เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

การเพาะเห็ดฟาง

โดย : นายประมงค์ เทียบขุนทศ ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-03-29-16:13:04

ที่อยู่ : 91 หมู่ที่ 11 ตำบลบ้านผึ้ง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เห็ดฟางเป็นเห็ด ที่เพาะง่าย ใช้เวลาสั้น 5-7 วัน ก็เก็บดอกเห็ดที่เพาะได้ เป็นเห็ดที่มีผู้ นิยมบริโภคมาก ทำให้ความต้องการของตลาดสูง ซึ่งทำให้มีราคาดีตลอดปี จึงมีผู้นิยมเพาะเห็ดฟางกันมากการเพาะเห็ดฟางกองเตี้ย มีการพัฒนามาจากการเพาะแบบกองสูง ซึ่งเป็นการ ประหยัดวัสดุเพาะและง่ายต่อการดูแล สามารถให้อาหารเสริม และให้ผลผลิตที่แน่นอน

นายประมงค์  เทียบขุนทศ ผู้ใหญ่บ้านหนองปลาดุก หมู่ที่ 11 จึงมีแนวความคิดที่จะเพาะเห็ดฟาง จึงได้มีการศึกษาจากที่ต่างๆ เพื่อที่จะได้มาเพาะในบ้านตนเอง เพราะต้นทุนในการผลิตไม่สูงมากนัก ประกอบกับระยะเวลาการเก็บผลผลิตเร็ว และเห็ดฟางเป็นเห็ดที่คนไทยนิยมบริโภคมานานมีรสชาติดีคุณค่าทางอาหารสูงและมีตลาดจำหน่ายในหมู่บ้านทุกเย็น จึงเป็นการเพิ่รายได้ให้แก่ครัวเรือน

วัตถุประสงค์ ->

1. การจัดเวทีเตรียมความพร้อมวิทยากรสัมมาชีพ 3 วัน ในการเป็นทีมสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน สำหรับอบรมครัวเรือนเป้าหมาย
2. วิเคราะห์องค์ความของปราชญ์ชุมชนทั้ง 5 ท่าน เพื่อใช้ถ่ายทอดความรู้ให้กับครัวเรือนเป้าหมาย
3. คัดเลือกครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ โดยพิจารณาจากทะเบียนครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ จปฐ. เป็นอันดับแรก และสำรวจความผู้ที่สมัครใจและตั้งใจฝึกอาชีพ เพื่อประกอบอาชีพนั้นให้เกิดรายได้ จำนวน 20 ครัวเรือน
4. สร้างความรู้ ความเข้าใจถึงกระบวนการเพาะเห็ดฟาง แก่ครัวเรือนเป้าหมายทั้ง 20 ครัวเรือน
5. ดำเนินการสาธิตการเพาะเห็ดฟางแก่ครัวเรือนเป้าหมายทั้ง 20 ครัวเรือน พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะช่องทางการตลาดให้กลุ่มเป้าหมาย

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. องค์ความรู้ของทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านในการให้ความรู้แก่ครัวเรือนสัมมาชีพ
2. ความสมัครใจ และความตั้งใจ ในการฝึกอาชีพของครัวเรือนสัมมาชีพ 20 ครัวเรือน
3. ครัวเรือนสัมมาชีพ ๒๐ ครัวเรือน มีองค์ความรู้ด้านการเพาะเห็ดฟาง สามารถลดรายจ่าย เพิ่มรายได้แก่ครัวเรือนได้

อุปกรณ์ ->

1.  เชื้อเห็ด จะมีปัญหามากต่อผู้ประกอบการเพาะเห็ด โดยสาเหตุจากเชื้อเห็ดไม่บริสุทธิ์ สายพันธุ์ไม่ดี มีการต่อเชื้อกันหลายครั้งจนเชื้ออ่อนแอ ควรเลือกซื้อเชื้อเห็ดจากแหล่งที่ไว้ใจได้
2. ฤดูกาล ดินฟ้าอากาศ จะมีผลต่อการเจริญของเห็ดได้อย่างมาก โดยเฉพาะในฤดูหนาว เห็ดฟางจะไม่เจริญถ้าไม่มีการควบคุมอุณหภูมิ ถ้าในฤดูฝนจะทำให้แปลงเพาะเปียกชื้น ดอกเห็ดจะเน่าควรคลุมแปลงเพาะให้มิดชิด ในฤดูร้อนอุณหภูมิในแปลงเพาะจะสูงมาก โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิสูงต่ำแตกต่างกันมากในเวลากลางวันและกลาง คืน (ไม่ควรต่างกัน 10 องศาเซลเซียส) ควรจะให้มีการระบายอากาศและควบคุมความชื้นให้เหมาะสม
3. การเพาะเห็ดฟางซ้ำในที่เดิมหลายครั้ง จะมีการสะสมศัตรูเห็ด และโรคเห็ด ทำให้ผลผลิตลดลง หรือไม่ได้เลย ถ้าจำเป็นต้องเพาะซ้ำที่เดิม ควรใช้ไฟเผาพื้นที่และโรยปูนขาวเพื่อปรับพื้นที่ใหม่
4. น้ำที่ใช้ในการแช่ฟาง ต้องมีสภาพเป็นกาง มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ที่ 6.5-7.0 น้ำต้องไม่เน่าเหม็น ถ้าเป็นน้ำประปาต้องทิ้งไว้อย่างน้อย 6 ชั่วโมง และไม่มีสารเคมีและยาฆ่าแมลงตกค้างอยู่
5. ศัตรูเห็ด เช่น มด ปลวก ถ้ามีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่ที่อาศัยของมด ปลวก ทำการเพาะเห็ด ควรแก้ไขโดยใช้ยาฆ่าแมลงผสมน้ำรดดินแล้วปล่อยไว้ประมาณ 1-2 เดือน ถึงทำการเพาะเห็ด

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. วิทยากรสัมมาชีพจะต้องติดตาม สนับสนุน ให้คำแนะนำแก่ครัวเรือนเป้าหมายอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องเพื่อให้เห็นผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรม ครัวเรือนสามารถมีอาชีพเลี้ยงตนเองและคนในครอบครัวได้
2. การถ่ายทอดภูมิปัญญาการเพาะเห็ดฟาง แบบพี่สอนน้อง ชาวบ้านสอนชาวบ้าน ซึ่งจะช่วยกระชับเวลาในการถ่ายทอดภูมิปัญญาให้สั้นลงการสาธิตให้ดู ซึ่งจะทำให้การเลี้ยงไก่พื้นบ้านเข้าใจยิ่งขึ้น

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครพนม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา