เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการพัฒนาอาชีพครัวเรือนตามแนวทางสัมมาชีพ

โดย : นายภาสกร งามสมบัติ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-04-20-10:24:32

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเทิง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ความเป็นมา แรงบันดลใจ

          การขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชน เป็นนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการจะสร้างรายได้ให้เกิดขึ้นกับประชาชน และเป็นวาระที่สำคัญของกรมการพัฒนาชุมชน เพื่อสร้างความมั่นคงเศรษฐกิจฐานราก โดยให้เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนได้ขับเคลื่อนการพัฒนาอาชีพครัวเรือน อำเภอเทิง มีหมู่บ้านเป้าหมายในการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชน จำนวน 47 หมู่บ้าน 940 ครัวเรือน  ที่จะได้รับการฝึกอบรมอาชีพเพื่อสร้างรายได้ให้กับครัวเรือน สานักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเทิง  จึงได้บูรณาการการทำงานกับหน่วยงานภาคีการพัฒนาทุกหน่วยงาน ประกอบด้วย ปกครองอำเภอ สานักงานเกษตรอำเภอ ปศุสัตว์อำเภอ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย องค์การบริหารส่วนตำบลทุกแห่ง กำนัน/ผู้ใหญ่บ้านทุกตำบลทุกหมู่บ้าน ทีมขับเคลื่อนสัมมาชีพระดับตำบล วิทยากรสัมมาชีพ ครัวเรือนเป้าหมาย บูรณาการด้านวิชาการ องค์ความรู้ งบประมาณในการขับเคลื่อนการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพในพื้นที่เป้าหมายให้บรรลุตามวัตถุประสงค์

กระบวนการขั้นตอน

          จังหวัดแจ้งจัดสรรพื้นที่เป้าหมายในการดาเนินงานตามโครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชน จานวน 47 หมู่บ้าน อำเภอมีการดำเนินงาน ดังนี้

          ๑. ประชุมเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอ สร้างความเข้าใจในการดำเนินงานตามโครงการ

          ๒. สร้างความเข้าใจโครงการการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนแก่ส่วนราชการ ภาคีการพัฒนา และกำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน โดยดำเนินการ ดังนี้

                    ๒.๑ นำเข้าที่ประชุมหัวหน้าส่วนราชการอำเภอ และที่ประชุมกำนัน/ผู้ใหญ่บ้านทุกเดือน

                    ๒.๒ แจ้งหมู่บ้านเป้าหมายให้รับทราบและเตรียมความพร้อม

          ๓. เตรียมความพร้อมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน

                   ๓.๑ หมู่บ้านร่วมกับเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนพิจารณาคัดเลือกปราชญ์ชุมชนด้านอาชีพที่ประสบความสำเร็จ หมู่บ้านละ ๑๐ คน

                   ๓.๒ หมู่บ้านร่วมกับเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนพิจารณาคัดเลือกวิทยากรสัมมาชีพชุมชนจากบัญชีรายชื่อปราชญ์ชุมชนที่ประสบความสำเร็จ หมู่บ้านละ ๑ คน

          ๔. ประสานวิทยากรสัมมาชีพหมู่บ้านละ ๑ คน เข้าร่วมอบรมที่ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนจังหวัดลำปาง

          ๕ ประสานหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้องดำเนินการขับเคลื่อนกิจกรรมบูรณาการการทางานร่วมกันในระดับอำเภอ ตำบล และหมู่บ้านในการขับเคลื่อนโครงการหลัก โครงการต่อยอด โครงการสนับสนุน

โครงการหลัก

          ๑. โครงการเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านๆ ละ ๕ คน จำนวน 47 หมู่บ้าน 235 คน

          ๒. โครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชน ในระดับหมู่บ้านๆ ละ ๒๐ คน     จำนวน 47 หมู่บ้าน 940 ครัวเรือน

          ๓. โครงการสนับสนุนการจัดตั้งและพัฒนากลุ่มอาชีพ

 

-2-

 

โครงการต่อยอด

          ๑. โครงการบูรณาการแผนชุมชนระดับตำบล

          ๒. โครงการสนับสนุนสัมมาชีพแก่ครัวเรือนยากจน

          ๓. โครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ

โครงการสนับสนุน

          1. ประชุมเชิงปฏิบัติการทีมสนับสนุนการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชน

          2. มีการติดตาม สนับสนุนการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง

 

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จ

          ๑. ปราชญ์ชุมชน (วิทยากรหมู่บ้าน) มีความพร้อม มีทักษะในการเป็นวิทยากร

          ๒. เจ้าหน้าที่มีความเข้าใจและวางแผนในการขับเคลื่อนโครงการฯ อย่างเป็นระบบ

          ๓. มีการบูรณาการของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และภาคประชาสังคม

          ๔. มีการประชาสัมพันธ์โครงการฯ สร้างความเข้าใจกับประชาชนอย่างต่อเนื่อง

สัมมาชีพระดับตำบล วิทยากรสัมมาชีพ ครัวเรือนเป้าหมาย บูรณาการด้านวิชาการ องค์ความรู้ งบประมาณในการขับเคลื่อนการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพในพื้นที่เป้าหมายให้บรรลุตามวัตถุประสงค์

บันทึกขุมความรู้ 

การประสานงานไม่ควรจะกระทำโดยใช้อำนาจสั่งการแต่อย่างเดียว ควรใช้ความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันเป็นหลัก เพราะความมีน้ำใจต่อกัน ไว้วางใจกันจะเป็นผลให้เกิดการร่วมใจมากกว่าการใช้อำนาจหน้าที่  พยายามผูกมิตรตั้งแต่ต้นและป้องกันไม่ให้เกิดความรู้สึกเป็นปฏิปักษ์  มีความหวาดระแวงหรือกินแหนงแคลงใจกัน ให้การยอมรับซึ่งกันและกัน ไม่นินทาว่าร้ายกัน ไม่โยนความผิดให้แก่ผู้อื่น เมื่อมีสิ่งใดจะช่วยเหลือแนะนำกันได้ก็อย่าลังเล และพร้อมจะรับฟังคำแนะนำของผู้เกี่ยวข้องแม้จะไม่เห็นด้วยก็อย่าแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงก็ต้องแจ้งให้ทราบ

มาชีพระดับตำบล วิทยากรสัมมาชีพ ครัวเรือนเป้าหมาย บูรณาการด้านวิชาการ องค์ความรู้ งบประมาณในการขับเคลื่อนการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพในพื้นที่เป้าหมายให้บรรลุตามวัตถุประสงค์

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

กลยุทธ์ในการทำงาน

1.      การใช้เครื่องมือสื่อสาร เช่น Smart Phone, Internet  ซึ่งเป็นเครื่องมือสื่อสารที่รวดเร็ว ประหยัดเวลา

2.      การประสานด้วยหนังสือ การร่างหนังสือ ควรให้ถูกหลักการ ถูกต้อง ถูกใจ (ผู้รับ)

3.      การพบปะด้วยตนเอง เป็นการประสานงานที่ดีที่สุดเพราะจะได้พบหน้า ได้เห็นบุคลิกลักษณะ สีหน้าท่าทาง ของผู้ติดต่อทั้งสองฝ่าย มีเวลาในการซักถามทำความเข้าใจกั่นได้อย่างพอเพียง เพราะทั้งสองฝ่ายต้องวางมือจากงานอื่นๆ ทั้งหมด  แต่มีข้อเสียคือ ใช้เวลามาก มักใช้การพบปะในกรณีที่เป็นเรื่องนโยบาย เป็นเรื่องสำคัญ หรือมีรายละเอียดมาก

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเชียงราย
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา