เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การปลูกเสาวรส

โดย : นายฐิติพงษ์ ปัจจารี ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-05-03-14:40:45

ที่อยู่ : 28 หมู่ที่ 8 ตำบลแม่นาวาง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ได้ศึกษาเรียนรู้การปลูกเสาวรสจากโครงการหลวง จึงได้นำมาปฏิบัติลองผิด ลองถูก เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี 

วัตถุประสงค์ ->

พื้นที่ปลูก 
           เสาวรสสามารถปลูกได้ในหลายพื้นที่ โดยพันธุ์สีม่วงสามารถปลูกและเจริญเติบโตได้ดีบนที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตร ส่วนพันธุ์สีเหลืองจะเจริญได้ดีในที่ราบต่ำ ในเขตที่ฝนตกชุก เสาวรสจะติดผลไม่ดีนัก เนื่องจากละอองเกสรจะถูกทำลายโดยน้ำฝน พื้นที่ปลูกควรมีแสงแดดจัด

การปรับปรุงดินและการใส่ปุ๋ย
   เสาวรส สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินหลายชนิด ไม่ควรปลูกในดินที่ระบายน้ำเลว ชนิดผลสีเหลืองจะทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศและปรับตัวได้ดี มีผลผลิตสูง
กว่าชนิดผลสีม่วง เสาวรส สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินที่เป็นกรด แต่ถ้าค่าความเป็นกรด ( pH ) ต่ำกว่า 5.5 ควรจะใส่ปูนขาวลงไปด้วย การใส่ปุ๋ย ควรใส่ปุ๋ยที่ให้ธาตุอาหารหลักครบได้แก่สูตร 13 - 13 - 21 อัตรา 1 กก. / ต้น โดยแบ่งใส่ 4 ครั้ง / ปี และควรเพิ่มปุ๋ยไนโตรเจนให้แก่พืช ในช่วงต้นฤดูฝน เพื่อให้พืชสร้างทรงพุ่มและมีการสะสมอาหาร ก่อนการออกดอกติดผล

ระบบการปลูก
   ทรงต้นและการทำค้าง : ระยะปลูก มีตั้งแต่ 3 - 6 เมตร เนื่องจากเสาวรสมีลำต้นเป็นเถาเลื้อยจึงควรมีการทำค้างแบบซุ้ม จะทำให้ได้ผลผลิตที่สูงกว่าการทำค้างแบบอื่น เกษตรกรต้องลงทุนทำค้างในปีแรกและเนื่องจากเสาวรสจะออกดอกในกิ่งที่แตกใหม่เท่านั้น จึงต้องมีการตัดแต่งกิ่งในปีต่อมา หลังจากการเก็บเกี่ยว ผลผลิตแล้ว ( ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม ) เพื่อบังคับให้แตกยอดใหม่ ซึ่งจะทำให้ผลผลิตสูงกว่าเดิม และสูงกว่าต้นที่ไม่ได้ตัดแต่งกิ่ง แต่ไม่ควรตัดหนักเกินไป เพราะจะทำให้ต้นโทรมแห้งตายได้ในภายหลัง

การให้น้ำ
   เสาวรสมีความต้องการน้ำมากในช่วงของการออกดอก ติดผลไปจนถึงระยะเก็บเกี่ยว ในพื้นที่ปลูกที่อาศัยน้ำฝนเสาวรสจะให้ผลผลิตมาก ตั้งแต่เดือน กันยายน - ธันวาคม หลังจากนั้นจะกระทบแล้ง ผลเสาวรสจะร่วงหล่นก่อนแก่ และชะงักการเจริญเติบโต พอเข้าฤดูฝนก็จะแตก กิ่งก้าน สาขาใหม่ ถ้าหากสามารถให้น้ำแก่เสาวรสได้ตลอดปี จะทำให้มีผลผลิตทยอยออกทั้งปีได้ เสาวรสเป็นพืชที่มีระบบรากตื้น ดังนั้นจึงควรมีการคลุมโคนต้นในช่วงฤดูแล้ง เพื่อรักษาความชื้นในดิน

ศัตรูและการป้องกันกำจัด
   โรคร้ายแรงที่พบในแหล่งปลูกใหญ่ๆคือ โรคใบหงิกที่เกิดจากเชื้อไวรัส โดยมีเพลี้ยอ่อนเป็นพาหะและติดต่อได้ ถ้าใช้เครื่องมือตัดแต่งกิ่งร่วมกัน นอกจากนี้ยังมีพืชอาศัยตระกูลแตงและฟักทอง โรคนี้จะแสดงอาการรุนแรงในช่วงอากาศเย็น ทำให้ใบด่าง หงิกและงอ ขนาดของผลเล็กลง โรคสำคัญอีกโรคหนึ่งคือ โรคจุดสีน้ำตาลเกิดจากเชื้อรา มีอาการใบ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

การคัดเลือกพันธุ์ให้เหมาะกับพื้นที่ สภาพอากาศ ภูมิประเทศ

ให้ความสนใจ หาความรู้

ความต้องการของตลาด

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเชียงใหม่
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา