เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การทำผ้าบาติก

โดย : นายปฏิภาณ เนาว์อยู่คุ้ม ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-03-29-11:22:34

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 148 ชุมชนที่ 8 ตำบลสรรพยา

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมกลุ่มสรรพยาบาติก ซึ่งจัดตั้งเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม ปีพ.ศ. 2546 โดยกลุ่มแม่บ้านได้ไปดูงานทางภาคใต้เกี่ยวกับการทำผ้าบาติก ได้เกิดความประทับใจ และสนใจ โดยได้รับการสนับสนุนจากเทศบาลสรรพยาได้หาวิทยากรมาสอน และฝึกทำผ้าจนเป็นอาชีพหลัก โดยมีผลิตภัณฑ์บาติกที่หลากหลาย ได้แก่ เสื้อผ้าบาติก กระเป๋าเศษผ้า กระเป๋าสตางค์บาติก ผ้าเช็ดหน้า กล่องใส่ทิชชู เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว

วัตถุประสงค์ ->

ขั้นตอนและเทคนิควิธีการทำผ้าบาติก

          1. ร่างรูปบนผ้าขาวก่อนเพื่อเป็นแนวทางก่อนลงปากกาเขียนเทียน

          2. ทาเทียนบนขอบไม้เพื่อใช้สำหรับขึงผ้า

          3. วางผ้าขึงบนกรอบไม้ให้ตึง

          4. เขียนเทียนหรือเดินเทียนลงบนรูปภาพที่ร่างไว้บนผ้า โดยลักษณะเส้นต้องต่อเนื่องกันตลอดจะขาด       ตอนไม่ได้ พยายามสังเกตระดับความร้อนของน้ำเทียนให้อยู่ในระดับอุ่นพอดี ถ้าเย็นเกินไปจะเขียนไม่ออก   หรือเทียนไม่สามารถแทรกเข้าเนื้อผ้าได้ ถ้าร้อนเกินไปควันจะมีมากลักษณะเส้นจะฟูกระจายไม่สม่ำเสมอ ผลที่  ตามมาตอนระบายสีก็คือ ไม่สามารถกันสีให้อยู่ให้รูปภาพได้จะทำให้สีไหลเลอะ

          5. ขั้นตอนการลงน้ำ เป็นการใช้น้ำทาลงในรูปภาพบนผืนผ้า เพื่อให้ดูเส้นเทียนเขียนว่าขาดตอน   หรือไม่ ถ้าน้ำซึมออกนอกรูปภาพแสดงว่าเส้นเทียนขาดตอน ต้องนำผ้าพึ่งลมให้แห้งแล้วเขียนเทียนซ้ำอีกครั้ง

          6. ขั้นตอนการระบายสี เป็นการสร้างความสวยงามและความรู้สึกต่างๆ โดยอาศัยประสบการณ์และ       จินตนาการ ลักษณะของการระบายสี แบ่งได้เป็น 4 วิธี คือ

                   - การลงสีพื้น ใช้สีเดียวระบายเรียบไปทั่วส่วนนั้น

                   - การไล่สีเดียว การระบายให้มีน้ำหนักอ่อน  แต่ใช้เพียงสีเดียว แล้วใช้น้ำเปล่าเข้าช่วยผสม        เพื่อทำให้จางและระบายไล่สีให้กลมกลืนกัน

                   - การไล่สีตั้งแต่สองสีขึ้นไป การระบายไล่สีให้กลมกลืนกันในหลายสีและจะได้สีที่เกิดจากการ      ผสมด้วย

                   - การระบายสีที่ต้องใช้การเดินเทียนเข้าช่วยเพื่อให้เกิดเส้นสีต่างๆ หรือพื้นสีซึ่งเป็นเทคนิค          อย่างหนึ่งที่ยุ่งยากกว่าสามวิธีแรก โดยการระบายสีที่ยึดหลักการของเทียนที่เป็นตัวกั้นไม่ให้สีเข้าถึงเนื้อผ้า เข้า         มาช่วยทำให้เกิดเทคนิคของเส้นสี โดยปกติลายผ้าบาติกที่เกิดจากการเขียนจะเป็นสีขาวเพราะเราเขียนลงบน    ผ้าขาว ถ้าเราลงสีไปก่อนบนผ้าแล้วปล่อยให้สีแห้งแล้วลงเทียนทับซ้ำลงไปเทียนจะเป็นตัวกันสีนั้นทันที ก่อนที่ จะนำไปเคลือบจะต้องรีดเอาเทียนออกก่อน โดยใช้กระดาษรองบนและล่างผ้าแล้วจึงนำเตารีดทับ

          7. การเคลือบน้ำยาเป็นการทำให้สีจับติดกับผ้าอย่างถาวร จะเคลือบผ้าก็ต่อเมื่อผ้าที่ระบายสีแล้วแห้ง      สนิท โดยใช้แผ่นพลาสติกรองส่วนล่างของผ้าแล้วจึงใช้แปรงหรือลูกกลิ้งจุ่มน้ำยาลงบนผ้า ควรใช้เวลาไม่ต่ำกว่า          2 ชั่วโมง และไม่เกิน 12 ชั่วโมง หลังจากที่เคลือบน้ำยาแล้ว นำผ้าซักน้ำเปล่าโดยการซักต้องซักครั้งละ 1 ผืน      เพื่อป้องกันไม่ให้สีตกใส่ผ้าอีกผืนหนึ่ง

          8. การต้มผ้า การต้มควรต้มน้ำ 2 ถัง  ถังที่ 1 ต้มน้ำใส่ผงซักฟอกแล้วนำผ้าออกใส่   ถังที่ 2 ซึ่งเป็น        ถังที่ใส่น้ำเปล่า (ในขณะที่รอต้มน้ำนั้นต้องให้ผ้าแช่อยู่ในน้ำและน้ำทั้งสองถังต้องต้มให้เดือดก่อนจึงใส่ผ้า)           หลังจากน้ำผ้าออกจากถังที่ 2 นำผ้าไปซักในกะละมังน้ำเปล่าที่สะอาดอีกครั้ง

          9. การตากผ้า ตากไว้ในที่โล่งแจ้งเมื่อแห้งควรรีบเก็บ

          3. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

          การที่กลุ่มสรรพยาบาติก เป็นกลุ่มที่เข้มแข็ง ได้รับความร่วมมือจากกลุ่ม และการทำงานที่เป็นทีม มีการผลิตที่เป็นเทคนิคขั้นตอนวิธีเดียวกันของกลุ่ม ทำให้ทางกลุ่มไม่ค่อยมีปัญหาในการบริหารจัดการ และในเรื่องของการผลิตของกลุ่มก็ยังเป็นที่ยอมรับของลูกค้า เพราะเทคนิคการทำลายผ้าที่ลูกค้าต้องการ และคุณภาพของผ้าที่ใช้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

การที่กลุ่มสรรพยาบาติก เป็นกลุ่มที่เข้มแข็ง ได้รับความร่วมมือจากกลุ่ม และการทำงานที่เป็นทีม มีการผลิตที่เป็นเทคนิคขั้นตอนวิธีเดียวกันของกลุ่ม ทำให้ทางกลุ่มไม่ค่อยมีปัญหาในการบริหารจัดการ และในเรื่องของการผลิตของกลุ่มก็ยังเป็นที่ยอมรับของลูกค้า เพราะเทคนิคการทำลายผ้าที่ลูกค้าต้องการ และคุณภาพของผ้าที่ใช้

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดชัยนาท
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา