เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

สวนลำใย

โดย : นางรวีวรรณ์ นันต๊ะรัตน์ ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-08-16-15:28:52

ที่อยู่ : 242 ม.11 ต.ทุ่งก่อ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

วัตถุประสงค์ ->

1. การเตรียมแปลงปลูกและดินสำหรับการปลูก 

1.        หากที่ดินแปลงปลูกมีขนาดใหญ่ ควรเริ่มปรับพื้นที่หรือเตรียมดินในฤดูแลง และควรจัดพื้นที่ขุดบ่อน้ำ  สำหรับกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง

2.        ไถดินเพื่อปรับสภาพแปลงปลูก รื้อสิ่งกรีดขวางออก เพื่อพื้นที่มีสภาพโล่ง

3.        วัดแนวเขตพื้นที่ (กว้าง-ยาว) และทำแผนที่ของดินแปลงที่ปลูก

4.        คำนวณจำนวนต้นและเลือกระยะปลูก ตามความต้องการ โดยยึดหลักดังนี้

ควร วาง แถวของต้น อยู่ในแนวทิศเหนือ-ใต้มาตรฐานของการปลูก ระยะต้น*ระยะแถว คือ พื้นราบ 5.5*5.5หรือ 6*6 เมตร ร่องน้ำ 5*8 6*9 เมตร คำนวณจำนวนกิ่งพันธุ์หรือต้นพันธุ์ที่ต้องการใช้ในการปลูก (ควร + เพิ่ม 2%) กำหนดจำนวนแถว วางแนวและตำแหน่งของต้นที่จะปลูกในพื้นที่จริง

5.        ไถ พรวนดิน ยกแนวปลูกให้เป็นร่องลูกฟูกหรือฟันดินพูนเป็นโขด (กระทะคว่ำ)ร่องลูกฟูกหรือโขดควรสูงจากพื้นดินเดิมอย่างน้อยประมาณ 50-75 ซม.

6.        ย่อยดินตรงบริเวณที่จะปลูกให้ละเอียดเหมาะสมต่อการปลูกพืช

7.        ปรับปรุงสภาพดินของแนวรองปลูกหรือบริเวณโขดที่จะปลูกด้วยปุยหมักหรือปุยคอกเกา

8.        ปักไม้รวก (ยาวประมาณ 50-60 ซม.) ตรงบริเวณจุดกำหนดหรือโขดที่จะปลูก ให้แต่ละจุดที่จะปลูกต้นในแต่ละแถวปลูก อยู่ในแนวที่ตรงกัน

9.        หากดินที่จะปลูกเป็นดินร่วนปนทราย ควรจัดเตรียมเศษพืชหรือฟางเพื่อการคลุมดิน รักษาความชื้น

10.     เก็บ ตัวอย่างดินบริเวณที่จะปลูก ส่งหน่วยงานเพื่อวิเคราะห์ความเป็นกรดเป็นด่าง โครงสร้างของดิน ปริมาณอินทรีย์วัตถุและธาตุอาหารที่จำเป็น

2. การเตรียมต้นพันธุ์

1.        หากเลือกใช้ต้นพันธุ์เป็นกิ่งตอน ควรพิจารณาดังนี้

-      เป็นกิ่งตอนจากแหล่งหรือผู้ขายที่เชื่อถือได้

-      ต้นแม่ต้องแข็งแรง มีลักษณะที่ดีตรงตามสายพันธุ์

-      ต้นแม่ควรมีอายุมากกว่า 8-9 ปีขึ้นไป

-      กิ่ง ตอนควรเป็นกิ่งที่ตั้งหรือตั้งตรงทีมีอายุ 1-1.5 ปี กิ่งแข็งแรง กลม -ไม่มีหนาม สี เขียวอมน้ำตาลหรือสีน้ำตาลอมเขียว มีรากออกโดยรอบขวั้น

-      ความสูงของกิ่งตอน 45-55 ซม. (ไม่ควรเกิน 60 ซม.)

-      กิ่งตอนไม่ควรเพาะชำอยู่ในถุงนานเกิน 6 เดือน

2.        หากเลือกใช้ต้นพันธุ์เป็นต้นตอที่ติดตาหรือเสียบยอด ควรเลือกที่มีลักษณะดังนี้

-      ต้นพันธุ์ได้จากแหล่งหรือผู้เชื่อถือได้

-      ต้นพันธุ์แข็งแรงมีลักษณะที่ดีตรงตามสายพันธุ์

-      ต้นพันธุ์ไม่ควรปลูกอยู่ในถุงเพาะชำ ภายหลังการติดตาหรือเสียบยอดเกินกว่า 1 ปี

3. ระยะเวลาปลูกและวิธีการปลูกที่เหมาะสม

-      สามารถเลือกเวลาปลูกเมื่อใดก็ได้ ถ้าแปลงปลูกมีการติดตั้งระบบน้ำชลประทาน

-      ควรปลูกในเดือนกรกฎาคม ถึง เดือนตุลาคม หากอาศัยน้ำฝนโดยไม่มีแหล่งน้ำ

-      กิ่งหรือต้นพันธุ์ที่จะนำลงปลูกควรเป็นระยะใบแก่ (ไม่ควรมีใบอ่อน) หากเป็นกิ่งตอนควร ให้ปลายรากมีสีเหลืองหรือสีนวล

-      ต้นพันธุ์ที่มีรากขดงอโดยเฉพาะรากใหญ่ หากไม่สามารถจัดระบบรากได้ ไม่ควรนำลงปลูก

-      อย่าปลูกต้นพันธุ์ลึก ควรปลูกและกลบหน้าดินให้เสมอขั้วบนของกิ่งตอน หรือเสมอระดับ หน้าดินเดิมของถุงเพาะชำ

-      ควรปลูกโดยจัดให้ลําต้นหลักของต้นพันธุ์ตั้งตรงระวังอย่าให้ต้นลำไยโยกคลอน ปักหลักไม้รวกและผูกยึดต้นให้แน่น

-      ควรหาฟางข้าวหรือเศษพืชคลุมดินบริเวณโขดที่ปลูก โดยเฉพาะในดินร่วนหรือดินปนทราย

4.  การดูแลและการทำงาน (หลังปลูก -ต้นอายุ 1 ปี)

-      ผูกยึดตอนให้แน่นกับหลักไม่รวกที่ปอกไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ตอนโยกคลอน

-      มีการจัดร่มเงาให้ต้นลำไย  ในระยะแรกโดยอาจใช้ทางมะพร้าวปักพรางแสง เพื่อป้องกันไม่ให้ต้นได้รับแดดจัดเกินไปในช่วงแรก

-      ต้องให้น้ำแก่ต้นที่ปลูกใหม่อย่างสม่ำเสมอและเพียงพอ ระวังอย่าให้ต้นขาดน้ำ

-      หากต้องการให้ปุ๋ยทางดินแก่ต้น วัสดุปรับปรุงดิน เกรดAAA ตรายักษ์เขียว สูตรเข้มข้นพิเศษ(แถบทอง) อัตรา 3-5 ขีด(300-500 กรัม) ใส่ทุก ๆ 30 วัน

-      ควรให้ปุ๋ยไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) พ่นทางใบให้กับต้นลำไย เดือนละ 1-2 ครั้ง

-      ในฤดูแล้ง ควบคุมบริเวณทรงพุ่มด้วยเศษพืช ฟางข้าว ต้นถั่ว เปลือกถั่ว

-      ระวังการทำลายของแมลงค่อมทอง หนอนต่าง ๆ  และเพลี้ยในระยะยอดและใบออน

-      ตั้งแต่ต้นอายุ 12 เดือนขึ้นไป ควรตัดแต่งกิ่งกระโดง กิ่งแห้งและกิ่งเป็นโรค

-      ห้ามอย่าฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดวัชพืชใกล้บริเวณโคนต้นหรือทรงพุ่ม

-      ระวังการทำลายของโรคราดำในฤดูฝน

-      ควรใช้วัสดุปรับปรุงคุณภาพของดิน เช่น อินทรียวัตถุ ปูน ให้เหมาะสมกับชนิดของดิน

-      ปลูกซ่อมแซมต้นที่ตายหรือไม่แข็งแรง โดยใช้พันธุ์ที่สมบูรณ์แข็งแรง

-      หากแปลงปลูกอยู่ในสภาพที่โล่ง ใกล้นาข้าว ที่รกร้าง ควรรีบปลูกพืชล้อมที่หรือพืชกำบังลม ภายหลังจากที่ปลูกแล้ว

-      หากต้องการปลูกต้นไม้อื่นเป็นพืชเสริมรายได้ ให้เลือกชนิดที่เหมาะสมกับลำไยที่ปลูก

5.  การดูแลและการทำงาน (ต้นอายุ 1-3 ปี)

-      ให้เริ่มสร้างทรงพุ่ม โดยมีลำต้นหลักเพียงลำต้นเดียวและมีกิ่งใหญ่ 4-5 กิ่ง

-      ควบคุมให้แตกยอดอ่อนเป็นรุ่นหรือเป็นชุดพร้อม ๆ กันตั้งแต่ต้นลำไยอายุ 1 1/2  ปี

-      บังคับการแตกยอดอ่อนให้มีการแตกตาข้างมากกว่าการแตกตายอด (โดยการตัดแต่ง)

-      การแตกยอดสามารถบังคับให้เกิดได้ ทุก ๆ 45-60 วันโดยอาศัยวิธีการให้น้ำเป็นระยะ ๆ และฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) ทุก ๆ 45-60 วัน หรือตามที่เอกสารแนะนำ 

-      ขนาดของใบควรได้มาตรฐาน ใบหนา สีเขียวเข้ม เป็นมันเงา ไม่บิดงอ ไม่แสดงอาการขาดธาตุอาหาร

-      การให้ปุ๋ยทางดินควรเริ่มปรับเป็นการให้ 30-45 วัน/ครั้ง และอาจให้สลับระหว่างปุ๋ยเคมี สูตร 25-7-7และ วัสดุปรับปรุงดิน เกรดAAA ตรายักษ์เขียว สูตรเข้มข้นพิเศษ(แถบทอง)อัตรา ½ - 1 กิโลกรัม หรือใส่ร่วมกันในอัตรา 1:1  ส่วนปริมาณมากน้อยขึ้นอยู่กับขนาดทรงพุ่ม

-      เริ่ม ไว้ผลครั้งแรกเมื่อต้นอายุประมาณ 36-48 เดือน โดยในช่วงฤดูหนาว เมื่ออากาศหนาวติดต่อกันประมาณ 3 อาทิตย์ ลำไยจะเริ่มแทงยอดอ่อน ให้ใช้ไบโอเฟอร์ทิล (สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) ฉีดพ่นตามอัตราที่แนะนำ  3-4 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน ลำไยจะติดดอกได้ดี  เมื่อติดผลครั้งแรก ควรปลิดช่อผลทิ้งบ้างกะประมาณให้เหลือไว้ถึงตอนเก็บผลแค่ 10-15  กิโลกรัม/ต้น เพื่อไม่ให้ต้นโทรมเร็ว

-      ในการกระตุ้นดอก เมื่อต้นลำไยเริ่มแทงช่อดอก ให้ค่อย ๆ เพิ่มการรดน้ำจนสู่ระดับปกติ และรดน้ำอย่างเพียงพอ

 

6.  การดูแลการทำงานต้นลำไยที่เริ่มให้ผลผลิตแล้ว

-      การ ตัดแต่งกิ่งให้ตัดแต่งกิ่งกระโดงที่ยาวและมีหนาม กิ่งแห้ง กิ่งบิดไขว้ กิ่งเป็นโรคหรือถูกแมลงทำลาย ควรเริ่มตัดแต่งได้หลังจากเก็บเกี่ยวเสร็จ 

-      หลังเก็บเกี่ยว ควรบำรุงให้ลำไยแตกใบใหม่ประมาณ 3 ชุด จึงจะสามารถทำผลผลิตชุดใหม่ได้

-      บังคับให้ต้นลำไยแตกยอดใบอ่อนเป็นชุดพร้อม ๆกัน โดยการใช้ ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) ฉีดพ่นทางใบตามคำแนะนำ ส่วนทางดิน ใช้วัสดุปรับปรุงดิน เกรดAAA ตรายักษ์เขียว สูตรเข้มข้นพิเศษ(แถบทอง)ร่วมกับปุ๋ยเคมี สูตร 25-7-7 ในอัตราส่วน 1:1 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

ช่วงของการราดสารที่ ต้องคำนึงถึงขนาดทรงพุ่ม,สภาพอากาศและปัจจัยแวดล้อมอื่นเพิ่มเติมด้วย เช่น หากราดแล้วมีฝนตกซ้ำ จะทำให้การราดบังคับไม่ได้ผล เพราะสารส่วนใหญ่ถูกน้ำฝนชะล้างไป  อาจต้องพักไปซักระยะ ค่อยราดต้นที่ไม่ออกช่อใหม่, ฯลฯ

                ปัจจุบันมีบางพื้นที่การประยุกต์ใช้สารคลอเรท ฉีดพ่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับการติดดอก  โดยสามารถฉีดพ่นไปพร้อมกับการราดสารทางดิน โดยอาจลดปริมาณสารที่ใช้ทางดินลงประมาณ 10-20%  การ ฉีดพ่นสารคลอเรททางใบ แนะนำให้ใช้อย่างระมัดระวังและผสมในปริมาณความเข้มข้นที่ต่ำ เพราะหากผสมเข้มข้นเกินไป จะทำให้ใบลำไยไหม้ ต้นลำไยตายได้ในทันที

หลัง ราดสารประมาณ 30 วัน ลำไยจะเริ่มแทงช่อดอก ให้ฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง)ทางใบเพื่อกระตุ้นดอก อัตรา 30 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นตามคำแนะนำ ก็จะได้ช่อดอกยาว ขั้วดอกเหนียว ติดผลมาก  และเมื่อติดผลขนาดเท่าหัว ไม้ขีด ให้ผสมไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) อัตรา 1 ลิตรต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นบริเวณผิวดินที่ได้ทำการราดสาร และใส่ปุ๋ยคอกเพื่อปรับสภาพดิน จะช่วยล้างสารคลอเรทได้รวดเร็ว และรากฟื้นตัวเร็ว สามารถดูดซึมปุ๋ยทางดินได้ดีขึ้น และยังทำให้สามารถราดสารได้ผลดีติดต่อกันทุก ๆ ปี

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเชียงราย
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา