เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

เลี้ยงกบในกระชัง

โดย : นายบัญชา มาหา ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-03-23-10:33:01

ที่อยู่ : 64 ม.1 ต.เกาะโพธิ์

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เนื่องจากใช้พื้นที่น้อยกว่าเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ เพราะมีความสะดวกในการเปลี่ยนถ่ายน้ำ แต่ยากต่อการควบคุมความสะอาดบ่อและยากต่อการควบคุมโรคกว่าบ่อปูน 
 

วัตถุประสงค์ ->

การเลี้ยงแบบนี้ขั้นตอนในการจัดทำแหล่งเพาะเลี้ยงเกษตรกรส่วนใหญ่จะขุดบ่อดินขนาดประมาณ 35x20 เมตรขึ้นไป มีความลึกประมาณ 80–100 เซนติเมตร ไว้หลาย ๆ บ่อ 

นำกระชังเลี้ยงกบสำเร็จรูป ปัจจุบันมีจำหน่ายในร้านขายวัสดุทางการเกษตรทั่วไป 

โดยกระชังที่นิยมที่สุด คือ ขนาด 3 x 4 เมตร ซึ่งจะใส่กบลงเลี้ยงได้ประมาณ 1,200–2,500 ตัวต่อกระชัง 

จัดทำทางเดินตรงกลางระหว่างกระชังเพื่อสะดวกต่อการให้อาหารและจับกบขาย 

เมื่อเตรียมบ่อ และวางกระชังแล้ว ก็เติมน้ำเข้าบ่อประมาณ 50 เซนติเมตร แล้วนำกระชังขึงด้วยไม้ไผ่ 

และนำแผ่นยางลอยน้ำ รองใต้กระชัง เพื่อให้ลอยเหนือน้ำ 

เป็นพื้นที่แฉะสำหรับกบอยู่อาศัย 

ด้านบนปิดด้วยตาข่ายกันศัตรูกบมากิน และมีสแลนพรางแสง และกันฝน กันกบตกใจ 

ปกติถ้าน้ำดี จะถ่ายน้ำทุก ๆ 7 วัน โดยสังเกตจากกลิ่นของน้ำเป็นสำคัญ คือต้องไม่มีกลิ่นเหม็นมากนัก 

ส่วนน้ำสำหรับใช้เลี้ยงกบในกระชัง หากน้ำเป็นกรด จะใส่ปูนขาว เพื่อปรับสภาพน้ำ 

และตรวจวัดความเป็นกรดด่างของน้ำอีกครั้งหนึ่ง และมีการพักน้ำไว้ก่อนระยะหนึ่ง อย่างน้อย 3 วัน จึงจะนำมา

หากเป็นน้ำจากแหล่งน้ำสาธารณะ ซึ่งคุณภาพของน้ำมักจะไม่สม่ำเสมอ หรืออาจมีการปนเปื้อนสารเคมีที่ใช้ในการเกษตร เกษตรกรจะนำมาพักเก็บกักน้ำไว้ก่อน 

หากเป็นน้ำบาดาลจะผ่านการกรองและพักน้ำไว้ก่อนนำมาใช้เช่นกัน แต่บางที่มีคุณภาพดีก็นำมาใช้เลี้ยงกบรุ่น ๆ ได้เลย 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

หาความรู้เพิ่มเติม หาแนวทางใหม่ๆ ไม่หยุดนิ่ง

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครนายก
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา