เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เพาะกล้ายางพารา

โดย : นายสุริยา ยอดปัญญา ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-08-28-14:46:22

ที่อยู่ : 72 ม.14 ต.ป่าซาง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

างพาราสามารถทำการขยายพันธุ์ได้หลายวิธี เช่น การขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ใช้วิธีการติดตาเขียว ติดตาสีน้ำตาล เป็นต้น แต่การขยายด้วยเมล็ด ปัจจุบันในประเทศไทยไม่นิยมการขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้ ทั้งนี้เพราะไม่มีสวนเก็บเมล็ดโดยตรง  และเมล็ดยางพาราที่นำไปปลูกจะมีการกลายพันธุ์มาก แต่การใช้เมล็ดขยายพันธุ์ มักจะนำไปใช้เพาะต้นกล้าเพื่อใช้ทำเป็นต้นตอสำหรับติดตาเป็นส่วนใหญ่  ส่วนการขยายพันธุ์โดยวิธีการติดตา จะแบ่งออกเป็นการติดตาเขียว และการติดตาสีน้ำตาล แต่ส่วนใหญ่นิยมขยายพันธุ์ด้วยการติดตาเขียวมากกว่า เพราะทำได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว มีเปอร์เซ็นต์การติดสูงมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งการขยายพันธุ์วิธีดังกล่าวมีวิธีการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ ->

  • การปลูกด้วยเมล็ดสด  เริ่มตั้งแต่การวางแนวปลูก  โดยปักไม้ชะมบไว้ที่หัวและท้ายแปลง ในระยะ 30 x 60 เซนติเมตร ในลักษณะเป็นแนวยาวแล้วขึงเชือกระหว่างไม้ชะมบกับหัวท้ายแปลง ซึ่งจะเป็นแนวสำหรับเรียงเมล็ดสด จากนั้นใช้จอบลากเป็นร่องลึก ประมาณ 5 เซนติเมตรตามแนวเชือก  แล้วนำเมล็ดสดมาวางเรียง  โดยจำนวนเมล็ดที่เรียงนั้นขึ้นอยู่กับความงอกของเมล็ด ถ้ามีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูงให้เรียงเมล็ดห่างปกติในช่วงระยะ 1 เมตร  จะวางเรียงประมาณ 18 ถึง 24 เมล็ด ในการเรียงนั้นให้ด้านแบนของเมล็ดคว่ำลง   หลังจากนั้นทำการกลบดิน  ซึ่งในการปลูกแต่ละแปลงนั้นจะใช้เมล็ดประมาณ 300 กิโลกรัมต่อไร่
  • การปลูกด้วยเมล็ดงอก  เริ่มตั้งแต่การเพาะเมล็ดยางในแปลงเพาะเมล็ด โดยยกร่องกว้าง 1 เมตร 20 เซนติเมตร  ส่วนความยาวของแปลงขึ้นอยู่กับความต้องการ  จากนั้นใช้ทรายหรือขี้เลื่อยเก่าๆ กลบบนแปลงเพาะแล้วเกลี่ยให้เรียบ รดน้ำให้ชุ่ม  หลังจากนั้นอีก 1 สัปดาห์เมล็ดก็จะงอก  ทำการเก็บเมล็ดที่งอกไปปลูกได้ทุกวัน (ส่วนเมล็ดที่งอกหลังจาก 15 วัน จะต้องคัดทิ้งหมดเพราะจะได้ต้นกล้ายางที่ไม่แข็งแรง) วิธีการปลูกเริ่มตั้งแต่การวางแนวปักไม้ชะมบที่หัวและท้ายแปลงที่ระยะ 30 x 60 เซนติเมตร แล้วขึงเชือกทำเครื่องหมายระยะต้นทุกระยะ 25 เซนติเมตร นำเมล็ดมาปลูกโดยใช้ไม้เสี้ยมปลายแหลมเจาะดินให้เป็นหลุมลึกประมาณ 3 เซนติเมตร บริเวณตำแหน่งหลุมที่จะปลูก และวางเมล็ดงอกโดยให้วางด้านแบนของเมล็ดคว่ำลงหรือวางด้านที่เป็นปลายรากลง จากนั้นกลบดินพอมิด
  • การปลูกด้วยกล้ายาง 2 ใบ   เริ่มตั้งแต่การจัดวางแนวปักไม้ชะมบไว้ที่หัวแถวที่ระยะ 30 x 60 เซนติเมตร แล้วขึงเชือกซึ่งได้ทำเครื่องหมายกำหนดระยะต้นไว้แล้วทุกระยะ 25 เซนติเมตร  จากนั้นใช้ไม้ที่เสี้ยมปลายแหลมหรือเหล็กปลายแหลมนำมาเจาะดินให้เป็นหลุมขนาดพอดีกับความยาวของราก และนำต้นกล้ายาง 2 ใบที่ได้คัด เลือกต้นที่แข็งแรง ใบแก่และรากไม่คดงอ นำมาตัดรากให้เหลือประมาณ 20 เซนติเมตร และตัดใบออกหมดเพื่อลดการคายน้ำหลังจากที่ทำการปลูก  หลังจากนั้นต้องกดดินรอบโคนต้นให้แน่น

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. การสร้างแปลงกล้ายาง
         วัสดุที่จะใช้ปลูกแปลงกล้ายาง อาจใช้ส่วนประกอบเพียง 3 ชนิด คือ เมล็ดสด เมล็ดงอก และต้นกล้า 2 ใบ  จากการศึกษาเรื่องการเลือกใช้ส่วนประกอบของยางพาราสำหรับปลูกทำแปลงกล้ายางนั้น พบว่าการใช้เมล็ดสดในการปลูกจะดีที่สุดเนื่องจากต้นกล้ายางที่ได้  จะโตเร็วและแข็งแรง  มีระบบรากดี  และเป็นการประหยัดงานและเวลา ส่วนการปลูกด้วยต้นกล้า 2 ใบ นั้นต้นกล้าจะตายเป็นจำนวนมาก และมากกว่าการปลูกด้วยเมล็ดถึง 2 เท่า ในช่วงระยะ เวลา 6 เดือน ซึ่งกล้ายาง 2 ใบนั้นควรใช้นำไปปลูกกรณีที่หาเมล็ดไม่ได้เท่านั้น  สำหรับขั้นตอนและวิธีปฏิบัติในการสร้างแปลงและวิธีการปลูกตลอดจนการดูแลรักษา  มีขั้นตอนดังต่อไปนี้                             
         1. การเลือกพื้นที่ในการปลูก ควรเลือกสภาพพื้นที่ที่เป็นที่ราบ ดินร่วนเพราะจะมีความอุดมสมบูรณ์สูง มีการระบายน้ำดี อยู่ใกล้แหล่งน้ำและการคมนาคมสะดวก                                     
         2. การเตรียมดิน ควรทำการไถพลิกดิน 2 ครั้ง หลังจากนั้นทำการไถพรวนอีก 1 ถึง 2 ครั้ง แล้วแต่ความเหมาะสมเพื่อให้พื้นที่มีความเรียบสม่ำเสมอ ในขณะเดียวกันควรเก็บเศษวัชพืชออกจากแปลงปลูกให้หมดในการไถพรวนครั้งสุดท้าย และควรหว่านปุ๋ยร็อคฟอสเฟต 100 กิโลกรัม และแมกนีเซียมไลปัส-โตน 40 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 ไร่ เนื่องจากดินในประเทศไทย หากปลูกกล้ายางพาราหลายๆ ครั้งซ้ำกันในที่เดียวกัน กล้ายางมักจะแสดงอาการขาดธาตุแมกนีเซียม  และแผ่นใบตรงกลางระหว่างเส้นใบจะมีสีซีดเหลืองหรือขาว โดยจะแสดงอาการหลังจากยางงอกแล้วประมาณ 2 ถึง 3 เดือน ดังนั้นการใส่ปุ๋ยแมกนีเซียมไลมัสโตนจึงมีความจำเป็นมาก โดยเฉพาะในแปลงกล้าที่เกิดอาการขาดธาตุแมกนีเซียมแล้วก่อนจะทำใหม่ต้องใส่แมกนีเซียมก่อนทุกครั้ง                                    
         3. การวางแผนผังแปลงกล้า แปลงกล้ายางแต่ละแปลงย่อย  ไม่ควรมีพื้นที่เกิน 1 ไร่ หากเป็นการให้น้ำแบบระบบสปริงเกอร์ควรจัดขนาดแปลงเข้ากับระบบน้ำ และรอบแปลงแต่ละแปลงควรวางแนวขุดคูระบายน้ำ และหากเป็นพื้นที่ลาดชัน ควรวางแถวปลูกขวางแนวลาดชัน และควรจะยกร่องปลูกเป็นแถวคู่ เพื่อป้องกันน้ำชะเมล็ด

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเชียงราย
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา