เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

กระบวนการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน บ้านใหม่ศรีปทุม

โดย : นายสำเนียง ลาทำ ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-03-28-16:17:49

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 35 หมู่ที่ 10 ตำบลขามเฒ่า อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การส่งเสริมการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชน โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามแผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็งของรัฐบาล ซึ่งตอบสนองนโยบายรัฐบาลเรื่อง การลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐ ตามแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการเกษตรและชนบท (ยุทธศาสตร์ที่ 1) ซึ่งได้กำหนดกระบวนการขับเคลื่อนที่เริ่มต้นด้วยการพัฒนาทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับปราชญ์ชุมชน เพื่อให้กลับไปสร้างทีม และจัดฝึกอบรมอาชีพให้กับครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพในหมู่บ้าน โดยใช้พื้นที่ในบ้านปราชญ์ชุมชนหรือศูนย์เรียนรู้ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ เพื่อมุ่งหมายให้ครัวเรือนที่เข้ารับการฝึกอาชีพมีความรู้ และปฏิบัติอาชีพได้จริง จนพัฒนาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน และต่อยอดสู่การรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความเข้มแข็งต่อไป

กลุ่มจักสานบ้านใหม่ศรีปทุม จัดตั้งเมื่อ พ.ศ. 2551 มีสมาชิกเริ่มแรกจำนวน ๑๐ คน ปัจจุบันมีสมาชิก 20 คน การจักสานกระติบข้าวเริ่มแรกนั่นทำมาจากไม้ไผ่ แต่การสานกระติบข้าวจากไม่ไผ่นั่นเกิดเชื้อราง่าย จึงได้มีการนำต้นคล้ามาเป็นวัตถุดิบแทน ในช่วงแรกนั้นต้นคล้าซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักนั้น ต้องไปหามาจากแหล่งอื่น ต่อมาชาวบ้านได้ไปเรียนรู้การปลูกต้นคล้าจากแหล่งเพาะปลูกอื่น และได้นำมา เพาะปลุกในชุมชนเอง ศึกษาวิธีปลูก การดูแลรักษาจนสามารถปลูกได้เองในชุมชนโดยไม่ต้องออกไปหาวัตถุดิบจากภายนอกอีก ทำให้เกิดเป็นกลุ่มอาชีพขึ้นในชุมชนสร้างชื่อเสียงสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังเกิดเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นให้กับลูกหลานได้สืบทอดต่อไป

วัตถุประสงค์ ->

1.เตรียมความพร้อมทีมสัมมาชีพชุมชนสร้างความรู้ความเข้าใจ ชี้แจงแนวทางโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน ความเป็นมาของโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน ความสำคัญของการสร้างสัมมาชีพชุมชน กระบวนการสร้างสัมมาชีพชุมชน

2.ถ่ายทอดความรู้ เทคนิค ของการเป็นวิทยากรผู้นำสัมมาชีพโดยปราชญ์ชุมชนที่ผ่านการอบรมหลักสูตร “วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ” จากศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชน

3. จัดทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน พร้อมมอบหมายภารกิจหน้าที่ในการส่งเสริมสนับสนุน กำกับและติดตามครัวเรือนเป้าหมายที่ผ่านการอบรมอาชีพ “ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน” โดยแล่งสัดส่วนของทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน 1 คน ต่อครัวเรือน สัมมาชีพชุมชน 4 ครัวเรือน

4. ทบทวนและจัดทำแผนปฏิบัติการฝึกอบรมและส่งเสริมสนับสนุน กำกับและติดตามครัวเรือนเป้าหมายที่ผ่านการอบรมอาชีพ ซึ่งเรียกว่า “ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน”

5. ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลความต้องการอาชีพจากแบบความต้องการฝึกอาชีพของคนในชุมชนที่ได้สำรวจไว้แล้ว โดยจัดกลุ่มความต้องการอาชีพ แล้วจึงวิเคราะห์ให้เชื่อมโยงกับตลาด สร้างผลผลิตสร้างผลิตภัณฑ์เข้าสู่ระบบ OTOP และการดำเนินงานของบริษัทประชารัฐ

6. ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านลงพื้นที่เยี่ยมเยือนครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพทั้ง 20 ครัวเรือน โดยแบ่งตามสัดส่วนของทีมวิทยากรสัมมาชีพระดับหมู่บ้าน 1 คน ต่อ 4 ครัวเรือนเป้าหมาย ที่ต้องการฝึกอาชีพ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

วิทยากรสัมมาชีพชุมชนผู้เป็นเจ้าของอาชีพ ดำเนินการร่วมกับทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านถ่ายทอดความรู้  ในประเด็น ดังนี้

          1. เล่าความเป็นมาของอาชีพ

          2. อธิบายกระบวน/ขั้นตอน√ การประกอบอาชีพ และทักษะที่เป็นนวัตกรรมในการพัฒนาอาชีพจนเกิดรายได้ให้แก่ครัวเรือน

          3. อธิบายความสำคัญของการจัดการอาชีพเพื่อพัฒนาและสร้างรายได้ โดยเชื่อมโยงกับการตลาดหรือการสนับสนุนจากหน่วยงานหรือประชารัฐ

          4. ผู้แทนครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพทั้ง 20 คน (ครัวเรือน 1 คน) เดินทางไปศึกษาดูงานเพิ่มพูนความรู้และสร้างแรงจูงใจด้านอาชีพ ณ หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงหรือศูนย์เรียนรู้ชุมชนหรือบ้านปราชญ์ชุมชนที่กำหนด

          5. ผู้แทนครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพทั้ง 20 ครัวเรือน ดำเนินการฝึกปฏิบัติอาชีพ ณ บ้านของตนเอง โดยมีทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ให้การกำกับดูแลการฝึกปฏิบัติฯ ตามขั้นตอนการประกอบอาชีพที่ต้องการฝึกคนละ 4 ครัวเรือน

อุปกรณ์ ->

-

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. เน้นทักษะเดิมของคนในหมู่บ้านที่มีอยู่ และเป็นอาชีพที่เกิดจากความต้องการของคนในชุมชนเอง

2. ทุกกระบวนการผ่านการยอมรับจากเวทีประชาคมของหมู่บ้าน

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครพนม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา