เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

กลุ่มสัมมาชีพชุมชนสู่พลังที่เข้มแข็งของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ

โดย : นายวิสิทธิ์ ยิ้มแย้ม ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-17-16:58:03

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเกาะจันทร์

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

“ชุมชนเข้มแข็ง” คือ การที่สมาชิกหรือประชาชนในชุมชนรวมตัวกัน มีการเรียนรู้ร่วมกันในการบริหารจัดการ การแก้ไขปัญหาของชุมชนร่วมกัน สมาชิกมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ทำให้ชุมชนเข้มแข็งสามารถพึ่งตนเองได้ และประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตลอดจนการเกิดเครือข่ายการเรียนรู้หรือเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนา ทั้งในชุมชน ท้องถิ่น ภาครัฐ องค์กรเอกชน และอื่นๆ เพื่อให้เกิดการพัฒนา ชุมชนเข้มแข็งเป็นแนวคิดเป็นแนวคิดที่นำมาเป็นทางเลือกในการพัฒนาประเทศและแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจและสังคม  โดยให้ความสำคัญต่อกระบวนการพัฒนาที่เน้นคนเป็นศูนย์กลาง มีการเพิ่มศักยภาพของคนและชุมชนให้เข้มแข็ง มีความพร้อมในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนา เศรษฐกิจ สังคม การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและดูแลสิ่งแวดล้อม และความเข้มแข็งของชุมชนถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการลดผลกระทบทางเศรษฐกิจ และสังคม ดังนั้นแนวคิดนี้จึงถูกระบุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540-2544) ด้วย

ต่อมาในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545-2549) ได้มีการเปลี่ยนปรัชญาของการพัฒนา โดยเน้นกระบวนการการมีส่วนร่วมของภาคีการพัฒนา และประชาชนในทุกระดับ ให้ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ และแก้ไขปัญหาของชุมชน  สามารถดำรงชีวิตผ่านกระบวนการ การจัดทำแผนชุมชน เพื่อสามารถสะท้อนปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของชุมชนในลักษณะล่างสู่บน (BOTTOM-UP) ทำให้แผนชุมชนส่งผลให้ภาคส่วนต่างๆทั้งภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน สามารถใช้เป็นแนวทาง ในการช่วยเหลือประชาชนให้เกิดความเข้มแข็งของชุมชนได้

และในปัจจุบันได้มีการดำเนินการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) ซึ่งได้กำหนดยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำในสังคมเป็น 1 ใน 10 ยุทธศาสตร์การพัฒนาตามแผนฯ และรัฐบาลได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งมีนโยบายการลดความเหลื่อมล้ำของสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐที่มุ่งหวังแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับปากท้องของประชาชนในระดับล่างที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ประกอบกับได้มอบหมายกระทรวงมหาดไทยที่มีกรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานหลักบูรณาการไปสู่การปฏิบัติ

     ด้วยนโยบายดังกล่าว ทำให้การดำเนินการในปี 2560 จึงมุ่งเน้นการยกระดับเศรษฐกิจฐานราก นั่นคือ รายได้ ที่ต้องทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยการสร้างอาชีพจึงเป็นที่มาของ "สัมมาชีพชุมชน" ซึ่งกำหนดแผนการสร้างสัมมาชีพชุมชนบนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่มีเป้าหมาย คือ ประชาชนได้รับการพัฒนาอาชีพและมีรายได้ โดยให้ขาวบ้านสอนชาวบ้านในสิ่งที่เขาอยากทำ ฝึกปฏิบัติจริงให้สามารถนำไปเป็นอาชีพได้ และพัฒนาไปสู่กลุ่มอาชีพเพื่อเป็นพลังสำคัญในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบให้มีความเข้มแข็งต่อไป

วัตถุประสงค์ ->

1. ส่งเสริมสนับสนุน ปราชญ์ชุมชน เข้ารับการฝึกอบรมผู้นำวิทยากรสัมมาชีพ ที่ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุบลราชธานี โดยคัดเลือกปราชญ์ที่มีความพร้อมเข้ารับการฝึกอบรม เป็นผู้นำอาชีพที่ประสบผลสำเร็จ

2. ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดประชุมเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ดำเนินการ 3 วัน

3.ประสานและสนับสนุนทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านและจัดทำเป็นปฏิทินสนับสนุนการจัดฝึกอบรมสัมมาชีพชุมชนรายหมู่บ้านตามโครงการ ส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน จำนวน 5 วัน

4. ติดตาม สนับสนุนให้ชุมชนจัดระบบบริหารการจัดการเงินทุนประกอบอาชีพ เพื่อให้ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนรวมกลุ่ม สามารถประกอบอาชีพได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. การคัดเลือกทีมวิทยากรสัมมาชีพที่มีความเสียสละ ความรู้ พร้อมถ่ายทอดความรู้ สามารถถ่ายทอดความรู้ได้ดีในระดับหนึ่ง

2. การคัดเลือกครัวเรือนสัมมาชีพ ที่หัวไว ใจสู้ 

3. การสร้างทีมสนับสนุนการขับเคลื่อนสัมมาชีพระดับอำเภอที่เข้มแข็ง

อุปกรณ์ ->

-

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย มีข้อเสนอแนะดังนี้

     การสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่ส่งผลต่อพัฒนากลุ่มต่างๆเพื่อส่งเสริมต่อความเข้มแข็งของชุมชน โดยทางจังหวัดชลบุรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดชลบุรี ,สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเกาะจันทร์ สำนักงานส่งเสริมการเกษตรอำเภอเกาะจันทร์ ,องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรพิจารณากำหนดเป็นนโยบายที่จะให้มีการสนับสนุนการรวมกลุ่มของประชาชนในหมู่บ้านเพื่อตั้งเป็นกลุ่ม องค์กรที่มีความเข้มแข็ง เพื่อส่งเสริมหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบได้เป็นตัวอย่างแก่หมู่บ้านอื่นๆที่อยู่ภายในอำเภอ ภายในจังหวัด โดยให้คงรักษาสภาพการดำรงชีวิตที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมประเพณีทางวัฒนธรรม การใช้ชีวิตในวิถีแห่งความพอเพียงตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และร่วมไปถึงการปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบของหมู่บ้านฯให้มีความสะอาด เรียบร้อย เพื่อรองรับต่อการเป็นแห่งเรียนรู้ของชุมชนและบุคคลภายนอกต่อไป

              การส่งเสริมให้ชุมชนสามารถได้ร่วมกันคิด ร่วมกันทำ ร่วมกันตัดสินใจ เริ่มตั้งแต่กระบวนการการจัดแผนชุมชนเพื่อระดมปัญหาและความต้องการของประชาชน มีการเสนอแนะปัญหาของชุมชน ร่วมกันลงมือแก้ไขปัญหา รับผลประโยชน์

                        การจัดตั้งกลุ่มองค์กรต่างๆภายในชุมชน ไม่ว่าจะเป็น คณะกรรมการหมู่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตฯ กองทุนแม่ของแผ่นดิน กลุ่มแม่บ้านเกษตรฯ กลุ่มอาชีพ กลุ่ม OTOP กลุ่มสัมมาชีพชุมชน  ซึ่งต้องมีคณะทำงานที่ชัดเจน มีการแบ่งงานแบ่งหน้าที่ในการทำงาน รวมไปถึงมีการกำหนดกฎกติกาหมู่บ้านที่สามารถนำมาใช้ในชุมชนได้ การมีโอกาสในการเข้ามามีส่วนร่วม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ของประชาชน ในการดำเนินโครงการต่างๆของชุมชน ตั้งแต่ร่วมคิด ร่วมเสนอ ร่วมกันดำเนินการ ร่วมกันรับผล และมีการติดตามและประเมินผล

ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติ 

       การสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เป็นส่วนสำคัญในการส่งเสริมให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง ซึ่งการสนับสนุนของส่วนงานภาครัฐ มีการสนับสนุนทั้ง ด้านงบประมาณ ด้านความรู้ การช่วยเหลือในกิจกรรมต่างๆของชุมชน ในการเข้ามาสนับสนุนนั้นจะต้องคำนึงถึงความต้องการของประชาชนเป็นที่ตั้ง โดยบูรณาการส่วนราชการที่เข้ามาร่วมกันพัฒนาให้กับชุมชนให้มีแนวทางในการพัฒนาไปในแนวทางเดียวกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับชุมชน อีกทั้งการสนับสนุนที่มีความต่อเนื่องและยั่งยืน อีกทั้งภาครัฐเป็นหน่วยประสานในการดำเนินงานของภาคเอกชนที่จะเข้ามาสนับสนุนกิจกรรมภายในชุมชนต่อไป

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดชลบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา