เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

การเลี้ยงไก่พื้นบ้าน

โดย : นายชำนาญ คำด้วง ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-03-29-15:51:48

ที่อยู่ : 20 หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านผึ้ง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปัจจุบันประชาชนนิยมรับประทานไก่พื้นเมืองกันมาก แม้ว่าประชาชนจะนิยมเลี้ยงกันอยู่ทั่วไปก็ตาม แต่ไก่พื้นเมือง ก็ยัง ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด หรือประชาชนผู้รับประมาณเนื้อไก่พื้นเมือง ทั้งนี้เพราะผู้ที่เลี้ยงไกพื้นเมืองในชนบทโดยทั่วไป ใช้วิธีการเลี้ยงแบบปล่อยให้ไก่พื้นเมืองหากินเองตามธรรมชาติ และเลี้ยงเป็นจำนวนน้อย จะให้อาหารบ้างเป็นบางครั้งคราว จึงทำให้ไก่พื้นเมืองเจริญเติบโตช้าและเป็นโรคตายจำนวนมาก ทั้งๆ ที่ไก่พื้นเมืองมีลักษณะเด่น คือ เลี้ยงง่าย มีความต้านทานโรคสูง เนื้อเป็นที่นิยมรับประทาน เพราะมีรสชาติดีดังนั้น หากผู้ที่เลี้ยงไกพื้นเมืองมีการศึกษาวิธีการเลี้ยงไก่พื้นเมือง ให้เข้าใจ พร้อมทั้งมีการดูแลป้องกันรักษาการเกิดโรคต่างๆ ก็จะทำให้ผลผลิตไก่พื้นเมืองดีขึ้น สามารถจำหน่ายได้ราคาดี เป็นการเพิ่มพูนรายได้ให้กับผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองอีกทางหนึ่งด้วย หากมองให้กว้างๆออกไปอีกไก่พื้นเมืองจะช่วยให้ธรรมชาติมีความสมดุลในระบบไร่นา คือ จะช่วยจิกกินแมลงที่ทำลายต้นพืชบางอย่างการจึงเป็นที่มาของการเลี้ยงไก่พื้นบ้าน ที่ลดรายจ่าย เพื่อรายได้ให้ชุมชน

วัตถุประสงค์ ->

1. การจัดเวทีเตรียมความพร้อมวิทยากรสัมมาชีพ 3 วัน ในการเป็นทีมสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน สำหรับอบรมครัวเรือนเป้าหมาย
2. วิเคราะห์องค์ความของปราชญ์ชุมชนทั้ง 5 ท่าน เพื่อใช้ถ่ายทอดความรู้ให้กับครัวเรือนเป้าหมาย
3. คัดเลือกครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ โดยพิจารณาจากทะเบียนครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ จปฐ. เป็นอันดับแรก และสำรวจความผู้ที่สมัครใจและตั้งใจฝึกอาชีพ เพื่อประกอบอาชีพนั้นให้เกิดรายได้ จำนวน 20 ครัวเรือน
4. สร้างความรู้ ความเข้าใจถึงกระบวนการเลี้ยงไก่พื้นเมือง แก่ครัวเรือนเป้าหมายทั้ง 20 ครัวเรือน
5. ดำเนินการสาธิตการเลี้ยงไก่พื้นบ้านแก่ครัวเรือนเป้าหมายทั้ง 20 ครัวเรือน พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะช่องทางการตลาดให้กลุ่มเป้าหมาย

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. องค์ความรู้ของทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านในการให้ความรู้แก่ครัวเรือนสัมมาชีพ
2. ความสมัครใจ และความตั้งใจ ในการฝึกอาชีพของครัวเรือนสัมมาชีพ 20 ครัวเรือน
3. ครัวเรือนสัมมาชีพ ๒๐ ครัวเรือน มีองค์ความรู้ด้านการเลี้ยงไก่พันบ้าน สามารถลดรายจ่าย เพิ่มรายได้แก่ครัวเรือนได้

อุปกรณ์ ->

1. การคัดเลือกพ่อพันธุ์แม่พันธุ์สำหรับผสมพันธุ์เพื่อขยายพันธุ์ ควรมีการคัดเลือกสายพันธุ์ทุกปี เพื่อป้องกันการผสมเลือดชิด อันเป็นสาเหตุทำให้ไก่ไม่แข็งแรงและไม่ทนทานต่อโรค  
2. น้ำและอาหารเป็นสิ่งจำเป็นในการเลี้ยงไก่ ถ้าไก่ขาดน้ำจะตายภายใน 24 ชั่วโมง ควรให้น้ำสะอาดตั้งไว้ให้ไก่กินตลอดวัน และคอยเปลี่ยนน้ำทุกๆ วัน และให้อาหารผสมทุกเช้าเย็นเพิ่มเติมจากอาหารที่ไก่หากินได้ตามปกติ โดยการสังเกตว่าไก่ได้อาหารเพียงพอหรือไม่ ให้ดูว่าในระยะแรกที่ให้อาหารไก่จะรีบกินและมีการแย่งกัน ถ้าไก่กินอาหารไปเรื่อยๆ และเลิกแย่งกัน กินอาหารช้าลง มีการคุ้ยเขี่ย แสดงว่าไก่ได้กินอาหารเพียงพอแล้ว

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. วิทยากรสัมมาชีพจะต้องติดตาม สนับสนุน ให้คำแนะนำแก่ครัวเรือนเป้าหมายอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องเพื่อให้เห็นผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรม ครัวเรือนสามารถมีอาชีพเลี้ยงตนเองและคนในครอบครัวได้
2. การถ่ายทอดภูมิปัญญาการเลี้ยงไก่พื้นบ้าน แบบพี่สอนน้อง ชาวบ้านสอนชาวบ้าน ซึ่งจะช่วยกระชับเวลาในการถ่ายทอดภูมิปัญญาให้สั้นลงการสาธิตให้ดู ซึ่งจะทำให้การเลี้ยงไก่พื้นบ้านเข้าใจยิ่งขึ้น

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครพนม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา