เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การทำปุ๋ยบำรุงดิน

โดย : นายชำนาญ ปันใหม่ ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-03-19-18:20:32

ที่อยู่ : 159 ม.5 ต.มะขุนหวาน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปัจจุบันประกอบอาชีพทำสวนลำไยต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ยบำรุงดิน ทำให้มีต้นทุนการผลิตสูง จึงมีแนวคิดการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เองเพื่อลดต้นทุนการผลิต

วัตถุประสงค์ ->

การเตรียมโรงเรือนสำหรับเลี้ยงไส้เดือนดิน ต้องมีหลังคากันฝนและพรางแสงเนื่องจากไส้เดือนดินไม่ชอบแสงสว่าง ในบริเวณบ่อเลี้ยงต้องมีตาข่ายปิดด้านบน หรือใช้ตาข่ายกั้นบริเวณด้านข้างรอบโรงเรือนเพื่อป้องกันศัตรูของไส้เดือนบ่อเลี้ยงไส้เดือนกว้างประมาณ 1 เมตรความยาวแล้วแต่ต้องการ และมีความลึกไม่เกิน 0.5 เมตรปัจจุบันประกอบอาชีพทำสวนลำไยต้องมีค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ยบำรุง  ทำให้ประสบปัญญาต้นทุนการผลิตสูงจึงมีแนวความคิดทำปุ๋ยจากมูลไส้เดือนเพื่อลดต้นทุนการผลิต

จะใช้เป็นบ่อเลี้ยงที่ใช้ผลิตปุ๋ยหมัก มูลไส้เดือนดินจากวัสดุอินทรีย์ได้ดี และสะดวกในการจัดการ

บ่อเก็บน้ำหมักมูลไส้เดือนดิน ควรก่อสร้างบริเวณด้านนข้างโรงเรือนหรือด้านหลังโรงเรือนให้น้ำหมักจากบ่อเลี้ยงไส้เดือนไหลเข้าไปเก็บน้ำหมักได้ง่าย ขนาดของบ่อเก็บน้ำหมักจะมีขนาดเล็กกว่าบ่อเลี้ยงไส้เดือนตามความเหมาะสมของปริมาณ น้ำหมัก

การเตรียมวัสดุรองพื้นเพื่อเป็นที่อาศัยของไส้เดือนดิน

ที่อยู่ของไส้เดือนนั้น จะใช้ฟางแห้ง จำนวน 1 กระสอบ + ขี้เลื่อย จำนวน 2 ปี๊บ คนให้เข้ากัน ใช้นำรดไปเรื่อยๆ จนกระทั่งส่วนผสมติดกันปั้นเป็นก้อนได้ คลุมทับด้วยกระสอบป่านหรือผ้าสแลนสีดำ ทิ้งบ่อไว้ 7 วัน จึงปล่อย ไส้เดือนลงเลี้ยง การเริ่มต้นเลี้งไส้เดือนในระยะเตรียมการจึงควรมีปริมาณไส้เดือนอย่างน้อย 1 กิโลกรัมต่อพื่นที่ 1 ตารางเมตร ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 4-6 สัปดาห์ ก็จะทำให้ปริมาณไส้เดือนเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว และทวีจำนวนมากขึ้นตามสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

การให้อาหาร ที่เป็นเศษอินทรีวัตถุกับไส้เดือนในบ่อเลี้ยง นำขยะสดจากชุมชนมาแยกวัสดุที่ไม่ยอมสลายเช่น ถุงพลาสติกต่างๆ ออก ปริมาณขยะสดที่ควรเตรียมให้ไส้เดือน ควรจะมีการเตรียมหมักไห้เริ่มบุดเสียก่อน นำมาใส่ในบ่อเลี้ยงไส้เดือนความหนาไม่เกิน 0.5 เซนติเมตร เนื่องจากถ้าหน้ามากกว่านี้ จะทำให้เกิดความร้อนโดยให้สัปดาห์ละ 2 ครั้ง

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ความขยันและเอาใจใส่ในการดูแล

อุปกรณ์ ->

ปัญหาและการจัดการโรงเรือนเลี้ยงไส้เดือนดิน
    ความร้อน จัดการโดยควบคุมความหนาของขยะที่ให้
    กลิ่น การจัดการสามารถใช้น้ำหมักมูลไส้เดือนในบ่อ หรือใช้กากน้ำตาลรดก็สามารถกำจัดกลิ่นได้
    บ่อเลี้ยงมีสภาพเป็นกรด แก้ไขได้โดยการใช้ปูนขาวโรยบางๆ บริเวณผิวดิน และรดน้ำตามเดือนละครั้ง
    แมลงศัตรูของไส้เดือนดิน เช่น เป็ด ไก่ นก กบ หนู งู

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ควรมีการฝึกความชำนาญในการทำจากการถ่ายทอดเป็นวิทยากร

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเชียงใหม่
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา