เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การพัฒนาอาชีพครัวเรือนตามแนวทางสัมมาชีพ บ้านสารภี หมู่ที่ ๑๘ ตำบลศรีดอนชัย อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

โดย : นางสาวเบญจมาส หล่อพันธ์มณี ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-06-27-14:10:35

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเชียงของ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

สืบเนื่องจากบ้านสารภี หมู่ที่ ๑๘ ตำบลศรีดอนชัย อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ได้ผ่านกระบวนการการให้การศึกษาด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การสำรวจข้อมูล และจัดเวทีประชาคมทำแผนชุมชนในปี ๒๕๕๙ ตามแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการเกษตรและชนบท (ยุทธศาสตร์ที่ ๑) ประกอบกับหลักแนวคิดที่ว่า “ในพื้นที่มีคนเก่งอยู่แล้ว” “ให้ผู้รู้เป็นผู้สอน” “สร้างคนเก่งให้มีจิตเสียสละ ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้ผู้ไม่รู้ ได้ขยายผลความเก่ง” ตามหลักการพัฒนาชุมชน “โดยชุมชน เพื่อชุมชน” จึงก่อให้เกิดเป็นแนวทางการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชน ที่ส่งเสริมการรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเพื่อให้ตอบสนองแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำในสังคม และนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน ด้านการลดความเหลื่อมล้ำของสังคมและโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐ ที่มุ่งหวังแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับปากท้องของประชาชนในระดับล่าง โดยมีแผนงานที่สำคัญ คือ แผนงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็ง ซึ่งได้มอบให้กระทรวงมหาดไทย โดยกรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานหลักในการบูรณาการไปสู่การปฏิบัติ

วัตถุประสงค์ ->

๑) จัดเวทีประชาคมคัดเลือกปราชญ์จากฐานข้อมูลปราชญ์ชุมชนหรือผู้ประสบความสำเร็จหรือเชี่ยวชาญในอาชีพ (สปน.) จำนวน ๑ คน เพื่อเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตร “วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ”

    ๒) วิทยากรสัมมาชีพชุมชน ผ่านการฝึกอบรมระดับเขต และระดับจังหวัด เป็นแกนนำร่วมกับพัฒนากรผู้ประสานงานตำบล เพื่อเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ดำเนินการ ๓ วัน ดังนี้

        วันที่ ๑ ประชุมปราชญ์จากฐานข้อมูลปราชญ์หรือผู้ประสบความสำเร็จหรือเชี่ยวชาญในอาชีพ (สปน.) ที่เหลือ ๙ คน โดยวิทยากรสัมมาชีพชุมชนชี้แจงความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของโครงการฯ เล่าประสบการณ์การฝึกอบรมในระดับเขต ระดับจังหวัด ตลอดจนกระบวนการการสร้างสัมมาชีพชุมชน และคัดเลือกปราชญ์ชุมชนที่มีความสนใจเข้าร่วมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน จำนวน ๔ คน

        วันที่ ๒ ประชุมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน จำนวน ๕ คน

        ๑. วิเคราะห์อาชีพ โดยคำนึงถึง (๑) ทรัพยากรในพื้นที่เพื่อไม่ให้การวัตถุดิบต้องพึงพิงกับการตลาดมากเกินไป เพราะจะทำให้เกิดความเสี่ยงหากวัตถุดิบขาดแคลน (๒) ภูมิปัญญา ทักษะของคนในชุมชน เพื่อเป็นการต่อยอด ดีกว่าต้องเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด (๓) สามารถก้าวเข้าสู่การเป็น OTOP (ตามคุณลักษณะของ OTOP) เพื่อให้สามารถส่งต่อการสนับสนุนได้อย่างต่อเนื่อง ตามกระบวนการของ OTOP และสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการที่กรมฯกำหนดไว้ได้ (๔) มีตลาดรองรับ หากไม่มีตลาดรองรับอาจทำให้ครัวเรือนสัมมาชีพเกิดความรู้สึกท้อได้ ทำแล้วขายไม่ได้ (๕) มีบรรจุในแผนชุมชน เพื่อการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมจากหน่วยงานอื่น

        ๒. ร่วมกันคัดเลือกครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนเป้าหมาย จำนวน ๒๐ ครัวเรือน จากฐานข้อมูล (๑) ข้อมูล จปฐ.ปี ๒๕๕๙ ครัวเรือนที่มีรายได้ ต่ำกว่า ๔๐,๐๐๐ บาท/คน/ปี (๒) แบบสำรวจความต้องการฝึกอาชีพของคนในชุมชน ๒๐ ครัวเรือน (สปน.) (๓) คนที่มีความสนใจและต้องการรายได้เสริมให้แก่ครัวเรือน

        ๓. แบ่งความรับผิดชอบ ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ๑ คน รับผิดชอบ ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน ๔ ครัวเรือน

        ๔. อธิบายแบบฟอร์มการติดตามครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน พร้อมมอบหมายภารกิจหน้าที่

        วันที่ ๓ ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ลงพื้นที่เพื่อเยี่ยมเยียน ชี้แจงโครงการฯ สอบถามความสนใจในอาชีพที่กำหนดและความสนใจเข้าร่วมโครงการ

กรณีครัวเรือนสัมมาชีพเป้าหมาย สนใจในการเข้าร่วมโครงการฯ จัดทำ MOU และ

กรอกข้อมูลตามแบบฟอร์มการติดตามครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน

กรณีครัวเรือนสัมมาชีพเป้าหมาย ไม่สนใจเข้าร่วมโครงการ ให้ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน

ระดับหมู่บ้าน ร่วมกันคัดเลือกครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนเป้าหมายใหม่ จากฐานข้อมูลที่ระบุไว้ในข้อ ๒ ในวันที่ ๒ ตามจำนวนที่ขาดไป และลงพื้นที่อีกครั้ง จนได้ครัวเรือนเป้าหมายครบ ๒๐ ครัวเรือน จึงจะดำเนินกิจกรรมต่อไปได้

    ๓) ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน เป็นแกนนำร่วมกับพัฒนากรผู้ประสานงานตำบล เพื่อส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน ดำเนินการ ๕ วัน ดังนี้

        วันที่ ๑ – ๓ ประชุมครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการฯ ที่ได้กรอกข้อมูลตามแบบฟอร์มการติดตามครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน และจัดทำ MOU จำนวน ๒๐ คน (ครัวเรือนละ ๑ คน) ดำเนินการใน ๓ ส่วนเนื้อหา (๑) ปรับกระบวนการคิดและทัศนคติต่อการประกอบอาชีพอธิบายเกี่ยวกับอาชีพ (๒) ความรู้เกี่ยวกับอาชีพที่จะร่วมกันดำเนินการ ตั้งแต่ความเป็นมา กระบวนการผลิต แนวโน้ม ทิศทางของตลาด และความสามารถในการพัฒนาต่อยอด รายได้ที่จะได้รับเพิ่มขึ้น (๓) ร่วมกันคัดเลือกพื้นที่ศึกษาดูงาน

        วันที่ ๔ ศึกษาดูงาน ณ บ้านป้าจ้อย

        วันที่ ๕ ฝึกสาธิตกิจกรรม มีแม่ป้าจ้อย เป็นผู้สอนวิทยากรสอนสาธิต ปฏิบัติร่วมกัน ณ อาคารอเนกประสงค์หมู่บ้านสารภี โดยมีทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน กำกับ ดูแลการฝึกปฏิบัติ พร้อมกรอกข้อมูลตามแบบฟอร์มติดตามครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน

    ๔) ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน เป็นแกนนำร่วมกับพัฒนากรผู้ประสานงานตำบล เพื่อสนับสนุนการจัดตั้งและพัฒนากลุ่ม โดยใช้หลัก ๕ ก. เป็นแนวทางการพัฒนากลุ่ม

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

๑. การแบ่งความรับผิดชอบ ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ๑ คน รับผิดชอบ ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน ๔ ครัวเรือน

๒. การจัดตั้งและพัฒนากลุ่ม โดยใช้หลัก ๕ ก.

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเชียงราย
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา