เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

เทคนิคการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชนบ้านเมืองขอน หมู่ที่ 1 ต.ป่าไผ่ อ.สันทราย

โดย : นางจันทรรัตน์ ขีรี ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-17-12:00:25

ที่อยู่ : 1 หมู่ 1 บ้านเมืองขอน ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

     โดยพื้นเพเป็นคนบ้านเมืองขอน หมู่ที่ 1 ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ และได้ประกอบอาชีพ คือ การนวดแผนไทย ซึ่งได้เรียนรู้มาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก ได้เห็นพ่อกับแม่เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าและมีอาการปวดเมื่อยจากการทำงานเพื่อหาเลี้ยงเรา จึงอยากตอบแทนคุณท่านด้วยการบีบนวดให้คลายความปวดเมื่อย กอปรกับได้มีญาติที่มีประสบการณ์ได้สอนวิธีการนวดผ่อนคลายเบื้องต้นให้  ซึ่งการนวดแผน โบรานเป็นวิชาแพทย์แผนไทยแขนงหนึ่ง ที่รักษาอาการปวดเมื่อยตามร่างกายได้เป็นอย่างดี  ในปี พ.ศ.2540 จึงได้ไปฝึกอบรมและศึกษาการนวดแผนโบราณจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ได้เรียนรู้และศึกษาวิธีการที่จำเป็นด้านสรีรวิทยาร่างการของมนุษย์ระบบต่าง ๆ ของร่างกาย  เราจะต้องรู้ว่าร่างกายทำงานอย่างไร ระบบร่างกายที่ประกอบไปด้วยอวัยวะต่าง ๆ นั้น มีหน้าที่อะไร และมีความสัมพันธ์กันอย่างไร มีข้อจำกัดอะไรบ้าง การเรียนรู้สรีรวิทยาจะช่วยให้เราเข้าใจการทำงานของร่างกาย รู้ว่าระบบแต่ละระบบนั้นสัมพันธ์กับการนวดอย่างไร และการนวดมีผลต่อร่างกายได้อย่างไรบ้าง  เมื่ออบรมจนครบตามระยะเวลาที่กำหนด จึงได้รับใบประกาศจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงานกระทรวงแรงงาน จำนวน 180 ชั่วโมง  พร้อมกับได้ถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้ที่สนใจการนวดแผนไทยนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา  นอกจากนั้นได้เรียนรู้วิธีการทำลูกประคบสมุนไพร โดยการนำสมุนไพรที่มีอยู่ในพื้นที่ท้องถิ่น มาใช้ประกอบในการนวดแผนไทยนี้ด้วย

    

ในปี พ.ศ.2556 บ้านเมืองขอน หมู่ที่ 1 ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับการคัดเลือกให้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากหลาย ๆ ภาคส่วน มีการพัฒนาจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ชุมชนและสถานีเรียนรู้ต้นแบบ ในปี พ.ศ.2558 โดยการนำของผู้ใหญ่บ้านเมืองขอน นางพวงเพชร บุญชุ่มใจ /คณะกรรมการหมู่บ้าน และคนในชุมชนได้ให้ความสนใจ พร้อมกับได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอสันทราย เข้ามาจัดเวทีประชาคมเพื่อให้คนในชุมชนได้มีส่วนร่วมเสนอสถานีเรียนรู้ภายในหมู่บ้าน ที่มีกิจกรรมเด่น สามารถเป็นแหล่งศึกษาดูงานได้ จึงได้จุดเรียนรู้จำนวน   10 จุด และการทำลูกประคบสมุนไพร ได้รับคัดเลือกให้เป็นจุดเรียนรู้ในหมู่บ้านด้วย ซึ่งจุดเรียนรู้จำนวน 10 จุด    มีดังนี้

                   (1) การทำไม้กวาดทางมะพร้าว              (2) ข้าวแต๋นน้ำแตงโม    

                    (3) การทำลูกประคบสมุนไพร               (4) ถั่วหมักอัดแผ่น                 

                   (5) ตุง/โคม                                    (6) หมอดินอาสา

                    (7) ผลไม้แปรรูป                              (8) ปุ๋ยหมักไส้มูลเดือนดิน

                    (9) แหนมหมู (จิ้นส้มหมู)                     (10) การทำเส้นขนมจีน

         และในปีงบประมาณ 2559 บ้านเมืองขอน หมู่ที่ 1 ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ได้พัฒนาและขับเคลื่อนศูนย์เรียนรู้ชุมชนต่อยอดให้เป็นศูนย์ฝึกสัมมาชีพเศรษฐกิจพอเพียงบ้านเมืองขอน ซึ่งเป็น 1 ใน 6 ศูนย์ฝึกสัมมาชีพฯ ของจังหวัดเชียงใหม่ ได้ทำพิธีเปิดศูนย์ฝึกสัมมาชีพอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่     16 มีนาคม 2559 มีกิจกรรมสาธิตเด่น จำนวน 6 ฐาน คือ

 

                             (1) การสาธิตทำข้าวแต๋น           ปราชญ์สัมมาชีพ นางเพ็ญสิริ       นามคำดำรง

                   (2) การสาธิตทำตุง                  ปราชญ์สัมมาชีพ นางกรรณิการ์    คำเป็ง

                   (3) การสาธิตผลไม้แปรรูป           ปราชญ์สัมมาชีพ นางผ่องศรี        วิริยา

                   (4) การสาธิตทำแหนมหมู           ปราชญ์สัมมาชีพ นางยุพิน          ชำนาญ

                   (5) การสาธิตเลี้ยงไส้เดือนดิน       ปราชญ์สัมมาชีพ นายสุเทพ         วิริยา

                   (6) การสาธิตทำลูกประคบสมุนไพร   ปราชญ์สัมมาชีพ นางจันทรรัตน์    ขีรี

           ต่อมาได้รับการคัดเลือกให้เป็นปราชญ์สัมมาชีพเศรษฐกิจพอเพียงบ้านเมืองขอน ด้านการทำ       ลูกประคบสมุนไพร มีการเข้ามาศึกษาดูงานจากผู้ที่สนใจโดยได้ถ่ายทอดความรู้และให้ผู้ที่เข้ามาศึกษาดูงานได้ฝึกปฏิบัติจริง  ทั้งนี้ ยังได้รับการอบรมจากสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ และศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนจังหวัดลำปาง เพื่อเพิ่มความรู้ทักษะด้านการถ่ายทอดการเป็นวิทยากร กลับมาสร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนเพิ่มเติมอีก 4 คน พร้อมกับขยายผลในการฝึกอาชีพอีก 20 ครัวเรือน  เพื่อฝึกปฏิบัติอาชีพให้สามารถรวมกลุ่มจัดตั้งกลุ่มอาชีพเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนได้

วัตถุประสงค์ ->

โดยมีกระบวนการและขั้นตอน ดังนี้

กระบวนการ

1. การฝึกอบรมเพิ่มทักษะปราชญ์สัมมาชีพ

2. สร้างทีมวิทยากรเพิ่มเติมอีก จำนวน 4 คน

3. ฝึกปฏิบัติภายในครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ

4. การสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนและให้ความรู้การจัดตั้งกลุ่มอาชีพ

ผลผลิต

-ปราชญ์สัมมาชีพ จำนวน 1 คน

-ทีมวิทยากร จำนวน 4 คน

-ครัวเรือนขยายผล จำนวน 20 ครัวเรือน

-กลุ่มอาชีพ จำนวน 1 กลุ่ม

ผลลัพธ์

-ปราชญ์สัมมาชีพมีความรู้และทักษะที่จำเป็นต่อการสร้างทีมวิทยากร

1.น.ส.สุนันทา เรือนพันธ์  ความเชี่ยวชาญด้านการแปรรูป(ลูกประคบสมุนไพร)

2.นางบัวเงา ทิปนี  ความเชี่ยวชาญด้านการแปรรูป (แหนมหมู)

3.นายประชัน จันทร์อินทร์ ความเชี่ยวชาญด้านการแปรรูป (ขนมทองม้วน)

4.นายคำมาย แสนวันดี ความเชี่ยวชาญด้านการแปรรูป (ข้าวแต๋นน้ำแตงโม)

-ครัวเรือนเป้าหมาย จำนวน 20 ครัวเรือน ได้ฝึกปฏิบัติอาชีพ

-กลุ่มอาชีพลูกประคบสมุนไพร จำนวน 1 กลุ่ม มีผลิตภัณฑ์ชุมชนที่สร้างรายได้ และสามารถขึ้นทะเบียน OTOP ได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

        1. คน  ได้แก่ ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน และครัวเรือนเป้าหมาย 20

ครัวเรือนโดยให้ความสำคัญและมีการประชุมทีมวิทยากรเพื่อวางแผนการดำเนินการและปฏิบัติการตามแผน รวมถึงการคัดเลือกครัวเรือนครัวเรือนเป้าหมาย เพื่อเข้ารับการฝึกอบรมและจัดทำฐานข้อมูลครัวเรือนสัมมาชีพ 20 ครัวเรือน

             2. งบประมาณ ได้แก่ งบประมาณที่สนับสนุนการฝึกอาชีพ โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสันทราย โดยมุ่งเน้นให้เกิดการรวมกลุ่มมีการบริหารจัดการเงินทุนชุมชนประกอบอาชีพเพื่อให้ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนรวมกลุ่ม สามารถประกอบอาชีพได้อย่างต่อเนื่อง

             3. วัสดุอุปกรณ์ ได้แก่ วัสดุอุปกรณ์ฝึกอาชีพเพื่อดำเนินการสนับสนุนการฝึกอาชีพ ให้ครัวเรือนเป้าหมายนำไปฝึกอาชีพได้จริง

             4. การบริหารจัดการ ได้แก่ กระบวนการจัดการกลุ่ม โดยการจัดตั้งกลุ่มอาชีพ กำหนดบทบาทหน้าที่ของการบริหารจัดการกลุ่มอย่างชัดเจน มีคณะกรรมการกลุ่มและระเบียบของกลุ่มเป็นแนวทางในการทำงานที่สมาชิกกลุ่มต้องยึดถือและปฏิบัติร่วมกัน

             ปัจจัยทั้ง 4 ด้าน เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสำเร็จในการดำเนินงานตามโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน สร้างอาชีพและรายได้ให้แก่ชุมชน

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

    1. การเตรียมความพร้อมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน และครัวเรือนเป้าหมาย ซึ่งดำเนินการ 5 วัน ระยะเวลาในการจัดกิจกรรมค่อนข้างนาน การนัดหมายเพื่อดำเนินกิจกรรมจึงต้องปรับให้เหมาะสมตามสถานการณ์

             2. โครงการ/กิจกรรม ขาดความต่อเนื่อง ด้วยข้อจำกัดทางด้านระยะเวลา และความพร้อมของครัวเรือนเป้าหมาย

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเชียงใหม่
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา