เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การเลี้ยงกบ

โดย : นายวินัย จัดวงศ์ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-06-13-17:40:29

ที่อยู่ : 21 หมู่ที่ 1 ตำบลโคกพระเจดีย์ อำเภอ นครชัยศรี จังหวัด นครปฐม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

แต่เดิมกบเป็นอาหารตามธรรมชาติของมนุษย์ มักจะเจอตามลำห้วย หนอง บึง ท้องนา  แต่ด้วยทุกวันนี้มีการใช้สารเคมีในการเกษตร มีโรงงานเพิ่มมากขึ้น จนทำให้ระบบนิเวศที่กบเคยอาศัยอยู่ได้เปลี่ยนไป  อีกทั้งความต้องการบริโภคกบก็สูงขึ้น ทำให้การจับกบไม่ได้คำนึงถึงว่าจะต้องปล่อยให้ตัวเล็ก ๆ ได้มีโอกาสเติบโตขยายพันธุ์ต่อไป จับมาขายทั้งตัวเล็กตัวใหญ่ ทำให้จำนวนกบตามธรรมชาติลดน้อยลงเรื่อย ๆ

ด้วยเหตุนี้ทางคุณวินัย จึงมองเห็นโอกาสที่จะสร้างรายได้จากความต้องการกบเพื่อการบริโภค เพราะกบเป็นสัตว์เลี้ยงง่าย ใช้เวลาไม่มาก ลงทุนน้อย และคุ้มค่า มีการทำฟาร์มเลี้ยงกบหลากหลายรูปแบบ ทั้งการเลี้ยงกบแบบธรรมชาติ การเลี้ยงกบในขวด การเลี้ยงกบคอนโด แบบบ่อซีเมนต์ ฯลฯ และก็มีบางส่วนที่ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากยังขาดข้อมูลสำคัญอยู่ เช่น นิสัยใจคอของกบ พื้นที่ที่เหมาะกับการเลี้ยงกบ เป็นต้น

วัตถุประสงค์ ->

การเลือกสถานที่เลี้ยงกบ

การเลือกบ่อหรือคอกเลี้ยงกบควรจะอยู่ไม่ไกลจากที่อยู่อาศัย เพื่อสะดวกในการป้องกันศัตรู เช่น  งู นก หนู หมา แมว และ คน ถ้าบ่อเลี้ยงกบหรือคอกเลี้ยงกบอยู่ห่างจากที่อยู่อาศัยมาก ก็จะถูกศัตรูและคนขโมยจับกบไปขายหมด นกก็มีทั้งกลางวันและกลางคืน ส่วนแมวอันตรายมากเพราะนอกจากจะจับกบกินแล้ว บางครั้งก็ชอบจับกบตัวอื่น ๆ มาหยอกเล่นจนทำให้กบตาย สรุปการเลือกสถานที่เลี้ยงกบควรมีดังนี้

1. ใกล้บ้าน ง่ายและสะดวกในการดูแลรักษาและป้องกันศัตรู
2. เป็นที่สูง ป้องกันน้ำท่วม
3. พื้นที่ราบเสมอ เพื่อสะดวกในการสร้างคอกและแอ่งน้ำ
4. ใกล้แหล่งน้ำ เพื่อสะดวกในการเปลี่ยนถ่ายน้ำ
5. ให้ห่างจากถนน เพื่อป้องกันเสียงรบกวน เนื่องจากกบต้องการพักผ่อนจะได้โตเร็ว

พันธุ์กบที่นำมาเลี้ยง

พันธุ์กบที่นิยมนำมาเลี้ยงมี 2 พันธุ์คือ กบอเมริกันบูลฟร็อก และกบนา สำหรับผู้เริ่มต้นแนะนำให้เลี้ยงพันธุ์กบนาจะเหมาะกว่า กบนาใช้เวลาเพียง 4-5 เดือน กบก็โตได้ถึงขนาด 4-5 กิโลกรัมต่อตัว เป็นกบที่โตเร็ว และเป็นที่นิยมบริโภคมากกว่าพันธุ์อื่น ๆ

ลักษณะกบนาตัวผู้จะมีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย และกบตัวผู้จะมีกล่องเสียงอยู่ใต้คางแถว ๆ มุมปากล่างทั้งสองข้าง ใช้สำหรับส่งเสียงร้องโดยเฉพาะในฤดูผสมพันธุ์ ส่วนกบตัวเมียส่งเสียงร้องได้เหมือนกันแต่เบากว่า ในช่วงฤดูผสมพันธุ์กบตัวผู้จะส่งเสียงร้องและกล่องเสียงจะพองโตและใส ส่วนตัวเมียที่มีไข่แก่จะสังเกตเห็นท้องบวมและใหญ่กว่าปกติ

การเลี้ยงกบในบ่อปูนซีเมนต์

แบบนี้เป็นที่นิยมเพราะดูแลรักษาง่าย กบมีความเป็นอยู่ดีและเจริญเติบโตดี สะดวกสบายต่อผู้เลี้ยงในด้านการดูแลรักษา บ่อปูนซีเมนต์สร้างจากแผ่นซีเมนต์บล๊อก และฉาบด้วยปูนซีเมนต์ ปูนที่ฉาบจะหนาเป็นพิเศษ ตรงส่วนล่างที่เก็บขังน้ำ คือ มีความสูงจากพื้นเพียง 1 ฟุต พื้นล่างเทปูนหนาเพื่อรองรับน้ำ และมีท่อระบายน้ำอยู่ตรงส่วนที่ลาดสุด พื้นที่เป็นที่ขังน้ำนี้ นำวัสดุลอยน้ำ เช่น ไม้กระดาน ขอนไม้ ต้นมะพร้าว ให้ลอยน้ำ เพื่อให้กบขึ้นไปเป็นที่อยู่อาศัย สามารถเลี้ยงปลาดุกเพื่อให้เก็บกินเศษอาหารและมูลกบได้ด้วย ในอัตราส่วนกบ:ปลาดุก 100:20 ด้านบนของบ่อจะเปิดกว้างเพื่อให้แดดส่องลงไปทั่วถึง มุมใดมุมหนึ่งของบ่นำทางมะพร้าวมาปกคลุม เพื่อเป็นส่วนของร่มบ่อเลี้ยงกบแบบซีเมนต์ ถ้าทำขนาด 3 x 4 เมตร ปล่อยกบลงเลี้ยงได้ 1,000 ตัวและปลาดุกอีก 200 ตัวพื้นล่างของบ่อดังกล่าว

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

        ปัจจัยที่สำคัญในการเลี้ยงกบเพื่อให้กบมีขนาดที่สมบูรณ์และต้องตรงใจตลาดนั้นอาจสรุปได้ดังนี้

          1. การเลี้ยงกบต้องระวังเรื่องความสะอาดขณะสูบบุหรี่ใกล้บริเวณบ่อ  ระวังอย่าให้ขี้บุหรี่ตกลงไปในบ่อเด็ดขาด เพราะลูกกบจะตายยกบ่อ 
          2. การเลี้ยงกบ  ต้องคัดลูกกบขนาดเท่ากันไปเลี้ยงในบ่อเดียวกันห้ามเลี้ยงลูกกบคนละขนาดเด็ดขาด เพราะลูกกบจะกินกันเอง 
          3. การเลี้ยงกบควรกะระยะเวลา 4 เดือน ในการจับจำหน่าย อย่าให้ตรงกับช่วงฤดูฝน เพราะกบราคาถูก 
          4.  อาหารกบ นอกจากอาหารเม็ดแล้ว  สามารถใช้เนื้อปลาสับหรือเนื้อหอยโข่งก็ได้ 
          5. ก่อนที่จะปล่อยแม่พันธุ์กบลงผสมพันธุ์ ต้องสังเกตแม่พันธุ์กบว่าตัวเริ่มฝืด มีปุ่มหนาม แสดงว่าพร้อมจะผสมพันธุ์ หากปล่อยลงไปแล้ว 2-3 วัน ยังไม่เห็นไข่กบก็จับพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์มาแยกเลี้ยงอีกระยะหนึ่ง แล้วค่อยนำมาผสมพันธุ์ใหม่

อุปกรณ์ ->

ข้อพึ่งระวังประการหนึ่งคือการ ป้องกันโรคที่เกิดจากกบ โดยที่โรคที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เกิดการเลี้ยงและการจัดการไม่ดี ทำให้มีการหมักหมมของเสียต่าง ๆ เกิดขึ้นในบ่อ โดยเฉพาะการใช้บ่อซีเมนต์ หรือมีจำนวนกบหนาแน่นเกินไป และอาจจะขาดความเอาใจใส่และไม่เข้าใจในเรื่องความสะอาดของบ่อรวมถึงน้ำที่เลี้ยง โอกาสที่กบจะเป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียจึงมีมากขึ้น

สิ่งสำคัญเกี่ยวกับการป้องกันโรคคือ บ่อเลี้ยงต้องสะอาด มีแสงแดดส่งถึงพื้น น้ำต้องสามารถถ่ายเทได้สะดวกโดยทำท่อน้ำเข้าทางหนึ่ง และทำท่อน้ำระบายออกอีกทางหนึ่ง

และยังสามารถเลี้ยงปลาดุกเพื่อให้ช่วยเก็บกินเศษอาหารและมูลกบ ในอัตรส่วนกบ:ปลาดุก 100:20 นั่นคือปล่อยกบ 100 ตัว แล้วปล่อยปลาดุกไม่เกิน 20 ตัว  การปล่อยกบเลี้ยงในบ่อต้องไม่มีจำนวนมากเกินไป และถ้าพบว่ากบตัวใดมีอาการผิดปกติให้แยกออกมาจากบ่อทันที

กระบวนการ/ขั้นตอน->

 ถ้าจะเลี้ยงจริงจัง ในปริมาณมาก แนะนำให้เลี้ยงในบ่อดิน หรือในบ่อปูน หรือในกระชัง จะสะดวกที่สุด

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครปฐม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา