เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

การสานกระติบข้าว

โดย : นางปราณี ศรีมงคล ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-04-01-22:36:49

ที่อยู่ : 110/1 บ้านโพน หมู่ที่ 8 ตำบลโนนตาล

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เนื่องจากภาคอีสานนิยมรับประทานข้าวเหนียว ภาชนะที่บรรจุข้าวเหนียวส่วนใหญ่จะใช้ไม้ไผ่มาสานเป็นภาชนะใส่ข้าวเหนียวที่นึ่งสุก เพราะมีลักษณะเบาและระบายอากาศได้ดี ทำให้ข้าวเหนียวยังมีความร้อยและไม่แฉะ พกพาง่าย มีหลายรูปแบบ

วัตถุประสงค์ ->

1.วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการจักสานของกลุ่มจักสานบ้านโพน ได้แก่ ไม้ไผ่บ้าน (ไผ่ละต้นใหญ่มีหนามที่นิยมปลูกไว้บริเวณหัวไร่ปลายนา ที่สวน)   ซึ่งเป็นไม้ไผ่ที่มีคุณสมบัติในการจักสานได้ดี คือมีความเหนียว คงทน  ไม่เปราะหรือหักง่ายมีลำปล้องยาว พอดีในการใช้งาน  
2. อุปกรณ์ที่ใช้การจักสานได้แก่
- มีด
- เหล็ก หมาดปลายแหลมและเหล็กหมาดปลายแบน
- เลื่อย
- คีม
-ที่รีดตอก 
- ปิ๊บสำหรับต้มไม้ไผ่

3.  การจักสาน
- นำไผ่ที่เลือกไว้มาตัด ผ่า ต้มในปิ๊บให้เดือด (กันเชื้อรา)
-จักเป็นตอก และรีดตอกให้เรียบ

4.ขั้นตอนการจักสานกระติบข้าวประกอบด้วย
-  การสาน กลุ่มจักสานจะสานกระติบข้าวเป็นลายโบราณ เป็นลายพื้นฐานง่ายๆคือลายสอง  ลายสองยืน  ลายสองนอน (ลายอำขวาง)   สานสลับกัน  กระติบข้าว 1 ใบจะต้องทำ 2 ชิ้น  ในแต่ละชิ้นจะต้องทำเป็นรูปทรงกระบอกยาวเพื่อให้สามารถพับทบเป็น 2 ชั้น ได้  คือเมื่อสานได้ตัวและฝาแล้ว ทำฝาตุ และก้นกระติบ เย็บให้เรียบร้อย  แล้วจึงร้อยเชือกไว้สำหรับสะพาย

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.กระตุ้นให้ปราชญ์ได้ถ่ายทอดความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่

2.เริ่มต้นจากอาชีพหลักของคนในชุมชน และนำวัสดุในท้องถิ่นมาเป็นวัตถุดิบ

3.การค้นหาปราชญ์ที่มีความรู้และพร้อมจะถ่ายทอดองค์ความรู้

อุปกรณ์ ->

ต้องชี้แจงการดำเนินงานให้เข้าใจ ทุกเป็นขั้นตอน 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การพัฒนาต่อยอดควรเริ่มจากสิ่งที่มีอยู่ภายในชุมชน และทำได้ง่าย

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครพนม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา