เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การเลี้ยงไก่พื้นเมือง

โดย : นายอนิรุตต์ แก้วอาสา ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-04-02-01:03:24

ที่อยู่ : ๗๙ หมู่ที่ ๘ ตำบลนาราชควาย อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

บ้านเนินสะอาด หมู่ที่ ๘ ตำบลนาราชควาย เป็นหมู่บ้านเกษตรกรรม  และต่อมามีสถานศึกษามาตั้งอยู่ในหมู่บ้าน  จึงทำให้การประกอบอาชีพเปลี่ยนไป  เป็นอาชีพที่ใช้พื้นที่น้อยและเป็นอาชีพที่ทำให้เกิดรายได้ภายในไม่กี่เดือน อาชีพเลี้ยงไก่พื้นบ้าน เนื่องมาจาก “ไก่บ้าน” เป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย ความเป็นอยู่และการให้อาหารก็ง่ายมาก ๆ แต่ละบ้านที่เลี้ยงไก่บ้าน ถ้าไม่ได้เป็นเกษตรกรจริง ๆ มีงานประจำอยู่แล้ว หรืออาจจะไม่ได้มีรายได้จากทางอื่น ก็สามารถเลี้ยงไก่บ้านเพื่อเป็นรายได้เสริมให้ครอบครัวอีกทางหนึ่ง ถ้าเลี้ยงไว้จำนวนมากก็จะสามารถเพิ่มรายได้กลับมามากขึ้น เพราะว่าเนื้อไก่ก็เป็นเนื้อสัตว์ที่ถูกนำมาทำเป็นเมนูอาหารมาก ใครที่ประกอบอาชีพเลี้ยงไก่บ้าน สามารถส่งขายให้กับตลาดได้ เมื่อไก่ออกไข่ก็สามารถขายได้ หรือถ้ามีน้ำหนักตัวพอดีตามเกณฑ์ที่สามารถขายได้ราคาดี  โดยปัจจุบันคนในหมู่บ้านนอกจากเลี้ยงไก่ไว้เป็นอาหารในครัวเรือนแล้ว ยังต่อยอดทำเป็นอาชีพเสริม จำหน่ายทั้งในหมู่บ้านและนอกหมู่บ้าน สร้างรายได้ให้กับคนในครัวเรือนได้เป็นอย่างดี

วัตถุประสงค์ ->

1. ใช้เวทีเตรียมความพร้อมวิทยากรสัมมาชีพ 3 วัน ในการเตรียมความพร้อมของวิทยากร

2. สอบถามความพร้อมในองค์ความรู้ด้านการเลี้ยงไก่พื้นเมืองของปราชญ์ทั้ง 5 ท่าน แล้วสรุปเป็นองค์ความรู้จัดทำเป็นเอกสารเพื่อใช้ถ่ายทอดความรู้ให้กับครัวเรือนเป้าหมาย

3. คัดเลือกครัวเรือนเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมสัมมาชีพ ทั้ง 20 ครัวเรือน โดยเน้นผู้มีรายได้น้อยและ                      ผู้ที่สนใจด้านการเลี้ยงไก่พื้นเมือง

4. ให้ความรู้ ความเข้าใจถึงการเลี้ยงไก่พื้นเมืองให้ครัวเรือนเป้าหมายทั้ง 20 ครัวเรือน

๕. ดำเนินการสาธิตการผสมอาหารไก่พื้นเมืองแก่ครัวเรือนเป้าหมาย ทั้ง 20 ครัวเรือน พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะช่องทางการตลาดให้กลุ่มเป้าหมายตามเกณฑ์ที่สามารถขายได้ราคาดี  โดยปัจจุบันคนในหมู่บ้านนอกจากเลี้ยงไก่ไว้เป็นอาหารในครัวเรือนแล้ว ยังต่อยอดทำเป็นอาชีพเสริม จำหน่ายทั้งในหมู่บ้านและนอกหมู่บ้าน สร้างรายได้ให้กับคนในครัวเรือนได้เป็นอย่างดี

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. ความพร้อมของวิทยากรสัมมาชีพ (ปราชญ์ทั้ง 5 คน) ในการให้ความรู้แก่ครัวเรือนสัมมาชีพ

2. ความพร้อม ความตั้งใจ และการให้ความสนใจของครัวเรือนสัมมาชีพ 20 ครัวเรือน

๓. ครัวเรือนสัมมาชีพ ๒๐ ครัวเรือน มีองค์ความรู้ด้านการเลี้ยงไก่พื้นเมือง

อุปกรณ์ ->

การใช้เศษอาหารมาเลี้ยงไก่ควรคำนึงถึงความสะอาดและสิ่งแปลกปลอมที่เป็นพิษต่อไก่ด้วย ถ้าเป็นไปได้ควรเสริมเปลือกหอยป่นในอาหารที่ให้ไก่กินจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องเปลือกไข่บางและปัญหาการจิกกินไข่ของแม่ไก่พื้นเมือง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

๑. วิทยากรสัมมาชีพจะต้องติดตาม สนับสนุน ให้คำแนะนำแก่ครัวเรือนเป้าหมายอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องเพื่อให้เห็นผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรม ครัวเรือนสามารถมีอาชีพเลี้ยงตนเองและคนในครอบครัวได้

๒. การถ่ายทอดภูมิปัญญาการเลี้ยงไก่ ควรใช้สื่อที่เป็นเทคโนโลยีช่วยเช่น การทำวีดีโอ การทำคู่มือ การจัดบอร์ด เนื้อเกี่ยวกับกระบวนการผสมอาหารไก่ตั้งแต่ขั้นตอนการหาวัตถุดิบและการผสมสัดส่วนในการผสม ให้มีความชัดเจนสามารถปฏิบัติตามได้ ซึ่งจะช่วยกระชับเวลาในการถ่ายทอดภูมิปัญญาให้สั้นลง

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครพนม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา