เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

การสานกระติบข้าวจากต้นไหล

โดย : น.ส. สุมาลี เชื้อพระซอง ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-03-29-10:00:25

ที่อยู่ : 15 หมู่ 2 บ้านโนนหอม ตำบลโคกสี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

กระติบข้าวเป็นอุปกรณ์เครื่องใช้ที่มีมานานคู่ กับวิถีชีวิต คนอีสานจะใช้กระติบข้าวเป็นภาชนะ ในการใส่ข้าวเหนียว เพื่อเก็บความอุ่น ความนุ่ม ของข้าวให้นานตลอดทั้งวันซึ่งข้าวเป็นอาหารหลัก ของคนอีสาน กระติบข้าวสามารถพกพา นําไปได้ทุกที่โดยเฉพาะเวลาออกนอกบ้านไปทํางานและ ทําธุระต่าง ๆ นิยมจะนําข้าวใส่กระติบติดตัวไป ด้วยเสมอ ชาวบ้านจะนําวัสดุที่ได้ในหมู่บ้าน เช่น ไม่ไผ่ ไหล ผือ ต้นกก หรือใบเตย    มาจักสานเป็น กระติบข้าว โดยได้รับการถ่ายทอดและฝึกฝนการ สานกระติบข้าวจาก พ่อแม่ปู่ ย่า ตายาย บรรพบุรุษ ดั้งเดิมสําหรับกลุ่มหัตถกรรมจักสานบ้านคําไหล ใช้ ไหล ซึ่งเป็นวัสดุที่มีอยู่มากในหมู่บ้านมาจักสานเป็น กระติบข้าว

วัตถุประสงค์ ->

   1. ใช้เวทีเตรียมความพร้อมวิทยากรสัมมาชีพ 3 วัน ในการเตรียมความพร้อมของวิทยากร
   2. สอบถามความพร้อมในองค์ความรู้ด้านการสานกระติ๊บข้าวจากต้นไหลของปราชญ์ทั้ง 5 ท่าน
   3. คัดเลือกครัวเรือนเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมสัมมาชีพ ทั้ง 20 ครัวเรือน เน้นที่สนใจด้านจักสานกระติ๊บข้าวจากต้นไหล
   4. ให้ความรู้ ความเข้าใจถึงวิธีการจักสานกระติ๊บข้าว ให้ครัวเรือนเป้าหมาย
   5. ดำเนินการสาธิตการสานกระติ๊บข้าว แก่ครัวเรือนเป้าหมาย ทั้ง 20 ครัวเรือน ต่อยอดด้วยการทำเป็นรูปทรงต่างๆ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

   1. ความพร้อมของวิทยากรสัมมาชีพ (ปราชญ์ทั้ง 5 คน) ในการให้ความรู้แก่ครัวเรือนสัมมาชีพ
   2. ความตั้งใจ และให้ความสนใจของครัวเรือนสัมมาชีพ 20 ครัวเรือน
   3. ครัวเรือนสัมมาชีพ มีฐานความรู้เดิม ในการจักสานกระติ๊บข้าวจากต้นไหล

อุปกรณ์ ->

ในช่วงฤดูหนาวการสานกระติบข้าวค่อนข้างยากอากาศที่แห้ง ลมที่แรงทำให้เส้นของไหลกรอบและขาดได้ง่ายจึงทำให้การสานกระติบข้าวค่อนข้างยากและลำบากในฤดูฝนอากาศจะชื้นทำให้กระติบข้าวขึ้นรา  ได้ง่าย เส้นที่ใช้ในการสานก็จะขึ้นรา ต้องนำมาเก็บในที่แห้ง เพื่อให้ได้เส้นไหลที่สวยงาม 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ไหลเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว มีหัวอยู่ใต้ดินแบบ แห้วบางชนิดที่เราใช้เป็น อาหารพวก คาร์โบไฮเดรต ขึ้นได้ดีในดินที่ร่วนซุย ดังนั้นการ ปลูกต้นไหลจึงคล้ายกับการปลูกข่า ขิง เมื่อตัดใบ ไปใช้แล้วก็ปล่อยให้แตกหน่อใหม่ โดยไม่ต้อง ปลูกใหม่ เมื่อไหลอายุ3-4 เดือน ก็ตัดเอาส่วนที่ เป็นใบหรือต้นปลอม ( เพราะไม่เป็นปล้องหรือมี ข้อ) มีลักษณะกลมข้างในกลวงแบบใบหอม เอา ไปผ่าเป็นเสี้ยวขูดให้เหลือแต่เปลือกที่แข็งแรง ตากให้แห้ง( ตากก่อนจักเป็นตอกก็ได้) อาจย้อมสี ให้สวยงามตามต้องการ นํามาทอเป็นเสื่อหรือสาน ภาชนะอย่างอื่นก็ได้

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครพนม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา