เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การเลี้ยงปลาดุก

โดย : นายบุญทา แสนคำชื่น ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-07-04-10:31:06

ที่อยู่ : 131 ม.2 ต.แม่อาย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เนื่องจากมีบ่อปลา และมีความชำนาญในการเลี้ยงปลา พร้อมทั้งสามารถทำอาหารปลาได้เอง จึงต้องการเลี้ยงปลาดุกเพื่อเป็นอาชีพเสริม

วัตถุประสงค์ ->

เทคนิคและวิธีการเลี้ยงปลาดุก

ขนาดปลาที่จะนำมาเลี้ยง ปลาที่เริ่มเลี้ยงยาวตั้งแต่ 1.5 นิ้วขึ้นไปไม่ควรนำปลามาเลี้ยงในฤดูหนาวเพราะปลามีความต้านทานต่อโรคต่ำ

อัตราการเลี้ยงปล่อยลูกปลาในอัตรา 50 – 70 ตัว/ตารางเมตร การปล่อยปลาแช่ถุงลูกปลาไว้ในบ่อเลี้ยง 30 นาที จึงค่อยๆ ปล่อยลงบ่อ ช่วงแรกที่ปล่อยให้เติมน้ำลงบ่อมีความสูงประมาณ 10 ซม.แล้วค่อยเพิ่มระดับน้ำขึ้นไปเรื่อยๆ ทุกๆ อาทิตย์จนมีระดับสูงสุด 30-50 ซม.

การถ่ายเทน้ำ ทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำเมื่อน้ำเริ่มเสีย ไม่ควรถ่ายน้ำออกหมด เหลือน้ำเก่าไว้ 2/3 เปลี่ยนถ่ายน้ำหลังให้อาหารแล้วไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง น้ำที่ถ่ายออกสามารถนำไปรดพืชผักได้ การให้อาหารปลาดุก การให้อาหารปลา การเลี้ยงปลา 1 รุ่น ใช้เวลา 3 เดือน อาหารเสริม (ไส้ไก่ ไก่บด) ให้อาหารสำเร็จรูปโปรตีน 2 กระสอบ โดยให้วันละ 2.5 กก./1 มื้อ/ 1,000 ตัว ให้อาหารเม็ดเล็กและบุบพอแตกสำหรับปลาเล็ก อาหารสดพวกเศษเนื้อ สับให้ปลากินได้ ตัวปลวก แมลงเม่า และแมลงอื่น ๆ โปรยให้ปลากิน ให้อาหารเป็นเวลาวันละ 2 มื้อ เช้า – เย็น โรคปลาดุกและการป้องกัน การเกิดโรคของปลาดุกที่เลี้ยงมักจะเกิดจากปัญหาคุณภาพของน้ำในบ่อเลี้ยงไม่ดี ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุของการให้อาหารมากเกินไปจนอาหารเหลือเน่าเสีย เราสามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรคได้โดยต้องหมั่นสังเกตว่าเมือปลาหยุดกินอาหารจะต้องหยุดให้อาหารทันที เพราะปลาดุกลูกผสมมีนิสัยชอบกินอาหารที่ให้ใหม่ โดยถึงแม้จะกินอิ่มแล้วถ้าให้อาหารใหม่อีกก็จะคายหรือสำรอกอาหารเก่าทิ้งแล้วกินอาหารให้ใหม่อีกซึ่งปริมาณอาหาร ที่ให้ไม่ควรเกิน 4 – 5 % ของน้ำหนักตัวปลา หากมีอาหารเหลือให้ช้อนทิ้ง

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. ลดต้นทุนด้านอาหารปลา เนื่องจากทำอาหารปลาเอง 

2. ศึกษาตลาด ความต้องการตลาด

3. ศึกษาเรียนรู้ ขยันหมั่นเพียรสม่ำเสมอ

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

วิธีป้องกันและกำจัดโรคปลาดุก

1.       ควรใช้ EM ขยาย จำนวน 2 ลิตร/สัปดาห์

2.       ซื้อพันธุ์ปลาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ว่าเป็นปลาแข็งแรง และปราศจากโรค

3.       หมั่นตรวจดูอาการของปลาอย่างสม่ำเสมอถ้าเห็นอาการผิดปกติต้องรีบหาสาเหตุและแก้ไขโดยเร็ว อย่าให้อาหารจนเหลือ หรือมากเกินไป
 

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเชียงใหม่
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา