เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

การทอผ้าขาวม้า

โดย : นางจันไทย จันทะคูณ ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-03-29-11:59:54

ที่อยู่ : 97 หมู่ 6 บ้านสามแยก ตำบลวังยาง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ผ้าขาวม้านับได้ว่าเป็นผ้าสารพัดประโยชน์อย่างแท้จริง เพราะอย่างน้อยด้วยรูปลักษณ์และลวดลายที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้รวมไว้ทั้งศาสตร์แห่งสีสันและศิลป์แห่งลายผ้าไทยนำมาผสมผสานกันอย่างกลมกลืน ผ้าขาวม้าเป็นผ้าที่อำนวยความสะดวกให้กับคนไทยมาหลายศตวรรษโดย ไม่มีทีท่าว่าจะสูญหายไปง่ายๆ เนื่องด้วยประโยชน์ของผ้ามีมากมายนานัปการ ทั้งนี้เพราะผ้าขาวม้ามีความเกี่ยวข้องกับวิถีทางแห่งการดำรงชีวิตมากมายหลายอย่างด้วยกัน จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ผ้าขาวม้า คือสิ่งมหัศจรรย์แห่งสายใยที่ถักทอไว้อย่างประณีต จากตำนานกาลเวลา และคุณค่าอันน่ายกย่อง สรุปความได้ว่าประโยชน์ของผ้าขาวม้าใช้กันตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย 

วัตถุประสงค์ ->

   1. ออกแบบลายผ้าขาวม้า โดยทั่วไปการทอผ้าขาวม้าจะนิยมทอกันอยู่ ๒ ลาย คือ ผ้าขาวม้าตาคู่และผ้าขาวม้าตาคี่ ส่วนสีที่เป็นลายนั้นแล้วแต่ผู้ทอจะใช้
   2. เมื่อได้ลายที่ต้องการแล้วก็มาถึงขั้นตอนการเตรียมด้าย คือ การฆ่าฝ้าย ซึ่งเป็นการทำให้เส้นด้ายที่ทำจากฝ้ายไม่เป็นขนและทำให้เส้นด้ายแข็งขึ้น ซึ่งจะทำให้เส้นด้ายไม่พันกัน การฆ่าฝ้ายมีขั้นตอนคือ เริ่มจากนำน้ำใส่ในหม้อที่เตรียมไว้ประมาณ 5 ลิตร ต่อแป้งข้าวเจ้า ๑ กิโลกรัม ในอดีตจะใช้ข้าวจ้าวแต่ปัจจุบันเพื่อความสะดวกจึงใช้แป้งข้าวจ้าวแทน จากนั้นต้มโดยคนให้เข้ากันจนแป้งละลายและนำมาพักไว้ให้เย็น เมื่อน้ำต้มแป้งเย็นแล้วจึงนำด้ายมาแช่และต้องขยำด้ายเพื่อให้แป้งเข้าเคลือบเส้นด้ายทั่วถึงทุกเส้น แช่ทิ้งไว้สักพักจึงนำด้ายไปผึ่งให้แห้งโดยผึ่งในที่ร่มหรือกลางแดดก็ได้ ขั้นตอนการผึ่งนั้นให้ผึ่งกับราวไม้ไผ่เพราะต้องนำด้ายมาสอดกับราวแล้วสะบัดด้ายเพื่อให้ด้ายแตกจากกัน และมีเส้นที่ตรงไม่บิดงอ
   3. ขั้นตอนการเตรียมด้าย นำด้ายที่ผึ่งจนแห้งแล้วมาใส่ในกง ซึ่งกงเป็นอุปกรณ์ที่ทำจากไม้ไผ่เหลาเป็นซี่ยาวประมาณ 1 เมตร 8 อัน และนำมาผูกโยงเข้ากันด้านละ 4 อัน ด้วยเชือกและมีแกนกลาง 1 แกน เพื่อจะกวักด้ายใส่ไว้ในอัก เพื่อเป็นการเตรียมด้ายไว้ใช้ในขั้นตอนต่อไป
   4.ขั้นตอนการเตรียมเครือหรือลายยืนในภาษาอิสานเรียกว่า ค้นหูก การเตรียมลายยืนนั้นจะต้องดูว่าฟืมที่ใช่มีความกว้างเท่าใด ซึ่งถ้าเป็นภาษาอิสานฟืมจะมีหน่วยนับความกว้างเป็น หลบ ฟืมที่ใช้ทอฝ้าขาวม้าจะมีขนาดกว้างต่างกัน ตามขนาดของเส้นด้ายที่ใช้ทอ ถ้าเป็นด้านเส้นใหญ่ จะนิยมใช้ฟืม 10 หลบ ถ้าเป็นด้ายเส้นเล็ก นิยมใช้ 12 ถึง 15 หลบ ฟืมจะมีตาหรือ รู ซึ่ง ๑ รู จะใช้เส้นด้าย 2 เส้น คือ เส้นขึ้นและเส้นลง   การขึ้นเครือจะมีวิธีการคำนวณเส้นด้ายดังนี้
          4 รูฟืม เท่ากับ 1 ควม หรือ เท่ากับ 8 เส้นด้าย
          10 ควม เท่ากับ 1 หลบ หรือ เท่ากับ 80 เส้นด้าย
          ถ้าเป็นฟืม 10 หลบ เท่ากับ 100 ควม หรือ เท่ากับ 800 เส้นด้าย
เทคนิคการนับเช่นนี้ถือว่าเป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมโดยแท้ซึ่งการการกำหนดลำดับก่อนหลังของลายผ้า สี หรือขนาดความกว้างของตาผ้าขาวม้านั้นชาวบ้านจะนับตามหน่วยข้างต้น
   5. เมื่อเตรียมด้ายลายยืนหรือค้นฮูกได้ตามขนาดความกว้างของฟืมแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการในด้ายลายยืนที่เตรียมเสร็จแล้วมาเข้าฟืมหรือภาษาอีสานเรียกว่า สืบหูก ฟืมเป็นอุปกรณ์ในการทอผ้าที่มีส่วนประกอบ คือ ตัวฟืม มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าและมีซี่หลาย ๆ ซี่ตรงกลาง และมีเขาฟืมเพื่อดึงเส้นด้ายลายยืนให้ขึ้นลงขัดกับด้ายลายพุ่งในขั้นตอนการทอ ซึ่งเขาฟืมจะมีจำนวนตามลายว่าเป็นลายด้ายยืนว่าต้องการให้เป็นลายดอกหรือลายขัดธรรมดา ถ้าเป็นลายดอกฟืมจะมี 4 เขา ถ้าเป็นผ้าขาวม้าจะนิยมใช้ฟืม 2 เขาซึ่งเป็นลายขัด การสืบหูก คือ การนำเครือหรือด้ายลายยืนต่อเข้ากับด้ายเก่าที่ติดมากับฟืมโดยต่อตามลำดับของลายที่ได้ค้นไว้ที่ละเส้น เมื่อต่อเสร็จครบทุกสันแล้วจึงนำไปขึ้นกี่เพื่อเตรียมทอต่อไป
   6. ต่อไปเป็นการเตรียมด้ายลายพุ่ง มีวิธีการ คือ นำด้ายสีเดียวกันกับลายยืนมาปั้นใส่หลอดของกระสวยให้ได้ขนาดของกระสวย โดยใช้หลาเป็นอุปกรณ์ในการปั่นด้ายออกจากอัก
   7. เมื่อเตรียมเครือหรือด้ายลายยืน และด้ายลายพุ่งเสร็จแล้วก็มาถึงขั้นตอนสุดท้ายที่จะทอด้ายจากเส้นให้เป็นผืนผ้าขาวม้า โดยการนำด้ายที่ปั้นใส่หลอดมาใส่กระสวยซึ่งเป็นอุปกรณ์ในการนำด้ายลายพุ่งให้วิ่งสอดขัดกับด้ายลายยืนกลับไปกลับมาทีละเส้นทีละสีตามลายที่กำหนดไว้ไปเรื่อยๆ จนได้ความยาวตามต้องการ เป็นอันเสร็จขั้นตอน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. ความพร้อมของวิทยากรสัมมาชีพ (ปราชญ์ทั้ง 5 คน) ในการให้ความรู้แก่ครัวเรือนสัมมาชีพ
  2. ความตั้งใจ และให้ความสนใจของครัวเรือนสัมมาชีพ 20 ครัวเรือน ว่าพร้อมขนาดไหน
  3. อุปกรณ์ในการทอผ้าขาวม้า เช่น ฝ้าย อุปกรณ์ทอผ้าต่าง ๆ
  4. ความพร้อมของลายผ้า บรรจุภัณฑ์ และช่องทางการตลาด

อุปกรณ์ ->

1. วัสดุสำหรับสาธิตต้องพร้อมและวิทยากรสัมมาชีพ (ปราชญ์) ต้องสร้างความน่าสนใจในกิจกรรมให้ได้
2. ต้องมีตลาดอยู่แล้ว หรือหาช่องทางการตลาดให้พร้อมก่อนเริ่มผลิตผ้าขาวม้า
3. ความรู้ของปราชญ์สำคัญ ถ้าไม่พร้อม กลุ่มเป้าหมายจะไม่สนใจกิจกรรมเลย

กระบวนการ/ขั้นตอน->

คัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย 20 ครัวเรือน ที่มีรายได้น้อยในหมู่บ้าน เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้แก่ครัวเรือน

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครพนม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา