เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

การทำสบู่สมุนไพร

โดย : นางสาวนิภา ขุนศรี ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-03-22-11:02:00

ที่อยู่ : 269 หมู่ที่ 7 ตำบลปากพลี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ในหมู่บ้าน ตำบล มีสมุนไพรต่าง ๆ มากมาย เช่น ดอกอันชัญ ใบเตย ใบมะกรูด ฯลฯ ในฐานะที่เป็นสมาชิกสภา อบต. จึงชักชวนคนในหมู่บ้านตำบล ทั้งคนพิการ มาทำสบู่สมุนไพรจำหน่าย เพื่อให้มีรายได้เพิ่ม

วัตถุประสงค์ ->

1. ส่วนประกอบหลัก 
            1.1 ไขมันหรือน้ำมัน ไขมันหรือน้ำมัน ทั้งจากสัตว์และจากพืชหลากหลายชนิด สามารถนำมาเป็นส่วนผสมในการผลิตสบู่ได้ กรดไขมันนี้จะรวมตัวกับสารอื่น อยู่ในรูปของกลีเซอไรด์ เมื่อนำด่างเข้ามาผสมและทำปฏิกิริยากับกรดไขมันจะหลุดออกจากกลีเซอไรด์ มารวมตัวกันเป็นสบู่ สารที่เกาะอยู่กับกรดไขมันก็จะออกมาเป็นกลีเซอรีน น้ำมันแต่ละชนิดก็จะให้สบู่ที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันออกไป กรดไขมันแต่ละชนิดเมื่อรวมตัวกับด่างแล้ว จะให้สบู่ที่มีคุณสมบัติแตกต่างกัน เช่น กรดลอริก (lauric acid) มีมากในน้ำมันมะพร้าว เป็นกรดไขมันที่ทำปฏิกิริยากับด่างแล้วให้สารที่มีฟองมาก เป็นต้น ดังนั้นจึงควรศึกษาคุณสมบัติของสบู่ที่ได้จากไขมันต่างชนิดกัน ดังนี้ ตาราง คุณสมบัติ – อายุการใช้งานของน้ำมันแต่ละชนิด ชื่อน้ำมัน คุณสมบัติ อายุการใช้งาน น้ำมันมะกอก สบู่ที่ได้จะเป็นก้อนแข็ง มีฟองครีมนุ่มนวล มีคุณค่าในการบำรุงผิวมาก มากกว่าสามเดือน น้ำมันงา สบู่ที่ได้จะนิ่ม มีค่าการชำระล้างปากกลาง แต่มีวิตามินอีสูงมาก แต่อาจมีกลิ่นที่บางคนไม่ชอบ มากกว่าสามเดือน น้ำมันมะพร้าว สบู่ที่ได้จะมีก้อนแข็ง มีฟองครีมนุ่มนวลจำนวนมาก แต่ไม่ควรใช้เกิน 30% เพราะมีค่าการชำระล้างสูง อาจทำให้ผิวแห้ง มากกว่าสามเดือน น้ำมันรำข้าว สบู่ที่ได้จะนิ่ม ค่าการชำระล้างปานกลาง แต่มีวิตามินอีมาก เหมาะสำหรับบำรุงผิว มากกว่าสามเดือน น้ำมันถั่วเหลือง สบู่ที่ได้จะนิ่ม ค่าการชำระล้างปานกลาง แต่มีวิตามินอีมาก มีคุณสมบัติช่วยให้ผิวยืดหยุ่นได้ดี เป็นน้ำมันอายุสั้น ทำสบู่แล้วควรใช้ให้หมดภายในสามเดือน น้ำมันเมล็ดทานตะวัน สบู่ที่ได้จะนิ่ม ค่าการชำระล้างปานกลาง มีวิตามินอีมาก เป็นน้ำมันอายุสั้น ทำสบู่แล้วควรใช้ให้หมดภายในสามเดือน น้ำมันปาล์ม สบู่ที่ได้จะเป็นก้อนแข็ง มีฟองปานกลาง ค่าการชำระล้างสูง ควรใช้ไม่เกิน 30% เพราะอาจทำให้ผิวแห้ง มากกว่าหกเดือน ไขมันวัว สบู่ที่ได้จะเป็นก้อนแข็ง มีฟองปานกลาง ค่าการชำระล้างสูง เหมาะสำหรับผสมทำสบู่สำหรับซักล้าง มากกว่าหกเดือน ไขมันหมู สบู่ที่ได้จะมีสีขาวและนิ่ม มีฟองน้อย ค่าการชำระล้างปานกลาง มีคุณสมบัติในการบำรุงผิว มากกว่าสามเดือน 
            1.2  ด่าง ชนิดของด่างที่ใช้ มี 2 ชนิด คือ โซเดียมไฮดรอกไซด์ หรือโซดาไฟ (Sodium hydroxide) ใช้สำหรับทำสบู่ก้อน และ โปแตสเซียม ไฮดรอกไซด์ (Potassium hydroxide) ใช้สำหรับทำสบู่เหลว
            1.3  น้ำ น้ำที่ใช้ทำสบู่ได้ต้องเป็นน้ำอ่อน ถ้าเป็นนำกระด้างจะทำให้สบู่ไม่เกิดฟอง น้ำที่เหมาะในการทำสบู่มากที่สุดคือน้ำฝน ปริมาณน้ำที่ใช้ในการทำปฏิกิริยาเป็นปัจจัยสำคัญ เพราะหากใช้น้ำมากต้องทิ้งไว้หลายวัน สบู่จึงจะแข็งตัว น้ำน้อยเกินไปอาจทำให้ปฏิกิริยาไม่สมบูรณ์ หากใช้ไขมันแต่ละชนิดรวมกันแล้ว 100 กรัม ควรให้น้ำประมาณ 35-38 เปอร์เซ็นต์ หรือเพิ่มตามสัดส่วน 
            1.4  ส่วนผสมเพิ่มเติมในสบู่ ได้แก่ บอแร็กซ์ สารบอแร็กซ์นี้ไม่จำเป็นต้องใช้ก็ได้ แต่สารนี้ช่วยให้สบู่มีสีสันสวยงามและทำให้เกิดฟองมาก น้ำหอม น้ำหอมก็ไม่มีความจำเป็นต้องใช้เช่นกัน แต่ถ้าใช้จะทำให้สบู่    

มีกลิ่นดีขึ้น ถ้าไขมันที่ทำสบู่นั้นเหม็นอับใช้น้ำมะนาวหรือน้ำมะกรูดผสมจะช่วยให้กลิ่นหอมยิ่งขึ้นและไม่เน่า   สารกันหืน การผลิตสบู่ไว้ใช้เอง ซึ่งใช้หมดในระยะเวลาสั้น จำเป็นต้องใส่สารกันหืนเมื่อต้องการเก็บไว้เป็นเวลานาน และสมุนไพร ใช้เพิ่มเติมเพื่อประโยชน์ต่อผิวหนังตามคุณสมบัติของสมุนไพรนั้นๆ 
         วิธีการเติมสมุนไพรลงในสบู่ มี 2 วิธี คือ 
         (1) เติมในระหว่างกระบวนการทำสบู่ วิธีการนี้ ผู้ผลิตควรเติมสมุนไพรหลังจากกวนส่วนผสมของสบู่เสร็จเรียบร้อยแล้ว การเติมควรเติมสมุนไพรก่อนเทสบู่ลงแบบ เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับสมุนไพรประเภทสกัด  เป็นผงแอลกอฮอล์ และสกัดด้วยน้ำมัน 
         (2) ทำสบู่พื้นฐานขึ้นมาก่อน แล้วนำมาหลอมใหม่ หลังจากนั้นจึงเติมสมุนไพรลงไป วิธีนี้เรียกว่า "การทำสบู่สองขั้นตอน" เหมาะสำหรับสมุนไพรที่สกัดด้วยการคั้นหรือการต้ม สัดส่วนการเติมสมุนไพรลงในสบู่ 
         (3) สมุนไพรผง ควรเติมในปริมาณ 1-5% ของน้ำหนักสบู่ 
         (4) สมุนไพรที่สกัดด้วยน้ำต้มหรือน้ำคั้น ควรเติมในปริมาณ 10% ของน้ำหนักสบู่ และต้องลดในส่วนของน้ำที่ใช้ละลายด่างออกในปริมาณที่เท่ากัน 
         (5) สมุนไพรที่สกัดด้วยแอลกอฮอล์ ควรเติมได้ไม่เกิน 10% ของน้ำหนักสบู่ และหักลดในส่วนของน้ำที่ใช้ละลายด่างในปริมาณที่เท่ากัน เช่นเดียวกันกับสมุนไพรที่สกัดด้วยน้ำมัน - สารเพิ่มคุณภาพสบู่ ส่วนใหญ่เติมเพื่อให้ความชุ่มชื้น นั้นก็คือกลีเซอรีน ซึ่งในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่จะแยกเกล็ดสบู่และกลีเซอรีนไว้ ในกรณีนี้ผู้ผลิตสบู่เอง ไม่จำเป็นต้องเติม กลีเซอรีน เพราะมีอยู่แล้วในสบู่ แต่หากต้องการคุณสมบัติเพิ่มขึ้น ก็อาจเติมได้ 5-10% เครื่องมืออุปกรณ์ในการผลิต อาจใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่มาประยุกต์ใช้ได้ทุกชิ้น ยกเว้นในขั้นตอนที่จะต้องสัมผัสกับโซดาไฟ ทุกขั้นตอนภาชนะที่ใช้ต้องหลีกเลี่ยงชนิดที่เป็นโลหะ หรืออลูมิเนียมเพราะอาจเกิดการกัดกร่อนเสียหายทั้งภาชนะและคุณสมบัติบางประการของสบู่ ควรจะใช้ประเภทหม้อเคลือบสแตนเลสหรือแก้วทนไฟแทน 
     2. อุปกรณ์ที่จำเป็นในการทำสบู่สมุนไพร แยกได้ดังนี้ 
         2.1 หม้อสแตนเลส 2 ใบ (ไว้สำหรับตุ๋นน้ำมัน) 
         2.2 เทอร์โมมิเตอร์ 2 อัน (อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส) 
         2.3 ไม้พาย 1 อัน 
         2.4 ทัพพี 1 อัน (สำหรับตักสบู่) 
         2.5 ถ้วยตวงแก้ว 1 ใบ (สำหรับผสมสารละลายโซดาไฟ) 
         2.6 ถาดใส่น้ำ 1 ใบ (สำหรับหล่อที่ใส่สารละลายโซดาไฟให้อุณหภูมิลดลง) 
         2.7 เหยือก 1 ใบ (สำหรับใส่สารสะลายโซดาไฟที่อุ่นลงแล้ว) 
         2.8 แท่งแก้ว (สำหรับกวนโซดาไฟ) 
         2.9 เตาไฟฟ้า หรือเตาแก๊ส 
       2.10 เครื่องชั่ง ขนาด 1-2 กิโลกรัม 
       2.11 ถุงมือ,แว่นตา,เสื้อคลุม,ที่ปิดจมูก 
       2.12 แม่พิมพ์สบู่ ใช้กล่องไม้ หรือ กระดาษแข็งรอด้วยกระดาษไข หรือพลาสติด 
       2.13 อื่น ๆ ผ้าเช็ดมือ , กระดาษทิชชู ,กระดาษหนังสือพิมพ์ใช้แล้ว, กระดาษวัดค่า pH 
     3. วิธีการและเทคนิคการผลิตสบู่ 
         3.1 เตรียมแม่พิมพ์สบู่ 
         3.2 เตรียมเครื่องมือทั้งหมด 
         3.3 ผู้ผลิตใส่เสื้อกันเปื้อน สวมถุงมือ ผ้าปิดปากและจมูก และแว่นตา 
         3.4 ชั่งด่างอย่างระมัดระวัง 
         3.5 ชั่งน้ำที่ใช้ ค่อย ๆ เติมด่างลงในน้ำอย่างช้า ๆ ระวังไม่ให้กระเด็น คนจนละลายหมด วัดอุณหภูมิ ประมาณ 40-50 องศาเซลเซียส 
         3.6 ชั่งไขมันทั้งหมดผสมรวมรวมกัน วางบนเครื่องอังไอน้ำหรือตุ๋น วัดอุณหภูมิประมาณ 40 - 45 องศาเซลเซียส ยกลง 
         3.7 เช็คอุณหภูมิน้ำด่างในข้อ 5 อีกครั้ง 
         3.8 เมื่ออุณหภูมิน้ำด่างและไขมันใกล้เคียงกัน ค่อยเทน้ำด่างลงในไขมัน คนเบา ๆ เมื่อเทน้ำด่างหมด ให้คนแรง ๆ ควรคน 15 นาที พัก 5 นาที จนกระทั่งเนื้อของเหลวเป็นสีขุ่นจนหมด เทลงแบบพิมพ์ 
         3.9 ทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ แกะออกจากพิมพ์ ตัดเป็นก้อน 
       3.10 ตรวจสอบ pH บริเวณผิวสบู่ และเนื้อในสบู่บริเวณต่ำกว่าผิวประมาณ 2 มิลลิเมตร ถ้ามีค่า pH อยู่ระหว่าง 8 - 10 สามารถนำไปใช้ได้ หากมีค่าเกิน 10 เฉพาะที่บริเวณผิว ให้ตัดเฉพาะผิวนอกทิ้ง หากเนื้อในและผิวมีค่า pH เกิน 10 ทั้งสองบริเวณ แสดงว่าสบู่นั้นมีปริมาณด่างเกินกำหนด ไม่ควรนำไปใช้ เพราะอาจเกิดอันตรายทำให้ผิวเหี่ยว ซีด หรือคัน เมื่อสัมผัส 
       3.11 ห่อกระดาษ หรือบรรจุภาชนะนำออกจำหน่าย

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

(1) บอกเทคนิคที่ทำให้เกิดความสำเร็จในการทำงาน

              มี อย./ มผช. รับรองผลิตภัณฑ์ ลองใช้ให้ดูเป็นตัวอย่าง

        (2) ข้อสังเกตที่พบระหว่างปฏิบัติการตามขั้นตอน

              ขั้นตอนการทำยุ่งยากซับซ้อน

        (3) ข้อควรระวังเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด ฯ

             1. เพื่อความปลอดภัยของผู้ผลิต ควรสวมถุงมือยาง รองเท้า กางเกงขายาว เสื้อแขนยาว ใส่ผ้าปิดปาก ปิดจมูก และแว่นตา ขณะที่ทำการผลิตสบู่ 
             2. อุปกรณ์ทุกชนิดที่ใช้ ห้ามใช้วัสดุ อะลูมิเนียม ดีบุก สังกะสี หรือโลหะอื่น ๆ นอกจากที่แนะนำ เพราะโลหะเหล่านี้ จะทำปฏิกิริยากับโซดาไฟ เป็นอันตรายแก่ผู้ผลิตหรือผู้ใช้ 
             3. เลือกใช้เครื่องชั่งที่เหมาะสม เช่น ชั่งของระหว่าง 1 - 3 กก. ให้ใช้เครื่องชั่งที่รับน้ำหนักได้สูงสุด 3 กก. กรณีที่ชั่งวัตถุต่ำกว่า 1 กก. ให้ใช้เครื่องชั่งที่รับน้ำหนักได้สูงสุด 1 กก. การผลิตสบู่ก้อน ให้ชั่งส่วนผสมทั้งหมดอย่างระมัดระวัง และตรวจสอบความแม่นยำของเครื่องชั่งสม่ำเสมอ 
             4. การใช้เทอร์โมมิเตอร์อันเดียววัดทั้งอุณหภูมิของน้ำด่าง และไขมันนั้น ต้องล้างน้ำและเช็ดให้สะอาดทุกครั้งที่จะเปลี่ยนชนิดการวัด 
             5. สถานที่ผลิตควรมีอ่างน้ำ หรือถังใส่น้ำสะอาดประมาณ 10 ลิตร เพื่อใช้กรณีฉุกเฉิน เช่น น้ำด่างกระเด็นถูกผิวหนัง 
             6. ห้ามเด็กเล็ก อายุต่ำกว่า 12 ปี และสัตว์เลี้ยง เข้าใกล้บริเวณที่ผลิต รวมถึงการให้ความรู้ ฯ

 

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครนายก
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา