มีกรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานหลักบูรณาการไปสู่การปฏิบัติ 

     ด้วยนโยบายดังกล่าว ทำให้การดำเนินการในปี 2560 จึงมุ่งเน้นการยกระดับเศรษฐกิจฐานราก นั่นคือ รายได้ ที่ต้องทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยการสร้างอาชีพจึงมีมที่มาของ "สัมมาชีพชุมชน" ซึ่งกำหนดแผนการสร้างสัมมาชีพชุมชนบนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่มีเป้าหมาย คือ ประชาชนได้รับการพัฒนาอาชีพและมีรายได้ โดยให้ขาวบ้านสอนชาวบ้านในสิ่งที่เขาอยากทำ ฝึกปฏิบยัติจริงให้สามารถนำไปเป็นอาชีพได้

วัตถุประสงค์ ->

1. ศึกษาข้อมูล ตามเอกสารแนวทางการดำเนินงานสัมมาชีพชุมชนของกรมการพัฒนาชุมชน
2. ผู้นำชุมชนร่วมปรึกษา สร้างความเข้าใจ ร่วมกับทีมงานสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ
3. ประชุมผู้นำหมู่บ้าน ปราชญ์ชุมชนเป้าหมาย ให้ความรู้และชี้แจงแนวทางการดำเนินงานสัมมาชีพ

    ชุมชนให้แก่ชุมชนเป้าหมาย
4. ดำเนินการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมขน คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายปราชญ์ ทีมวิทยากร ครัวเรือน

    เป้าหมาย ตามความสมัครใจ
5. ทีมปราชญ์เข้ารับการอบรมสร้างความรู้ความเข้าใจ
6. ดำเนินการตามขั้นตอนและกระบวนการทำงาน
7. ติดตามประเมินผล
8. สรุปถอดผลการดำเนินงาน ถอดบทเรียนองค์ความรู้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. การคัดเลือกวิทยากรสัมมาชีพชมชน เพื่อไปอบรมในเบื้องต้น ซึ่งจะต้องเป็นผู้ที่มีศักยภาพ มีองค์ความรู้ สามารถสื่อสารได้ดี  เป็นผู้ที่ถ่ายทอดความรู้ได้ มีศักยภาพ เป็นที่น่าเชื่อถือ เป็นผู้นำที่ทุกคนให้ความเคารพ

2. การคัดเลือกทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน โดยต้องเป็นผู้ที่มีศักยภาพ  เสียสละ และมีความรู้ในการสื่อสาร

3. การคัดเลือกครัวเรือนสัมมาชีพ ที่หัวไว ใจสู้ ที่พร้อมจะดำเนินกิจกรรมไปด้วยกัน

4. การส่งเสริมสนับสนุนอย่างจริงของเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนที่ไปติดตาม การดำเนินงานโครงการอย่างใกล้ชิด ไม่ปล่อยให้หมู่บ้านดำเนินการอย่างโดดเดี่ยว

5. การเลือกอาชีพที่สามารถปฏิบัติได้จริง

6.อาชีพที่เลือกควรมาจากความต้องการของครัวเรือน ไม่ใช่ระบุเพียงให้ผ่านๆไป

7. ต้องมีการวิเคราะห์อาชีพเป็นอย่างดี จึงจะทำให้อาชีพนั้นประสบผล ไม่ใช่เป็นเพียงการอบรมให้ผ่าน ๆ ไป ต้องคำนึงถึงรายได้ที่จะเข้ามาสู่ครัวเรือนได้จริง

8. การทำงานสัมมาชีพชุมชน หากไม่มีทีมวิทยากรสัมมาชีพ ที่เสียสละ มีความเป็นผู้นำ และครัวเรือนตั้งใจฝึกอาชีพเพื่อนำไปประกอบอาชีพจริงๆ คงเป็นการยากที่จะทำให้สัมมาชีพประสบผลสำเร็จ

 

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ระยะเวลาในการอบรมสำคัญ คือ ถ้าครัวเรือนมีอาชีพรับจ้าง การอบรมที่ใช้ระยะเวลานาน ๆ จะทำให้เขาไม่ได้ประโยชน์ เพราะเขาต้องสูญเสียรายได้ในแต่ละวัน

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครราชสีมา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา