เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การทำปุ๋ยหมักชีวภาพผสมเชื้อไตรโคเดอร์ม่า

โดย : นายสุทัศน์ จันทมา ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-03-19-19:28:48

ที่อยู่ : 73 หมู่ที่ 8 ตำบลแม่ก๊า

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การประกอบอาชีพสวนลำไย ประสบปัญหาขาดทุน รายได้ไม่คุ้มกับทุนที่ลงไป เนื่องจากการทำเกษตรเคมี ต้องเสียค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนการผลิตสูง เสี่ยงต่อการเป็นโรคจากสารเคมีตกค้าง จึงหาวิธีลดต้นทุนโดยการทำเกษตรอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพผสมเชื้อไตรโคเดอร์มา ทำให้ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิตลำไย มีรายได้จากการขายลำไยมากขึ้น

วัตถุประสงค์ ->

ขั้นตอนการทำปุ๋ยหมักผสมเชื้อไตรโคเดอร์ม่า

1.      นำเศษพืชและมูลสัตว์ผสมกันโดยกองเป็นชั้นๆ ในอัตราส่วน 100:10 ส่วน รดน้ำใช้ชุ่มกดให้แน่น ให้น้ำซึมไปยังเศษพืช

2.      ทำการเรียงสลับจนได้กองสูงประมาณ 1 เมตร แล้วโรยด้วยดินหนาประมาณ 1 นิ้ว ที่ชั้นบนสุด เพื่อป้องกันนกมาคุ้ยเขี่ย ช่วยป้องกันความร้อน และรักษาความชื้นของกองปุ๋ยให้คงที่

3.      หมักทิ้งไว้ประมาณ 5-7 เดือน

4.      เตรียมเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดที่เลี้ยงบนปลายข้าวอายุ 6 - 7 วัน 1กิโลกรัม และปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกเก่า ๆ 100 กิโลกรัม หรือเตรียมปริมาณมากกว่านี้โดยใช้สัดส่วน 1:4:100 โดยน้ำหนัก

5.      นำส่วนผสมของเชื้อสดและรำข้าวละเอียด (5 กิโลกรัม) ผสมกับปุ๋ยอินทรีย์ (100 กิโลกรัม) คลุกเคล้าให้เข้ากันอย่างทั่วถึง อาจพรมน้ำให้พอชื้น เพื่อลดการฟุ้งกระจายแบ่งส่วนผสมใส่ภาชนะนำไปใช้หว่านหรือโรยลงบนแปลงปลูกพืช โคนต้นพืชหรือผสมกับดินในหลุมปลูกพืช    

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

-มีความขยัน อดทน ต่อสู้กับปัญหาอุปสรรคต่างๆ

          -หมั่นหาความรู้เพิ่มเติมและมีการแบ่งปันถ่ายทอดความรู้แลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อนบ้าน

          -หาวิธีลดต้นทุนการผลิตและหาวิธีการเพิ่มผลผลิต โดยการใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ หรือปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากการนำวัตถุเหลือใช้ในท้องถิ่นมาผลิต และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับสิ่งแวดล้อมและการใช้ปุ๋ยเคมี

          -ความเอาใจใส่ของเจ้าหน้าที่ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุนทั้งทางด้านการผลิต และด้านการตลาด

อุปกรณ์ ->

-

กระบวนการ/ขั้นตอน->

เทคนิค

หลักพิจารณาปุ๋ยหมักพร้อมใช้
1. ปุ๋ยหมักจะมีสีน้ำตาลเข้มถึงดำ
2. อุณหภูมิทั่วกองปุ๋ยหมักมีค่าใกล้เคียงกัน เนื่องจากเกิดปฏิกิริยาการหมักเกือบหมดแล้ว
3. หากใช้นิ้วมือบี้ ก้อนปุ๋ยหมักจะแตกยุ่ยออกจากกันง่าย
4. พบเห็ด เส้นใยรา หรือ พืชอื่นขึ้น
5. กลิ่นของกองปุ๋ยหมักจะมีกลิ่นฉุนที่เกิดจากการหมัก

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเชียงใหม่
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา