เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การปลูกมะม่วงนอกฤดู

โดย : นายพิพนธ์ ชาติเชยแดง ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-06-14-10:28:16

ที่อยู่ : 36 หมู่5 ต.โคกพระเจดีย์ อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

     ประเทศไทย เป็นแหล่งผลิตผลไม้เมืองร้อน และกึ่งเมืองร้อนมากกว่า 70 ชนิด ในจำ นวนนี้มีอยู่ 30 ชนิด ผลิตเป็นการค้า จากความได้เปรียบทั้งด้านที่ตั้งและสภาพภูมิอากาศที่มีความเหมาะสมในการผลิตผลไม้คุณภาพดี มีลักษณะโดดเด่น ซึ่งเป็นอัตลักษณ์เฉพาะ จนเป็นที่ยอมรับในหมู่ผู้บริโภคทั้งในและนอกอาเซียน สามารถส่งออก ไปจำ หน่ายในตลาดต่างประเทศได้ปีละหลายหมื่นล้านบาท จากความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีการผลิตผลไม้นอกฤดูได้มีความเจริญก้าวหน้าไปมาก จึงเป็นโอกาสดี ที่ประเทศไทยจะได้ขยายช่วงเวลาการส่งออกผลไม้ให้ยาวนานตลอดทั้งปีและช่วยให้สามารถขยายตลาดส่งออก ไปในประเทศใหม่ๆ ได้มากยิ่งขึ้น อันเป็นการช่วยเพิ่มมูลค่าผลไม้ทำ ให้เกษตรกรผู้ผลิตผลไม้ของไทยได้รับ ผลตอบแทนจากการผลิตอย่างพึงพอใจ และสามารถประกอบอาชีพการทำสวนผลไม้ได้อย่างยั่งยืน จนส่งผลทำให้ ประเทศไทยรักษาระดับความเป็นผู้นำ ในการผลิตและการตลาดผลไม้เมืองร้อนของโลก อันจะช่วยเป็นภูมิคุ้มกันให้กับ เกษตรกรผู้ผลิตผลไม้ไทยก้าวสู่ประตูอาเซียนได้อย่างภาคภูมิใจ นอกจากนี้แล้ว การผลิตผลไม้นอกฤดูยังช่วยลดปัญหา ผลผลิตล้นตลาดในช่วงฤดูกาล ซึ่งมักจะเกิดขึ้นเป็นประจำ อีกทั้งช่วยให้รัฐบาลไม่ต้องเสียเงินงบประมาณเพื่อนำมา ช่วยการแก้ไขปัญหา เพื่อยกระดับราคาผลไม้ให้สูงขึ้น และไม่เกิดผลกระทบต่อความเดือดร้อนไปสู่เกษตรกรได้

     โดยที่ตำบลโคกพระเจดีย์เป็นท้องที่มีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นในส่วนของทรัพยากรทางดินจนกระทั้งทรัพยากรทางอากาศ ประกอบกับคุณนิพนธ์ผู้ซึ่งเป็นคนในตำบลโคกพระเจดีย์มาโดยกำเนิดและเป็นผู้สืบทอดองค์ความรู้ทางการเกษตร ได้มีความคิดริเริ่มที่จะยกระดับนวัตกรรมทางการเกษตรในด้านเกี่ยวกับการเพาะปลูกและได้ลองถูกลองผิดมาเป็นเวลานานจึงเป็นที่มาของการทำการปลูกม่วงนอกฤดูจวบจนปัจจุบัน

วัตถุประสงค์ ->

การผลิตมะม่วงนอกฤดู
1. การราดสาร หลังจากได้มีการเตรียมพร้อมให้กับต้นมะม่วงมาระยะหนึ่งแล้ว จะต้องตัดแต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ย ส่วนใหญ่ใช้ปุ๋ยเคมี 15-15-15 ทางดินและฉีดพ่นทางใบด้วยไธโอยูเรีย อัตราส่วน 100 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตรเพื่อให้มะม่วงแตกใบอ่อนมาพร้อมกัน หลังจากที่ยอดอ่อนมะม่วงเข้าสู่ระยะใบพวง คือใบเริ่มเปลี่ยนจากสีม่วงเป็นสีเขียว ก็ให้ทำการราดสารพาโคลบิวทราโซลความเข้มข้น 10% ผสมน้ำราดลงให้ชิดโคนต้น

1.1 พันธุ์มะม่วงที่ออกดอกง่าย อัตราส่วนในการใช้สารต่อต้น 1:10 ความกว้างของพุ่ม (เมตร): ปริมาณสารที่ใช้ (กรัม หรือ ซีซี)
1.2 พันธุ์มะม่วงที่ออกดอกยาก อัตราส่วนในการใช้สารต่อต้น 1: 15 ความกว้างทรงพุ่ม (เมตร): ปริมาณสารที่ใช้ (กรัม หรือ ซีซี)

ถ้ามะม่วงมีทรงพุ่ม 4 เมตร จะต้องใช้สาร 60 กรัม หรือ 60 ซีซี

หลังจากนั้นนำสารพาโคลบิวทราโซลความเข้มข้น 10 % ผสมกับน้ำปริมาณ 20 ลิตร ราดลงดินชิดโคนต้น ที่ได้มีการทำความสะอาดและกำจัดวัชพืชไว้ก่อนแล้ว นอกจากการราดสารพาโคลบิวทราโซลที่โคนต้นมะม่วงแล้ว เกษตรกรบางรายยังใช้สารพาโคลบิวทราโซล 10 % อัตราส่วน 200 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือเท่ากับ 1000 ส่วนต่อล้านส่วนฉีดพ่นทางใบ ระยะใบพวงก็ให้ผลได้เช่นเดียวกันกับวิธีการาดสารทางดิน

2. การดูแลหลังการราดสารพาโคลบิวทราโซล - หลังราดสารแล้วให้น้ำในบริเวณทรงพุ่มให้ชุ่ม ในระดับความลึก 10-15 เซนติเมตร ทุก 5 วัน จำนวน 4-5 ครั้ง เพื่อสารถูกดูดลำเลียงไปที่ยอด เปลี่ยนตาใบให้เป็นตาดอก หลังราดสาร 30 วัน ควรให้ปุ๋ยเพื่อสร้างตาดอก ปุ๋ยที่มีฟอสฟอรัสสูง ทางดินหรือโดยทางใบฉีดพ่นทุก ๆ 10 วัน จำนวน 2-3 ครั้ง มะม่วงก็จะเริ่มสร้างตาดอกจะเกิดใบอายุไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับพันธุ์เบาหรือพันธุ์หนัก พันธุ์เบาออกดอกง่ายใช้เวลา 60-70 วัน พันธุ์หนักออกดอกยากใช้เวลา 90-120 วัน - กรณีที่ใช้สารพาโคลบิวทราโซลราดในช่วง ฤดูฝน บางครั้งตาดอกอาจเปลี่ยนเป็นตาใบได้ ควรป้องกันโดยพันธ์ที่ออกดอกง่าย เมื่ราดสารพาโคลบิวทราโซลไปแล้ว 1 เดือน ควรพ่นด้วยปุ๋ย 0-52-34 โมโนโปแตสเซียม ฟอสฟอรัส อัตรา 150 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร จำนวน 2 ครั้ง ห่างกัน 10-14 วัน ในพันธุ์ออกดอกยากควรพ่นปุ๋ยดังกล่าวข้างต้นเมื่อราดสารพาโคลบิวทราโซล ไปแล้ว 2 เดือน - 

เมื่อมะม่วงครบกำหนดเกิดตาดอกแล้วมะม่วงจะแสดงอาการก้านใบลู่ หรือตั้งฉากกับกิ่ง เมื่อจับใบมาบีบดูจะกรอบ ยอดสั้นเป็นกระจุกมีตาโผล่ออกมาเห็นชัด ให้ฉีดพ่นโพแทสเซียมไนเตรท 500 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือไทโอยูเรีย 100 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ตาดอกจะแทงช่อและดอกบานภายใน 1 เดือน ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้ดอกบานในฤดูฝน เพราะการติดผลไม่ดี และต้องพ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชสูงมาก

หลังจากแทงช่ออกดอกติดผลจนถึงผลแก่ มีการปฏิบัติดูแลรักษา เช่นเดียวกันกับการผลิตมะม่วงโดยทั่วไป

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ปลูกมะม่วงนอกฤดูให้ประสบความสำเร็จ นอกจากต้องคำ นึงเรื่องอายุพ้นวัยหนุ่มสาว (juvenile stage) แล้วมีการพักฟื้นต้นมาอย่างเพียงพอ มีการบำรุงให้แตกใบอ่อนมาอย่างน้อย 2 ครั้ง ความพร้อมของต้นไม้ผล ที่มีความสมบูรณ์ทรงพุ่มใบหนาแน่น กิ่งก้านสาขาใหญ่อวบแข็งแรง ใบเขียวเข้ม ไม่ถูกโรคแมลงทำลาย รวมทั้ง การเข้าทำลายของโรคที่ระบบรากได้แก่ โรครากและโคนเน่าที่พบในทุเรียน โรคกรีนนิ่งในส้ม โรคขาดธาตุอาหาร โรคทางเดินของท่อน้ำ ท่ออาหาร ฯลฯ สำหรับการทำลายของแมลง จะส่งผลต่อประสิทธิภาพการผลิตผลไม้นอกฤดูตำ่ ได้เช่น การทำลายของแมลงชนิดกัดกินใบ ได้แก่ แมลงค่อมทอง ด้วงตัดใบ ระยะรุนแรง เพลี้ยไฟ หนอนแก้ว หรือรวมทั้งหนอนเจาะลำต้น หรือ หนอนเจาะกิ่งที่ส่งผลกระทบต่อความสมบูรณ์ของลำต้นในภาพรวมถ้าหากการทำลายของโรคและแมลงมีความรุนแรง ไม่มากนัก ก็สามารถทำการผลิตนอกฤดูต่อไปได้

อุปกรณ์ ->

    การทำการกระตุ้นหรือชักนำ ให้ต้นมะม่วงผลที่เคยออกดอกในช่วงฤดูกาลปกติสามารถออกดอกติดผลในช่วง นอกฤดูประสบความสำ เร็จได้นั้น ควรต้องมีการศึกษาและเข้าใจถึงขบวนการก่อนออกดอกของต้นไม้ผล

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ปลูกมะม่วงนอกฤดูเพื่อให้ประสบความสำเร็จนั้นวิธีการและขั้นตอนการดำเนินการต้องเลือกใช้ให้ถูกต้อง และเหมาะสมกับชนิดที่มีความสอดคล้องกับปัจจัยการผลิตที่มีอยู่โดยจากวิธีการง่าย ๆ เช่น รมควัน ตัดแต่งกิ่ง งดนำ ้ ตลอดจนใช้สารเคมีเป็นต้น

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครปฐม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา