เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

ปลูกผักอินทรีย์

โดย : นาย นรากรณ์ จินดาบุตร ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-06-13-21:43:30

ที่อยู่ : 64 หมู่ที่ 5 ตำบลโคกพระเจดีย์ อำเภอ นครชัยศรี จังหวัด นครปฐม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ มีเป็นกรดสูง และที่สำคัญเป็นดินที่ขาดจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อดิน และต่อพืชซึ่งเรียกได้ว่าเป็นดินตาย สาเหตุก็มาจากการปลูกพืชชนิดเดียวกันซ้ำกันหลายปี ไม่มีการปลูกพืชหมุนเวียนอีก ทั้งมีการใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียวเป็นส่วนใหญ่ สุดท้ายก็ทำให้เกิดสภาพดินกรด ขาดความอุดมสมบูรณ์เกษตรกรปลูกพืช แล้วให้ผลตอบแทนได้ไม่เต็มที่ ประการที่สองเกษตรกรประสบปัญหาแมลงศัตรูพืชชนิดต่าง ๆ รบกวนไม่ว่าจะเป็นสวนผัก สวนผลไม้ ไม้ดอก-ไม้ประดับ พืชไร่-นา ชนิดต่าง ๆ และหนทางที่เกษตรกรเลือกใช้แก้ปัญหา ส่วนใหญ่ก็คือสารเคมีฆ่าแมลงแต่จากการที่เกษตรกร ขาดความรู้ความเข้าใจในการเลือกใช้สารเคมี วิธีการใช้ที่เหมาะสม ช่วงเวลาในการใช้ เกษตรกรใช้สารเคมีหลายชนิดซ้ำซ้อนกัน และในปริมาณที่มากเกินความจำเป็น มีผลทำให้สารพิษตกค้างในผลผลิต มีต้นทุนการผลิตสูง เป็นอันตรายต่อเกษตรกรผู้ผลิตเอง และผู้บริโภคเอง

วัตถุประสงค์ ->

•  การไถพรวนและเตรียมแปลง ต้องทำการไถพรวนให้พื้นที่ในแปลงโล่งแจ้งพร้อมที่จะทำการวางรูปแบบแปลง ในการวางรูปแบบแปลงจะต้องวางไปตามตะวัน เนื่องจากพืชใช้แสงแดดปรุงอาหารและแสงแดดฆ่าเชื้อโรค แปลงที่จะปลูกพืชผักนั้นความกว้างไม่ควรเกิน 1 เมตร ส่วนความยาวตามความเหมาะสมของพื้นที่ ส่วนพื้นที่ที่ยังทำแปลงปลูกพืชไม่ทันให้เอาพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเขียวหรือถั่วมะแฮะมาหว่านคลุมดินเพื่อทำเป็นปุ๋ยพืชสด เป็นการปรับปรุงบำรุงดินไปพร้อมกับเป็นการป้องกันแมลงที่จะมาวางไข่ในพงหญ้าด้วย 
•  ปลูกพืชสมุนไพรไล่แมลง ให้ปลูกก่อนที่จะปลูกพืชหลักคือพืชผักต่างๆ (เสริมกับการป้องกัน) พืชสมุนไพรที่กันแมลงรอบนอกเช่น สะเดา ชะอม ตะไคร้ หอม ข่า ปลูกห่างกัน 2 เมตร โดยรอบพื้นที่ ส่วนต้นด้านในกันแมลงในระดับต่ำโดยปลูกพืชสมุนไพรเตี้ยลงมาเช่น ดาวเรือง กระเพรา โหระพา ตะไคร้หอม พริกต่างๆ ปลูกห่างกัน 1 เมตร และที่จะลืมไม่ได้เลยก็คือจะต้องปลูกตะไคร้หอมทุกๆ 3 เมตร แซมโดยรอบพื้นที่ด้านในด้วย

•  การแยกแปลงปลูกยกแปลงเพื่อปลูกพืชผัก แต่ก่อนที่จะปลูกจะต้องมีการปรับสภาพดินในแปลงปลูก โดยการใส่ปุ๋ยคอกจากมูลสัตว์ที่ตากแห้งแล้วจะใส่มากน้อยขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดินที่จะทำแปลงปลูกพืชอินทรีย์ (ห้ามใช้มูลสัตว์สด) ทำการพรวนคลุกดินให้ทั่วทิ้งไว้ 7 วัน ก่อนปลูก

  • ปลูกพืชสมุนไพรกันแมลง ให้ปลูกที่ขอบแปลงก่อน เช่น กุ๋ยฉ่าย คื่นฉ่าย และระหว่างแปลงก็ทำการปลูกกระเพรา โหระพา พริกต่างๆ เพื่อป้องกันแมลงก่อนที่จะทำการปลูกพืชผัก พอครบกำหนด 7 วัน พรวนดินอีกครั้งแล้วนำเมล็ดพันธุ์พืชมาหว่านแต่เมล็ดพันธุ์พืชส่วนใหญ่เป็นเมล็ดพันธุ์ที่คลุกสารเคมีจึงต้องนำเอาเมล็ดพันธุ์ผักมาล้าง โดยการนำน้ำที่มีความร้อน (50-55 C ) วัดได้ด้วยความรู้สึกของตัวเราเองคือเอานิ้วมือจุ่มลงไปถ้าทนความร้อนได้ก็ให้นำเมล็ดพันธุ์พืชแช่ลงไป นาน 30 นาที แล้วจึงนำขึ้นมาคลุกกับกากสะเดา หรือ สะเดาผงแล้วนำไปหว่านลงแปลงที่เตรียมไว้คลุมฟางและรดน้ำ
  • การเตรียมน้ำสมุนไพรไล่แมลง ก่อนรดน้ำทุกวันควรขยำขยี้ใบ ตะไคร้หอมแล้วใช้ไม้เล็กๆ ตีใบกระเพรา โหระพา ข่า ฯลฯ เพื่อให้เกิดกลิ่นจากพืชสมุนไพรออกไล่แมลง ควรพ่นสารสะเดาอย่างต่อเนื่องทุกๆ 3-7 กันก่อนแก้ถ้าปล่อยให้โรคแมลงมาแล้ว จะแก้ไขไม่ทัน เพราะว่าไม่ใช้สารเคมี ควรดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด
  • การปลูกพืชอินทรีย์ ปลูกได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอนแต่จะต้องปลูกพืชสมุนไพรก่อนและต่อเนื่อง แล้วต้องปลูกพืชสมุนไพรสลับลงไปในแปลงพืชผักเสมอ แล้วต้องทำให้พืชสมุนไพรต่างๆ เกิดการช้ำ จะได้มีกลิ่น ไม่ใช่ปลูกเอาไว้เฉยๆ การปลูกพืชแนวตั้งคือ พืชที่ขึ้นค้าง เช่น ถั่วผักยาวมะระจีน ฯลฯ และแนวนอน คือ พืชผักต่างๆ คะน้า กระหล่ำปลี ปวยเล้ง ตั้งโอ๋ ฯลฯ ทุกพืชที่ปลูกในแปลงเกษตรอินทรีย์
  • การปลูกพืชสมุนไพรในแปลงเพื่อไล่แมลง ยังสามารถนำเอาพืชสมุนไพรเหล่านี้ไปขายเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่งด้วย หลังจากทำการเก็บเกี่ยวพืชผักแล้วควรรีบทำความสะอาดแปลงไม่ควรทิ้งเศษพืชที่มีโรคแมลงไว้ในแปลง ให้รีบนำไปทำลายนอกแปลง ส่วนเศษพืชที่ไม่มีโรคแมลงก็ให้สับลงแปลงเป็นปุ๋ยต่อไป

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ปัจจัย ที่สร้างความสำเร็จและเทคนิคที่สำคัญของการทำเกษตรอินทรีย์ คือ การทำโดยอาศัยความรู้ที่ฝังลึกซึ่ง เริ่มจากการเตรียมระบบนิเวศและธาตุอาหารพืช จากนั้นคือการดูแลรักษาพืชด้วยระบบห่วงโซ่อาหาร จนถึงการเก็บเกี่ยวเฉพาะส่วนที่สามารถนำไปบริโภคได้ ขณะที่การเข้าถึงตลาดพร้อมกับการจัดการหลังการ เก็บเกี่ยวอย่างง่ายในระดับฟาร์มจะนำมาสู่การยืดอายุ ในการวางจำหน่ายและผลผลิตที่มีคุณภาพดี ส่วน ข้อจำกัดของการผลิตผักอินทรีย์ ประกอบด้วย

(1) ข้อจำกัดด้านชีวกายภาพ ได้แก่ความอุดมสมบูรณ์ ของดินต่ า การขาดแคลนน้ าฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล และศัตรูพืช

(2) ข้อจำกัดด้านเศรษฐศาสตร์ ได้แก่ ต้นทุนเริ่มกิจการสูง ค่าแรงงานสูง ค่าขนส่งแพง และ ตลาด 

(3) ข้อจำกัดด้านความรู้ การขาดความ เข้าใจในปัญหาของฟาร์ม ได้แก่ ความสมดุลของธาตุ อาหาร สิ่งแวดล้อมพืช การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การจัดการของเสีย และทัศนคติของผู้บริโภค

อุปกรณ์ ->

ไม่ควรปลูกพืชชนิดเดียวกับพืชแรเช่น ในแปลงที่ 1 ปลูกผักกาดเขียวปลีได้ผลผลิตดีหลักเก็บผลผลิตไปแล้วปลูกซ้ำอีก จะไม่ได้ผลเลย ควรปลูกสลับชนิดกัน เช่น ปลูกผักกาดเชียวปลี แล้วตามด้วยผักบุ้งจีน เก็บผักบุ้งจีนแล้วตามด้วยผักกาดหัว เก็บผักกาดหัวแล้วตามด้วยผักปวยเล้ง เก็บปวยเล้งตามด้วยตั้งโอ๋ ทำเช่นนี้ทุกๆ แปลงที่ปลูกแล้วจะได้ผลผลิตดี

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การปลูกผักอินทรีย์ มี 2 ประเภทดังนี้
1 การปลูกผักอินทรีย์กลางแจ้ง
ประเทศไทยอยู่ในเขตร้อนชื้น ปัญหาและอุปสรรคหลักของการทำเกษตรอินทรีย์ก็คือเรื่องโรค 
และแมลงศัตรูพืช ซึ่งแก้ไขได้ยากมาก ฉะนั้นการปลูกผักอินทรีย์กลางแจ้งจึงมักจะประสบ 
ความสำเร็จยาก
2 การปลูกผักอินทรีย์ในโรงเรือน
เป็นเทคโนโลยีการปลูกผักที่เน้นการการแก้ไขปัญหาเรื่องโรคและแมลงศัตรูพืชเป็นอันดับแรก 
อันเป็นแนวทางที่จะทำการปลูกผักอินทรีย์ให้ประสบความสำเร็จได้ แม้จะมีต้นทุนที่สูงขึ้น แต่ชีวิตและสุขภาพของทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคก็มีค่ามากกว่าใช่ไหมครับ

   ดังนั้นในที่นี้จะขอแนะนำการปลูกผักอินทรีย์ในโรงเรือนซึ่งสามารถทำได้จริงและประสบความสำเร็จได้อย่างยั่งยืน

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครปฐม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา