เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เห็ดฟาง

โดย : นางภัครดา ภัทรจิตรากุล ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-08-30-15:21:24

ที่อยู่ : เลขที่ 415 บ้านศรีดอนมูลใต้ หมู่ 13 ตำบลศรีดอนมูล

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

คนไทยรู้จักกับเห็ดมาเป็นเวลานานและหลายคนก็นิยมบริโภค โดยเห็ดนั้นนอกจากเอามาทำอาหารได้หลากหลายแล้ว ยังถือเป็นส่วนสำคัญใน เมนูสุขภาพ เนื่องจากมีคุณค่าทางโภชนาการสูง จึงเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเห็ดฟางที่ถือว่าเพาะขึ้นได้ง่าย สามารถเพาะได้ทุกฤดูกาล อีกทั้งราคาของเห็ดฟางก็อยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก โดยราคาของเห็ดฟางจะดีมากในฤดูหนาวและช่วงเทศกาลกินเจ แต่สิ่งที่นอกเหนือจากการตลาดและราคาดูเหมือนว่าที่ทำให้ถูกใจเกษตรกรมากขึ้นคือระยะเวลาในการเก็บผลผลิตที่สามารถเก็บไปขายได้ภายใน 7-12 วัน ถือเป็นเห็ดเศรษฐกิจที่มีวงจรการผลิตสั้นมากจึงสร้างรายได้สม่ำเสมอให้กับผู้ลงทุนอย่างดี

 

วัตถุประสงค์ ->

ขั้นตอนการทำ นำวัสดุเพาะเช่น ฟางข้าวไปแช่น้ำหรือให้น้ำเพื่อเพิ่มความชื้น แล้วนำวัสดุที่ได้ใส่ในบล็อก หนาประมาณ 3-4 นิ้ว แล้วนำเชื้อเห็ดฟางผสมอาหารเสริมเช่นรำข้าว โรยรอบข้างห่างขอบประมาณ 1-2 นิ้ว ทำเหมือนกัน 3 ชั้น ชั้นบนสุดโรยเชื้อเต็มหน้า คลุมด้วยวัสดุเพาะหนาประมาณ 2 นิ้ว กดให้แน่น ทำกองต่อไปห่างจากกองเดิมประมาณ 20-30 ซม. ฤดูร้อนห่างมาก ฤดูหนาวห่างน้อย เสร็จแล้วคลุมด้วยพลาสติกเพาะเห็ด บังแสงด้วยใบจาก หญ้าคา หรือซาแรน ฤดูร้อนต้องทำหลังคาเพิ่ม สูงพอทำงานได้ ประมาณ 6-7 วัน แย้มดูถ้าพบเชื้อเห็ดเดินเต็มแล้ว จึงนำไม้ไผ่โค้งและขยับพลาสติกที่คลุมสูงขึ้นทับบนโค้งเพื่อเพิ่มอากาศบริสุทธิ์ คลุมแสงบางลง ให้แสงผ่านเข้าถึงกองได้บ้างแต่ไม่มาก ประมาณ 10 วันจะได้ดอกเห็ด

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.เพื่อบริโภคในครัวเรือน สร้างอาชีพ รายได้ในชุมชน

2.การเพาะวิธีนี้คือ การลงทุนต่ำ ไม่ต้องใช้เทคโนโลยีมาก ไม่ยุ่งยาก ต้นทุนในการผลิตต่อหน่วยผลผลิตต่ำสุดประมาณ 30-35 บาท/1กก

อุปกรณ์ ->

วิธีการเพาะเห็ดฟางแบบเป็นกอง เริ่มต้นโดยเตรียมสถานที่แบบการปลูกผัก ถ้ามีการพรวนดิน ตากทิ้งไว้ 3-7 วัน จะดีมาก ขนาดกองขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและวัสดุที่ใช้เพาะ ขนาดกองเตี้ยประมาณ 30 x 80 x 30 ซม. โดยมากวัสดุเพาะที่ใช้จะให้ความร้อนสูง เช่น เปลือกมันสำปะหลัง ขนาดกองกลางประมาณ 40 x 1.00 x 60 ซม.วัสดุเพาะประเภทฟางข้าว ทะลายปาล์ม ขนาดกองสูง 60 x 1.20 x 1.00 ซม. นิยมนำวัสดุเพาะที่ผ่านการเพาะแบบกองเตี้ย กองกลางแล้วนำมาสุมใหม่เป็นกองสูง ปัจจุบันมีการเพาะแบบกองยาว 601 x 3.00 x 60 ซม.

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อเสีย คือ ไม่สามารถเพาะที่เดิมได้อีก ต้องทิ้งไว้ 1 ปี ผลผลิตที่ได้ไม่แน่นอน ขึ้นกับสภาพอากาศและฝน ต้องมีประสบการณ์ แต่ละฤดู ต้องมีการปรับขนาดและ ระยะห่างระหว่างกอง มีศัตรูเห็ดเข้าทำลายได้ง่ายเช่นมด ปลวก ไร เชื้อราแข่งขัน

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเชียงราย
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา