เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการปลูกกาแฟอราบิก้า

โดย : นายมงคลรัตน์ ขีดทา ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-07-09-15:50:11

ที่อยู่ : 1 ม.10 ต.บ้านหลวง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การปลูกกาแฟ
               กาแฟอาราบิก้า ปลูกมากในภาคเหนือที่เป็นภูเขาสูงและอากาศหนาวเย็น กาแฟอาราบิก้านิยมนำมาคั่ว บด และชงโดยการกรองกากออกหรือที่ปัจจุบันนิยมเรียกว่า “กาแฟสด” และพื้นที่ของหมู่บ้านอยู่ในพื้นที่สูง มีอากาศเอื้อต่อการปลูกกาแฟ อราบิก้า และมีราคาสูง

วัตถุประสงค์ ->

การปลูกและการดูแลรักษา

                ระยะปลูก  ระหว่างต้น-แถว  2x2 เมตร หรือ 400 ต้น/ไร่   ขนาดหลุมปลูก 50x50x50 ซม. รองก้นหลุมด้วยหินฟอสเฟตหลุมละ 100 - 200 กรัม  และปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยอินทรีย์  ควรปลูกต้นกาแฟช่วงเดือน พฤษภาคม – กรกฎาคม ซึ่งเป็นช่วงต้นฤดูฝน

                การใส่ปุ๋ย ชนิดปุ๋ยที่ใช้ สูตร 46-0-0, 15-15-15, 13-13-21 รองก้นหลุมและปรับความเป็นกรด-ด่างของดินด้วย 0-3-0

                อายุ 1 - 8 ปี  ใส่ปุ๋ยเกรด 15-15-15 อัตรา 100 และ 150 กรัม/ต้น/ปี  ใส่ช่วงเดือน พฤษภาคมและสิงหาคม

                ใส่ปุ๋ยเกรด 46- 0-0  อัตรา 100, 150, 150, 200, 200, 200 ,200 และ 200 กรัม/ต้น/ปี  (ต้นกาแฟอายุ 1-4 ปี)   ใส่ช่วงเดือน

พฤษภาคมและสิงหาคม

ปุ๋ยเกรด 13-13-21 อัตรา 100, 150, 150, 250 และ 300 กรัม/ต้น/ปี (ต้นกาแฟอายุ 3 ปีขึ้นไป) ใส่ช่วงเดือนสิงหาคมและตุลาคม

                การให้น้ำ   ควรให้น้ำในช่วงฤดูแล้งอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง แต่ในกรณีพื้นที่ปลูกไม่มีแหล่งน้ำให้ใช้เศษวัชพืชหรือฟางข้าวคลุมบริเวณโคนต้นตั้งแต่หมดฤดูฝนโดยเฉพาะพื้นที่ปลูกกาแฟกลางแจ้ง

                การตัดแต่งกิ่ง  ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ปลูก ดังนี้

                กาแฟที่ปลูกกลางแจ้ง ควรใช้วิธีการตัดแต่งแบบให้มีลำต้นเดี่ยว  เนื่องจากกาแฟที่ปลูกกลางแจ้งจะติดผลมาก หากตัดแต่งให้มีหลายลำต้น ต้นจะโทรมเร็ว  และมีโอกาสเกิดลักษณะอาการปลายกิ่งแห้งตาย (die back)

                กาแฟที่ปลูกภายใต้ร่มเงา ควรจะมีการตัดแต่งให้ต้นกาแฟมี 2 - 3 ลำต้น  เนื่องจากกาแฟที่ปลูกภายใต้ร่มเงาจะให้ผลผลิตน้อยกว่า  แต่มีอายุการให้ผลผลิตสม่ำเสมอ และยาวนานกว่า

                การจัดการร่มเงา  พื้นที่บนที่สูงนอกจากจะมีสภาพอากาศหนาวเย็น  และมีความเข้มของแสงแดดมาก  จึงจำเป็นต้องอาศัยร่มเงาจากไม้บังร่มชนิดต่าง ๆ ได้แก่

                1. ไม้บังร่มชั่วคราว ควรเป็นไม้โตเร็ว  และเป็นพืชตระกูลถั่ว  เช่น ทองหลางไร้หนาม  แคฝรั่ง  ขี้เหล็กอเมริกัน  ควรใช้ในระยะปลูก 4x6 หรือ 6x6 เมตร และปลูกหลายชนิดสลับกัน

                2. ไม้บังร่มถาวร ควรเป็นไม้พุ่มใหญ่  ทรงพุ่มกว้างและให้ร่มเงาในระดับสูง เช่น  ซิลเวอร์โอ๊ค  พฤกษ์  ถ่อน  กางหลวง
ถั่วหูช้าง สะตอ เหลียง  เป็นต้น  ระยะปลูก 8x10 เมตร  และควรปลูกหลายชนิดสลับกันกับไม้บังร่มชั่วคราว

การป้องกันและกำจัดโรคแมลงศัตรูพืช

                โรคราสนิม(Coffee leaf rust) เกิดจากเชื้อรา Hemileia  vastatrix  เป็นได้ทั้งใบอ่อนและใบแก่  โดยจะเกิดสปอร์สีส้มใต้ใบส่วนบนใบจะมีสีเหลือง  ซึ่งตรงจุดเดียวกับที่เกิดสปอร์ใต้ใบ  เมื่ออาการรุนแรงจุดนี้จะขยายไปทั่วทั้งใบ  ทำให้ใบร่วง

                การป้องกัน

                1. ใช้พันธุ์ต้านทาน สายพันธุ์คาติมอร์ CIFC 7963

                2.ใช้สารเคมีบอร์โดซ์มิกเจอร์(alkaline bordeaux mixture) 0.5%  คูปราวิท (Cupravit) 85% W.P. อัตรา 50 ก./น้ำ 20 ล.

แมลงศัตรูกาแฟ

                1. เพลี้ยแป้ง (Pseudocoeus sp.) เพลี้ยอ่อน  (Toxoptera sp.)  เพลี้ยหอยสีเขียว (Coccus viridis Green)  เพลี้ยหอยสีน้ำตาล (Saisatia coffeae) เป็นแมลงปากดูดจะเข้าทำลายโดยดูดกินน้ำเลี้ยงใบอ่อน  ยอดอ่อนและผลอ่อน

                การป้องกันกำจัด ใช้โมโนโครโทฟอส (monocrotophos) หรือไดเมทโทเอต อัตราร้อยละ 5 ของสารออกฤทธิ์ ฉีดพ่นประมาณ  2 - 3  ครั้ง   ทุก  10  วัน    เมื่อพบการระบาด

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ศึกษาพันธุ์กาแฟ และเทคนิคการปลูก ดูแลรักษา และการลดต้นทุน เรียนรู้เทคนิคต่างๆ เพื่อนำมาปรับปรุงพัฒนากาแฟ

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การคลุมโคนต้นกาแฟ

          การคลุมโคนต้นกาแฟมีประโยชน์มาก  โดยเฉพาะในช่วงที่สวนกาแฟต้องประสบกับภาวะแห้งแล้ง เป็นการช่วยไม่ให้ต้นกาแฟทรุดโทรมหรืออาจจะตายได้ เนื่องจากขาดความชื้นในอากาศและในดิน นอกจากนี้ยังเป็นการป้องกันวัชพืชที่จะงอกในแปลงกาแฟในขณะที่ทรงพุ่มกาแฟยังไม่ชิดกัน และยังเป็นการป้องกันการพังทลายของดินเมื่อเกิดฝนตกหนัก แต่มีข้อควรระวังในการคลุมโคนต้น คืออาจจะกลายเป็นแหล่งสะสมของโรคและแมลงศัตรูกาแฟ ดังนั้นการคลุมโคนต้นกาแฟควรจะคลุมโคนต้นให้ห่างจากต้นกาแฟประมาณ 10 ถึง 20 เซนติเมตร เพื่อป้องกันไม่ให้แมลงศัตรูกาแฟกัดกะเทาะเปลือกกาแฟได้ หรือไม่ให้เกิดอันตรายกับโคนต้นกาแฟในระหว่างที่วัสดุคลุมโคนเกิดการย่อยสลายได้  โดยคลุมโคนต้นให้มีความกว้าง 1 เมตรและหนาไม่ต่ำกว่า 10 เซนติเมตร

การปราบวัชพืชและการใส่ปุ๋ย

          ควรมีการปราบวัชพืชทุกครั้งก่อนการใส่ปุ๋ย โดยอาจจะใช้ยาปราบวัชพืชหรือการถากถางตามระยะเวลาและความเหมาะสม และการใส่ปุ๋ยก็เป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่งของการปลูกกาแฟ จะต้องพิจารณาทั้งธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรองว่าต้องเพียงพอกับต้นกาแฟ  ซึ่งจะสังเกตลักษณะของใบได้ ซึ่งมีรายละเอียดมากมายเกินที่จะกล่าวในที่นี้ แต่สูตรปุ๋ยที่ใช้โดยทั่วไป มักจะเป็นสูตรที่มีการมีความนิยม คือ สูตร 15-15-15 หรือสูตร 16-16-16 เป็นต้น วิธีการใส่ปุ๋ยนั้นจะใส่โดยการโรยลงบนดินเป็นลักษณะวงกลมรอบทรงพุ่ม โดยใส่ปุ๋ยในปีที่ 1 ถึง 3 ส่วนต้นกาแฟที่ยังไม่ให้ผลผลิต  ควรใส่ระยะเวลาประมาณ  2 ถึง 3 ครั้งต่อปี โดยใส่ครั้งละประมาณ 100 ถึง 300 กรัมต่อต้น  และควรมีการใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเพิ่มด้วยเพื่อปรับสภาพทางกายภาพของดินควบคู่กันไปด้วย

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเชียงใหม่
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา