เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

การพัฒนาปราชญ์ชุมชน สร้างสรรค์สัมมาชีพชุมชน จังหวัดเชียงราย

โดย : นายปรีชา ปวงคำ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-04-04-13:02:20

ที่อยู่ : กลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงราย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ทุนชุมชนที่สำคัญที่สุดในการพัฒนา คือ ทุนมนุษย์ ซึ่งการทำงานพัฒนาชุมชน ต่อให้เราเก่งแค่ไหน  เราก็คนนอก ถ้าอยากให้เค้าได้พัฒนาและเข้มแข็งได้จริงๆ จึงต้องเริ่มจากคนข้างใน  ลำพังเพียงเจ้าหน้าที่เองอาจไม่สามารถทำได้ทั้งหมดทุกเรื่องแน่นอนและเมื่อมองงานพัฒนาในแต่ละพื้นที่แล้ว ไม่มีใครที่จะพัฒนาคน ในชุมชนได้ดีกว่าคนในชุมชนเอง  ในแต่ละชุมชนจะมีคนเก่ง คนมีความรู้ คนที่เป็นปราชญ์ชุมชนเยอะมาก    และมีความหลากหลายขององค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์มากมาย เพียงแค่ปราชญ์ชุมชนเหล่านั้นยังไม่สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้สู่คนอื่นในชุมชนได้อย่างเป็นกระบวนการทั้งระบบนั่นเอง

                   ด้วยความสำคัญดังกล่าว จังหวัดเชียงราย ได้เริ่มค้นหา           ปราชญ์ชุมชนในทุกพื้นที่ เพื่อเป็นเป้าหมายในการพัฒนาสู่การเป็นวิทยากรชุมชน ถ่ายทอดองค์ความรู้การพัฒนาสู่ชุมชนให้กลายเป็นพลังสำคัญในการสร้างชุมชนเข้มแข็ง บนพื้นฐานการสร้างสรรค์งานพัฒนาชุมชน ที่สำคัญ 8 ด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการบริหารจัดการชุมชน ด้านศูนย์เรียนรู้ชุมชน ด้านกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ด้านการจัดสวัสดิการชุมชน  ด้านกองทุนแม่ของแผ่นดิน ด้านการพัฒนา OTOP และ ด้านการพัฒนาสตรี

วัตถุประสงค์ ->

ดำเนินการตามกระบวนการสร้างคุณค่า คือ

1) การเตรียมการและการค้นหา มีการทบทวนผลการดำเนินงานปีที่ผ่านมา จัดเวทีแลกเปลี่ยนและระดมความคิดเห็นจากผู้บริหารและปราชญ์ชุมชน รวมทั้งจำแนกความถนัดด้านอาชีพของปราชญ์ชุมชนแล้วกำหนดเป็นเป้าหมายการเพิ่มศักยภาพให้เป็นวิทยากรสัมมาชีพสอนอาชีพให้ชุมชน

             2) การสร้างเครื่องมือ กำหนด Road Map แผนปฏิบัติการขับเคลื่อน  สร้างเครื่องมือการติดตามสำหรับพัฒนากร ทีม พช. และปราชญ์ชุมชน

             3) การพัฒนาปราชญ์ชุมชน มีการระดมความคิดเห็นระหว่างทีมงานพัฒนาชุมชนและปราชญ์ชุมชน กำหนดกระบวนการและรูปแบบการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชนมีการจัดทำหลักสูตรสัมมาชีพชุมชนเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดอาชีพตามความต้องการของชุมชน จำนวน 28 หลักสูตร 270 เล่ม ครอบคลุมตามความถนัดของปราชญ์ชุมชน ตรงตามความต้องการของชุมชน

          4) การพัฒนาเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน มีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนฝึกการเป็นวิทยากรกระบวนการเพื่อสนับสนุนปราชญ์ชุมชนให้สามารถถ่ายทอดความรู้ด้านอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีผลการจัดเวทีการถ่ายทอดความรู้ ในพื้นที่หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง 18 อำเภอ 576 หมู่บ้าน สนับสนุนกลุ่มอาชีพและกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต จำนวน 704 ครั้ง มีผู้รับประโยชน์จากการถ่ายทอดความรู้ รวม 30,336 คน

          5) การพัฒนาครัวเรือนเป้าหมาย ให้ความรู้แก่ครัวเรือนเป้าหมาย 194 ครัวเรือน นำครัวเรือนไปทัศนศึกษาเพื่อเปิดมุมมองการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ดำเนินการพัฒนาอาชีพตามความต้องการของครัวเรือนโดยปราชญ์ชุมชน ด้านสัมมาชีพชุมชนเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ สามารถทำให้ครัวเรือนเป้าหมาย มีรายได้เพิ่มขึ้นได้แล้ว  157 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 81

          6) การถ่ายทอดองค์ความรู้ มีการบูรณาการงบประมาณยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด สร้างโอกาสให้มีเวทีการเรียนรู้และการถ่ายทอดอาชีพในพื้นที่ ทั้งในรูปแบการเป็นวิทยากรในกิจกรรม   การอบรมต่างๆ และการเป็นวิทยากรให้ความรู้ด้านอาชีพ ณ จุดเรียนรู้อาชีพของตนเองในหมู่บ้าน มีการถ่ายทอดความรู้ด้านอาชีพแล้ว จำนวน 142 ครั้ง มีผู้ได้รับการเรียนรู้แล้ว 6,881 คน

          7) การติดตามสนับสนุน ใน 3 รูปแบบ คือโดยการประชุมโดยทีมนิเทศ 3 zone และโดยระบบรายงาน

          8) การประชาสัมพันธ์  ใช้ช่องทางการประชาสัมพันธ์ ทุกช่องทางเพื่อสร้างการรับรู้ความก้าวหน้าต่อสาธารณชนในวงกว้าง

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

มีการลงนามบันทึกความร่วมมือระหว่างจังหวัดเชียงรายและมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เพื่อร่วมมือกันสร้างหลักสูตรการพัฒนาปราชญ์ชุมชนสู่การสร้างสรรค์งานชุมชน

อุปกรณ์ ->

ต้องสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาระหว่างเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนกับปราชญ์ชุมชนอย่างจริงจัง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การพัฒนาโครงการไม่มีงบประมาณสนับสนุนเป็นการเฉพาะเจาะจง ควรใช้วิธีการบริหารจัดการแบบบูรณาการ

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเชียงราย
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา