เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการเลี้ยงปลาหมอ

โดย : นางรุ่งนภา ตาป้อ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-06-20-10:19:02

ที่อยู่ : 238/1 ม.5 ต.ยางคราม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การเลี้ยงปลาหมอเป็นที่แพร่หลายมากขึ้น เนื่องจากปลาหมอในธรรมชาติที่ลดน้อยลง ซึ่งสวนทางกับความต้องการที่สูงขึ้น รสชาติที่มีความหอม เนื้อรสหวานและกลมกล่อม จึงทำให้เริ่มมีการเลี้ยงปลาหมอเชิงพานิชย์เกิดขึ้น เพราะปลาหมอเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย กินง่าย ทนต่อสภาพแวดล้อม

วัตถุประสงค์ ->

การเลือกสถานที่เลี้ยงปลาหมอ

  • ควรเป็นดินเหนียวหรือดินเหนียวปนทราย เพื่อให้สามารถกักเก็บน้ำได้
  • อยู่ใกล้แหล่งน้ำธรรมชาติ เพื่อให้แน่ใจว่ามีน้ำเพียงพอตลอดทั้งปี

การเตรียมบ่อเลี้ยงปลาหมอ

เริ่มจากการเตรียมบ่อสำหรับการเลี้ยงปลาหมอ เป็นบ่อรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า 3 บ่อ ดังต่อไปนี้

  • บ่อสำหรับอนุบาลลูกปลาหมอนา ขนาด 6×7 เมตร
  • บ่อผสมพันธุ์ปลาหมอนา ขนาด 6×7 เมตร
  • บ่อสำหรับเลี้ยงปลาหมอนา ขนาด 6×7 เมตร

การคัดเลือกพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปลาหมอ

พ่อพันธุ์ ควรมีลักษณะลำตัวยาวว่ายน้ำปราดเปรียว และในการคัดพ่อพันธุ์ให้ทำตอนเช้า หลังจากเปลี่ยนถ่ายน้ำก่อนให้อาหาร  พ่อพันธุ์ที่พร้อมการผสมพันธุ์บริเวณปลายหัวจะออกเป็นสีแดง เกล็ดนวลเงา ไม่เป็นแผล

แม่พันธุ์ ควรจะมีขนาดป้อมสั้น ลำตัวมีความยาวประมาณ 3 นิ้ว การคัดเลือกแม่พันธุ์ปลาหมอนาให้ทำตอนเช้า หลังจากเปลี่ยนถ่ายน้ำก่อนให้อาหารแม่พันธุ์ที่พร้อมจะมีลักษณะท้องบวมเป่ง แสดงว่ามีไข่ อวัยวะเพศมีสีแดงชมพูเรื่อ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

การดูแลและศึกษาข้อมูลเสมอ

อุปกรณ์ ->

ถึงแม้ปลาหมอจะเลี้ยงง่าย ทนต่อสภาพน้ำ แต่ก็ต้องมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำเพื่อให้ปลาเจริญเติบโตได้ดี และกินอาหารได้มากขึ้น  โดยเปลี่ยนถ่ายน้ำประมาณเดือนละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 1 ใน 3 ของปริมาณน้ำในบ่อ เพื่อให้ปลาปรับตัวได้ง่าย และประหยัดน้ำได้มากกว่าเปลี่ยนหมดทั้งบ่อ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ระยะเวลาและการจับปลาหมอ

โดยทั่วไปใช้เวลาเลี้ยง ประมาณ 90-120 วัน ถ้าจำหน่ายเมื่อโตเต็มที่ จะได้ราคาอย่างน้อยกิโลกรัมละ 150 บาท แต่ถ้าเลี้ยงเพื่อเพาะพันธุ์ลูกปลาขาย  ราคาทั่วไปที่จำหน่ายคือ ตัวละ 1 บาท

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเชียงใหม่
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา