เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การทำปุ๋ยหมักจากเศษพืช

โดย : นายบุญทวี สุทธะพรหมพิงค์ ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-03-19-19:29:40

ที่อยู่ : 65/1 หมู่ที่ 9 ตำบลแม่ก๊า

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

นายบุญทวี  สุทธพรหมพิงค์ ภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่ตำบลแม่ก๊า อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นผู้ใหญ่บ้านแม่ของกลาง หมู่ที่ ๙ ตำบล แม่ก๊า อำเภอสันป่าตอง และประกอบอาชีพทำสวนลำไย ในระยะเริ่มต้นการทำสวนลำไยจะทำตามที่บรรพบุรุษบอกสอนกันมา และการขายผลผลิตก็ขายเช่นเดียวกับเพื่อนบ้าน ในพื้นที่ตำบลแม่ก๊า ซึ่งจะประสบกับปัญหาด้านการตลาดและไม่คุ้มทุนมาโดยตลอด

ในปี 25๕4  เกิดแนวคิดที่จะผลิตลำไยให้มีคุณภาพ เพื่อให้ผู้บริโภคได้บริโภคลำไยที่มีคุณภาพปลอดภัยจากสารพิษตกค้างและต้องการแก้ไขปัญหาด้านราคาผลผลิตตกต่ำในช่วงผลผลิตกระจุกตัว ต้องการจะพัฒนาผลผลิตเพื่อการส่งออกในอนาคต จึงได้ทำการศึกษาวิธีการผลิตลำไยให้ได้คุณภาพตามความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศจากปุ๋ยหมักจากธรรมชาติ โดยได้เข้ารับการฝึกอบรมจากนักวิชาการของหน่วยงานราชการและเอกชนทุกครั้งที่มี

วัตถุประสงค์ ->

การทำปุ๋ยหมักจากกิ่งไม้ใบไม้

ขั้นตอนการทำปุ๋ยหมักอย่างง่าย

๑)นำใบไม้ที่ย่อยแล้วมาเทใส่ในถังตาข่าย สูงประมาณ 15 เซนติเมตร

๒)นำขี้วัวมาเททับใบไม้ที่ย่อยแล้ว สูงประมาณ 5 เซนติเมตร

๓)รดน้ำในให้ชุ่ม (น้ำประมาณ 5 ลิตร)

๔)ทำซ้ำข้อ 1-3 อีก 3 ครั้ง จะได้กองปุ๋ยหมักสูงประมาณ 80 เซนติเมตร

๕)นำใบไม้ที่ย่อยแล้วมาเททับขี้วัว สูงประมาณ 5 เซนติเมตร

๖)รดน้ำในให้ชุ่ม (น้ำประมาณ 5 ลิตร)

๗)นำพลาสติกใสมาพันรอบถังตาข่าย โดยให้พันสูงจากขอบล่างของถังตาข่าย ประมาณ 10 เซนติเมตร (ถ้าไม่มีพลาสติกก็ไม่ต้องนำมาพันรอบถังก็ได้แต่ต้องพยายามรดน้ำรอบถังตาข่ายเพื่อเพิ่มความชื้นให้แก่กองปุ๋ยอย่าปล่อยให้แห้ง)

๘)รดน้ำทุก ๆ 5-7 วัน(ให้ใช้ไม้หรือเหล็กแทงเข้าไปในกองปุ๋ยให้เป็นรู เพื่อที่จะกรอกน้ำลงไปเนื่องจากเมื่อปุ๋ยยุบตัวลงจะมีความแน่นมากขึ้นการรดน้ำจะทำให้น้ำซึมลงไปเฉพาะด้านบนของกองปุ๋ย ส่วนด้านล่างกองปุ๋ยจะไม่ได้รับน้ำ)

๙)ใบไม้จะกลายเป็นปุ๋ยหมัก ในช่วงเวลาประมาณ 45-60 วัน (สังเกตกองปุ๋ยหมักจะยุบตัวลงประมาณ 30-40 เซนติเมตร และปุ๋ยหมักจะมีสีดำถ้าขุดลงไปจะไม่พบใบไม้แต่ใบไม้จะกลายเป็นปุ๋ยหมดแล้ว)ปุ๋ยหมักสามารถนำไปใช้ได้เลย

๑๐)ถ้าต้องการนำไปบรรจุถุง ต้องล้มกองปุ๋ยหมักแล้วตากแดดประมาณ 2-3 วันก็จะได้ปุ๋ยที่แห้งสามารถบรรจุถุงได้แต่ถ้าปุ๋ยหมักยังมีขนาดใหญ่อยู่ก็นำไปบดย่อยก่อนบรรจุลงถุงก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการใช้งาน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

-มีความขยัน อดทน ต่อสู้กับปัญหาอุปสรรคต่างๆ

            -หมั่นหาความรู้เพิ่มเติมและมีการแบ่งปันถ่ายทอดความรู้แลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อนบ้าน

            -หาวิธีลดต้นทุนการผลิตและหาวิธีการเพิ่มผลผลิต โดยการใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ หรือปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากการนำวัตถุเหลือใช้ในท้องถิ่นมาผลิต และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับสิ่งแวดล้อมและการใช้ปุ๋ยเคมี

            -ความเอาใจใส่ของเจ้าหน้าที่ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุนทั้งทางด้านการผลิต และด้านการตลาด

อุปกรณ์ ->

-

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ควรเลือกมูลสัตว์ที่เลี้ยงโดยธรรมชาติ จะได้ปุ๋ยที่ปลอดจากสารเคมี๋

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเชียงใหม่
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา