เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

แปรรูปหม่อนไหม

โดย : นางสาวหทัยรัตน์ มูลสานต์ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-08-16-15:01:19

ที่อยู่ : 219 ม.5 ต.ทุ่งก่อ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

 

เกษตรกรไทยทำการประกอบอาชีพการเลี้ยงไหมมาเป็นเวลานานโดยเฉพาะการเลี้ยงแบบพื้นบ้าน มีการถ่ายทอดวิชาความรู้เทคนิคต่าง ๆ สืบเนื่องต่อมาเป็นช่วง ๆ จากบรรพบุรุษ ต่อมาผลิตไหมได้มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่สินค้าเกษตรกรชนิดหนึ่งในเชิงเศรษฐกิจ การเลี้ยงไหมในระบบดั้งเดิมจึงจำเป็นที่จะต้องได้รับการพัฒนาจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ ทั้งภาครัฐและเอกชนอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อก่อให้เกิดการปรับปรุงพัฒนาในเรื่องของพันธุ์ไหมเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตไหมอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

เทคนิคการเลี้ยงไหมในฤดูฝน

       การเลี้ยงไหมในฤดูฝนมักประสบปัญหาอากาศร้อนและฝนตกหนัก อุณหภูมิ และความชื้นสูง ทำให้เกิดเชื้อโรค หนอนไหมอ่อนแอและตาย ผลผลิตรังไหมจะมีคุณภาพต่ำ เทคนิคการเลี้ยงไหมที่ควรดำเนินการมีดังนี้
      1. ในขณะฝนตกซึ่งอุณหภูมิและความชื้นสูงให้เปิดหน้าต่างให้ลมพัดผ่าน ควรระมัดระวังมิให้มีละอองฝนสาดเข้าภายในโรงเลี้ยงไหม หากมีควรปิดหน้าต่างด้านที่มีละอองฝน 
      2. ในช่วงเช้าและเย็น ถ้าอุณหภูมิต่ำและความชื้นสูง ให้นำเตาถ่านที่มีไฟอ่อนๆ ปราศจากควันไฟ มาวางไว้ภายใน เพื่อช่วยปรับอุณหภูมิให้สูงขึ้น
      3. ถ้าอุณหภูมิสูงในตอนใกล้เที่ยง ควรลดปริมาณใบหม่อนในเวลา 11.00 น. เพราะหนอนไหมจะกินใบหม่อนน้อย หมั่นรักษาสภาพพื้นที่เลี้ยงไหมให้สะอาดและแห้ง
      4. ขยายพื้นที่เลี้ยงและกระจายหนอนไหมออกให้สม่ำเสมอ และควรวางกระด้ง หรือชั้นเลี้ยงไหมให้ห่างกัน เพื่อให้มีการถ่ายเทอากาศได้ดี
      5. โรยปูนขาวในไหมวัย 5 วันละ 1 ครั้งทุกวัน ก่อนให้ใบหม่อน
      6. ใบหม่อนที่เก็บไว้ในห้องควรอยู่ในสภาพแห้ง ไม่เปียกน้ำ 
      7. ไม่เลี้ยงไหมวัยแก่ด้วยใบหม่อนที่อยู่บริเวณยอดอ่อนซึ่งมีความชื้นค่อนข้างสูง เพราะจะทำให้ระบบสรีระของหนอนไหมผิดปกติ หนอนไหมจะอ่อนแอและเชื้อโรคเข้าทำลายได้ง่าย

เทคนิคการเลี้ยงไหมในฤดูหนาว

      การเลี้ยงไหมในฤดูหนาว ควรปฏิบัติ ดังนี้
       กรณีความชื้นต่ำ 
      1. ตั้งเตาไฟที่ปราศจากควันไว้ในห้องเลี้ยงไหมและวางกะละมังหรือถังบรรจุน้ำบนเตา เพื่อเพิ่มอุณหภูมิและความชื้น
      2. ปิดหน้าต่างและประตูเพื่อเพิ่มอุณหภูมิภายใน
      3. พ่นละอองน้ำลงบนใบหม่อนที่เก็บไว้เพื่อเลี้ยงไหม หรือปรับสภาพรอบด้านให้มีความชื้นสูงขึ้น
       กรณีความชื้นสูง 
      1. ตั้งเตาไฟที่ปราศจากควันในห้องเลี้ยงไหม
      2. ปริมาณใบหม่อนที่ใช้เลี้ยงไหมในแต่ละครั้งควรมีปริมาณพอดีหรือใกล้เคียงกับความต้องการของหนอนไหม
      3. เพิ่มจำนวนครั้งในการโรยแกลบเผาหรือปูนขาวเพื่อดูดความชื้น พร้อมถ่ายมูลไหมและเศษใบหม่อนที่เหลือ เพื่อลดความชื้น
      4. ในห้องเก็บใบหม่อนเพื่อเลี้ยงไหมควรปรับสภาพให้อากาศถ่ายเท ไม่อับชื้น 

      เทคนิคการเลี้ยงไหมที่สำคัญสำหรับการเลี้ยงไหมวัยแก่ คือ คัดและเก็บหนอนไหมที่มีลักษณะผิดปกติ เป็นโรค แคระแกรน หรือไม่สมบูรณ์ ก่อนการเลี้ยงไหมทุกครั้ง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเชียงราย
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา