เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การส่งเสริมสัมมาชีพชุมชนสร้างระบบเศรษฐกิจชุมชน

โดย : นางเพ็ญศิริ หวันน้อย ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-08-06-19:33:33

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเชียงดาว

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

“สัมมาชีพ” หมายถึง การทำมาหากินโดยไม่ได้เอากำไรสูงสุดเป็นตัวตั้ง หรือเป็นเป้าหมายสุดท้าย และต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมทางสังคม กล่าวคือ ความสุขของตนเองและคนทำงานรวมถึงประโยชน์ของผู้บริโภคและผู้รับบริการหลักโดยไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่ง นพ. ประเวศ วะสี ได้ให้ความหมายสั้น ๆ และกระชับว่า หมายถึง “อาชีพที่ไม่เบียดเบียนตนเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อมและมีรายจ่ายน้อยกว่ารายได้” และหากนำมารวมกับคำว่า “ชุมชน” เป็น “สัมมาชีพชุมชน” จึงหมายถึง “ชุมชนที่มีการประกอบอาชีพโดยชอบซึ่งมีรายได้มากกว่ารายจ่าย โดยลดการเบียดเบียนตนเอง ผู้อื่น และสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ต้องมีความสอดคล้องกับวิถีของชุมชนเพื่อความมุ่งหมายในการสร้างระบบเศรษฐกิจชุมชน”

          จากความหมายขอฃ “สัมมาชีพ” และ “สัมมาชีพชุมชน” ดังกล่าว พัฒนากรจึงได้ศึกษาทำความเข้าใจกระบวนการดำเนินงานโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชนตามแนวทางของกรมการพัฒนาชุมชน และขับเคลื่อนงานสร้างสัมมาชีพชุมชนครบทุกขั้นตอน กระบวนการ ในพื้นที่เป้าหมาย ๕ หมู่บ้าน  โดยมุ่งหวังเพื่อให้ครัวเรือนสัมมาชีพต้นแบบชุมชนละ ๒๐ ครัวเรือนมีอาชีพและรายได้สามารถเลี้ยงตนเองได้ และส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจของชุมชนมั่งคั่ง ยั่งยืน ตลอดไป

วัตถุประสงค์ ->

- กระบวนการ/วิธีการ/เทคนิค/ข้อพึงระวังในการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนางาน

          ในการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชนสร้างระบบเศรษฐกิจชุมชน การมีส่วนร่วมของประชาชนตามวิถีประชาธิปไตยเป็นกระบวนการที่ดีที่สุด การสานพลังความร่วมมือของทีมวิทยากรปราชญ์สัมมาชีพ และประชาชนในการขับเคลื่อน โดยมีพัฒนากรให้คำปรึกษาแนะนำด้านวิชาการ และส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งกระบวนการเรียนรู้ที่สำคัญคือ การเรียนรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่องผ่านการปฏิบัติ กระบวนการนี้จะทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนวิธีคิด วิธีปฏิบัติสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกันของคนในชุมชนและภาครัฐ  เริ่มต้นจากการร่วมกันวิเคราะห์ศักยภาพในการประกอบอาชีพของคน ในชุมชน บนฐานข้อมูลชุมชน ความรู้สัมมาชีพ(ปราชญ์) และความต้องการของคนในชุมชน มาพัฒนาการประกอบอาชีพต่าง ๆ โดยใช้วัตถุดิบ และทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่ เพื่อให้มีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด ทั้งในรูปแบบของการผลิต การแปรรูป และการเข้าสู่กระบวนการของกลุ่ม/องค์กรชุมชน และการสร้างผลิตภัณฑ์ของชุมชน

 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

การส่งเสริมสัมมาชีพชุมชนสร้างระบบเศรษฐกิจชุมชน ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมตามวิถีประชาธิปไตย มีปัจจัยภายในชุมชนที่เกี่ยวข้อง ๓ ประการ คือ

          ๑)  ผู้นำวิทยากรปราชญ์สัมมาชีพ และทีมปราชญ์สัมมาชีพ ที่สานพลังร่วมกัน

          ๒)  ข้อมูลที่คนในชุมชนร่วมกันวิเคราะห์ และแปลงเป็นแผนพัฒนา

          ๓)  คนในชุมชนที่ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมเรียนรู้ และ ร่วมรับผลประโยชน์

          ยกตัวอย่าง บ้านสบคาบ หมู่ที่ ๖ ตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ที่ครัวเรือนสัมมาชีพ ได้รวมกลุ่มสัมมาชีพด้านการขยายพันธุ์มะม่วง ด้วยการตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และการเสียบยอด โดยมีการขยายครัวเรือนสัมมาชีพเพิ่มจากเดิม ๒๐ ครัวเรือน ไปสู่กลุ่มสตรี กลุ่มผู้สูงอายุ และชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) สามารถร่วมกันผลิตกิ่งพันธุ์มะม่วง โดยมีต้นทุนการผลิตต้นตออยู่ที่ต้นละ ๓ บาทราคาขายต้นละ ๑๐ บาท  กิ่งตอนหรือกิ่งที่ทำการเสียบยอดต้นทุนกิ่งละ ๕-๖ บาท ราคาขายเริ่มต้นกิ่งละ ๑๕ บาท มะม่วงบางพันธุ์ขายได้ราคา ๒๐-๒๕ บาท  ปัจจุบันสัมมาชีพชุมชนบ้านสบคาบมีกิ่งพันธุ์มะม่วงที่สมบูรณ์พร้อมจำหน่าย มากกว่า ๑๐,๐๐๐ กิ่ง

อุปกรณ์ ->

การจะส่งเสริมสัมมาชีพให้แก่ครัวเรือน/ชุมชน และพัฒนาเป็นกลุ่มอาชีพ นั้น จะต้องส่งเสริมในสิ่งที่เป็นความต้องการของครัวเรือนและชุมชน รวมถึงความต้องการของตลาดด้วย

กระบวนการ/ขั้นตอน->

สัมมาชีพชุมชน จะสามารถสร้างระบบเศรษฐกิจของชุมชนให้มั่งคั่ง ยั่งยืน ต้องส่งเสริมการขยายสัมมาชีพให้เต็มพื้นที่ ยิ่งมีสัมมาชีพมากเท่าใด เศรษฐกิจก็จะดีขึ้น เครื่องมือที่สำคัญในการขยายสัมมาชีพเพื่อสร้างระบบเศรษฐกิจคือ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การมีสัมมาชีพ พอกินพอใช้ ทำให้ภูมิใจในตัวเอง มีศักดิ์ศรี ทำให้ไม่อยากทำสิ่งที่ไม่ดี และการมีสัมมาชีพกันถ้วนหน้าเต็มพื้นที่ ทำให้ไม่เบียดเบียนกัน ชีวิตก็มีความสงบสุข ชุมชนเกิดความร่มเย็น

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเชียงใหม่
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา