เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

ความสำเร็จของการจัดตั้งกลุ่มแม่บ้านสัมมาชีพชุมชนบ้านอรุโณทัย หมู่ที่ ๑๐ ตำบลเมืองนะ อ.เชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

โดย : นางนิตยา ธีรวัชโรภาส ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-08-06-19:14:22

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเชียงดาว

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

กลุ่มสตรีบ้านอรุโณทัย หมู่ที่  ๑๐  ต.เมืองนะ  อ.เชียงดาว  จ.เชียงใหม่  ซึ่งมีประชากรในหมู่บ้านเป็นคนไทยเชื้อสายจีนเกิน  ๙๐  เปอร์เซ็นต์ มีความรู้และชำนาญเกี่ยวกับการดื่มชาและการผลิตชา  รวมทั้งการค้าขายและยึดหลักการพึ่งตนเอง ดำเนินชีวิตอย่างพอดี ประหยัด ไม่ฟุ่มเฟือย รู้จักตนเอง ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์คือ      มีความสุขที่แท้ ไม่รู้สึกขาดแคลน จนต้องเบียดเบียนตนเอง หรือการดำเนินชีวิตอย่างเกินพอดี จนต้องเบียดเบียนผู้อื่น หรือเบียดเบียนสิ่งแวดล้อม หัวใจสำคัญของวิถีชีวิตของคนในบ้านอรุโณทัย คือ การดำเนินชีวิตแบบพอเพียง พออยู่ พอกิน พอใช้ ประหยัด ประกอบอาชีพด้วยความถูกต้องและสุจริตกิจกรรม  ชาวบ้านบางส่วนในหมู่บ้านประกอบอาชีพทำสวนมะม่วงและในสวนมะม่วงก็จะมีต้นมะระขี้นกขึ้นเป็นจำนวนมาก  กลุ่มแม่บ้านซึ่งมองเห็นและรู้สรรพคุณของมะระขี้นกจึงคิดนำทั้งใบและผลของมะระขี้นกมาทำชามาดื่มเพื่อสุขภาพ 

วัตถุประสงค์ ->

กลุ่มแม่บ้านอรุโณทัยมีกระบวนการในการจัดตั้งกลุ่ม  คือ

1. ต้องปลูกจิตสํานึก ได้แก่

1.1 การเสวนาพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้หรือการจับเข่าคุยกันตามอัตภาพ ศักยภาพ นโยบาย เป้าหมาย วัตถุประสงค์องค์ประกอบ ประโยชน์อันพึงมีพึงได้ในแต่ละส่วน

1.2 การหาแนวร่วมจากการเสวนา ศึกษาวิเคราะห์ร่วมกันตลอดจนแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วม ทํากิจกรรม ทําให้ทราบปัญหา ผลความก้าวหน้า การบรรลุวัตถุประสงค์จัดองค์ประกอบให้เป็นหมวดหมู่ใน ประเด็นนี้จะได้ผู้ที่มีเหตุมีผล บรรลุผลสําเร็จในกิจกรรมเป็นตัวอย่างเกิดผู้นําธรรมชาติในการรวมองค์กรต่อไป

1.3 การรวมองค์กร ในที่นี้หมายถึง การรวมกลุ่มแบบ “จัดตั้ง” ไม่ใช้แบบ “จับตั้ง” ปัญหากิจกรรม ที่มีเหตุมีผล มีผู้นํามีความเหมือน คล้าย หรือแตกต่างที่ได้จากการเสวนา หาแนวร่วมของเจ้าหน้าที่หรือจาก การศึกษาวิเคราะห์จากที่ประชาชน/เกษตรกรเลือกตามทางเลือก ตามประเด็นส่งเสริมของเจ้าหน้าที่

1.4 สอนกันเอง การสอนกันเองเริ่มจากการเสวนา หาแนวร่วม รวมองค์กร ลักษณะสังคมไทยใน ชนบทมักมีการเลียนแบบกันเอาอย่างกัน การพูดคุยมีเหตุมีผล ซึ่งถือว่าการสอนกันเอง สอนจากการกระทํา เป็นการสอนแบบไม่มีโรงเรียน เช่น เกษตรกรสอนเกษตรกรด้วยกันเอง ซึ่งสอนได้ทั้งในระบบกลุ่มและส่วน บุคคล  

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการจัดตั้งกลุ่มแม่บ้านสัมมาชีพของบ้านอรุโณทัย  คือ  ความเชื่อพื้นฐานของการรวมกลุ่ม การที่คนเราได้มารวมกลุ่มกันนั้นย่อมทําให้เกิดกิจกรรม ร่วมกันเพื่อการดํารงชีวิต เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ร่วมกัน เพื่อการทํางานหรือทํากิจกรรมร่วมกัน ก่อให้เกิด ปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันทุกคนมีโอกาสได้รับความรู้ประสบการณ์ต่างๆ ร่วมกัน ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการ ดําเนินงานสามารถนําไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและกลุ่มในการส่งเสริมพัฒนาต่อยอดต่อไป 

อุปกรณ์ ->

1. ต้องใช้ทรัพยากรท้องถิ่น เป็นสิ่งที่หาง่าย ประหยัด ใช้ง่าย ใช้เป็น เคยใช้และมีคุณค่าสูงที่สุด สําหรับเกษตรกร ประเภทวัสดุอุปกรณ์ได้แก่ คราดไม้ไถไม้ประเภทปัจจัยการผลิต ได้แก่ โค กระบือ เทคโนโลยีที่เหมาะสม นํามาใช้แล้วไม่ก่อให้เกิดปัญหาตามมาไม่ซับซ้อน ปรับใช้ได้ง่าย คนเป็นปัจจัยที่สําคัญ และมีคุณค่าที่สุด การเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ปัจจัยการผลิต ตลอดจนเทคโนโลยีที่เหมาะสมก็เป็นทาง หากคนได้ ศึกษาวิเคราะห์จากข่าวสารด้วยคนเองและดําเนินการจนถึงปัญหาสาเหตุแล้วยังมาเป็นประโยชน์โดยเฉพาะที เป็นเกษตรกรย่อมสําคัญที่สุดในการสร้างและพัฒนากลุ่ม

2. ต้องอดทน จากจุดอ่อนของกลุ่มไม่ว่าจะเป็นขาดสิ่งยึดเหนี่ยวใจ ขาดการมีส่วนร่วมและขาด กิจกรรมต่อเนื่อง หากมองและคิดให้ลึกๆ แล้วจะเป็นเพราะเจ้าหน้าที่ไม่ให้เวลาแก่เกษตรกรได้มีโอกาสคิด ศึกษาด้วยตัวเกษตรกรเอง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

จิตสํานึกของเจ้าหน้าที่หรือเพื่อ สนองนโยบายตามธรรมชาติของมนุษย์ไม่อยากถูกบังคับหรือจับตั้ง เราควรให้เวลาแก่เกษตรกรได้ศึกษาเรียนรู้ ได้คิด ได้ตัดสินใจด้วยตัวเกษตรกรเอง เพื่อจะเกิดกิจกรรมตามปัญหาที่เขารู้เจ้าหน้าที่เป็นเพียงบุคคลภายนอก ที่คอยกระตุ้นเตือนการรอคอย ให้ข้อมูล ติดตามวิเคราะห์เสนอแนวคิด สนับสนุน ประสานงาน เปิดโอกาส ร่วมเสวนา ต้องอดทน มีการลงทุนเวลา แต่ต้องทําแน่ๆ ตามขั้นตอน สถานการณ์ในห้วงเวลาที่เหมาะสม

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเชียงใหม่
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา