เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน

โดย : นางสาวสมใจ ตามแต่รัมย์ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-09-08-18:17:58

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอพานทอง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

จากนโยบายของรัฐบาลที่มีนโยบายลดการเหลื่อมล้ำของสังคม และการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐ ที่มุ่งหวังแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับปากท้องของประชาชนในระดับล่างที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ประกอบกับอาชีพของประชาชนภาคการเกษตรใน ชุมชนมีภาวะความเสี่ยงของอาชีพภาคเกษตรกรรมที่เกิดจากการประกอบอาชีพแบบดั้งเดิม ส่งผลให้ประชาชนต้องเคลื่อนย้ายไปประกอบอาชีพในเมือง ด้วยเหตุนี้จึงมุ่งเน้นที่การยกระดับเศรษฐกิจฐานราก นั่นคือ รายได้ ที่ต้องทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยการสร้างอาชีพจึงเป็นที่มาของ สัมมาชีพชุมชน

วัตถุประสงค์ ->

1. การคัดเลือกปราชญ์ชาวบ้านโดยพิจารณาจากจากผลงานการทำงานและประสบการณ์ในการประกอบอาชีพที่ประสบความสำเร็จสามารถเป็นต้นแบบในการประกอบอาชีพได้ เพื่อเข้ารับการฝึกอบรมเพิ่มทักษะด้านการถ่ายทอดองค์ความรู้

2. ประชุมเชิงปฏิบัติการวิทยากรสัมมาชีพระดับจังหวัด เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และวิเคราะห์ความ ต้องการอาชีพของประชาชนในหมู่บ้าน ให้สอดคล้องกับศักยภาพของชุมชน รวมถึงการจัดทาทะเบียน วิทยากรสัมมาชีพชุมชนตามประเภทอาชีพ

3. เตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน เพื่อสร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน หมู่บ้านละ 5 คน  โดยทีมวิทยากรสัมมาชีพระดับหมู่บ้าน 1 คน ต่อ ครัวเรือน เป้าหมาย 4 คน ที่ต้องการฝึกอาชีพ เพื่อทบทวนความต้องการในการฝึกอาชีพได้ตรงตาม ความต้องการก่อนเริ่มการฝึกอาชีพ

4. สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอจัดซื้อวัสดุสาธิตอาชีพตามความต้องการของครัวเรือนเป้าหมายงบประมาณครัวเรือนละ 800 บาท จำนวน 20 ครัวเรือน รวมหมู่บ้านละ 16,000 บาท

5. ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนดำเนินการส่งเสริมสัมมาชีพชุมนในระดับหมู่บ้าน จัดฝึกอบรมอาชีพให้กับ ครัวเรือนเป้าหมาย จำนวน 5 วัน ตามแนวทางที่จัดเตรียมไว้ หลักสูตรอบรม ประกอบด้วย

5.1 ชี้แจงวัตถุประสงค์และการดำเนินงานขับเคลื่อนโครงการ

5.2 แนวทางการขับเคลื่อนโครงการสัมมาชีพชุมชน

5.3 Thailand 4.0

5.4 การดำเนินงานขับเคลื่อนบริษัทประชารัฐสามัคคี(จังหวัด) จำกัด

5.5 วิทยากรสัมมาชีพชุมชนถ่ายทอดความรู้ด้านอาชีพที่ต้องการฝึกอาชีพตามประเด็นต่าง ๆ

     1) ความเป็นมาของอาชีพ

     2) กระบวนการ/ขั้นตอนการประกอบอาชีพและทักษะที่เป็นนวัตกรรมในการพัฒนาอาชีพจนเกิดรายได้ให้แก่ครัวเรือน อธิบายให้ข้อมูลการประกอบอาชีพอย่างละเอียดในทุกขั้นตอนตลอดจนสาธิตอาชีพและฝึกปฏิบัติอาชีพ

     3) ศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้ด้านอาชีพตามความต้องการของครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน

     4) วางแผนปฏิบัติการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาอาชีพให้แก่ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนและบันทึกข้อตกลงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน

     5)  วิทยากรสัมมาชีพชุมชน 1 คนต่อครัวเรือนเป้าหมาย 4 คน ฝึกปฏิบัติ ณ บ้านตนเอง

     6) วิทยากรสัมมาชีพชุมชนติดตามและประเมินผลการฝึกอบรม
6. ทีมวิทยากรชุมมาชีพชุมชนและผู้ที่เกี่ยวข้องติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. การฝึกอบรมปราชญ์ เพื่อให้เป็น“ผู้นำสัมมาชีพชุมชน” สามารถเป็นปราชญ์วิทยากร ในการถ่ายทอดความรู้ เพื่อสร้างสัมมาชีพชุมชน โดย ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชน  จำนวน 11 แห่ง ของกรมการพัฒนาชุมชน เป็นหน่วยในการจัดฝึกอบรมปราชญ์ เพื่อเพิ่มพูนทักษะด้านการถ่ายทอดความรู้และการจัดกระบวนการสัมมาชีพในชุมชนของตนเอง  จำนวนหมู่บ้านละ 1 คน รวม 23,589 คน
2. สร้างทีมปราชญ์สัมมาชีพชุมชน ให้ปราชญ์ผู้นำสัมมาชีพชุมชน ร่วมกับเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนและภาคีเครือข่าย แสวงหาทีมปราชญ์สัมมาชีพชุมชนที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ จัดประชุมและสร้างการเรียนรู้ เพิ่มอีกหมู่บ้านละ 4 คน เพื่อเป็นทีมในการฝึกอาชีพ และไปส่งเสริม สนับสนุน กำกับและติดตามให้ครัวเรือนเป้าหมาย จำนวนหมู่บ้านๆละ 20 คน มีความรู้ในการทำอาชีพ สามารถพัฒนาตนเองและสร้างอาชีพได้
3. ฝึกอบรมสร้างสัมมาชีพชุมชน เป้าหมายจำนวนหมู่บ้านละ 20 คน ประกอบด้วย ผู้ที่ได้สำรวจความต้องการฝึกอาชีพไว้ที่หมู่บ้าน หรือครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ จปฐ. โดยปราชญ์ชุมชนที่เป็นวิทยากรผู้ถ่ายทอดประจำหมู่บ้านเป็นผู้ถ่ายทอดและฝึกอาชีพ ร่วมกับทีมปราชญ์ชุมชนของหมู่บ้าน  หรืออาจเชิญวิทยากรปราชญ์ชุมชนในหมู่บ้านอื่นๆ ในเขตจังหวัดเดียวกัน ถ้ามีอาชีพที่แตกต่างไปจากความรู้ของปราชญ์ชุมชนร่วมเป็นวิทยากร หรือมีการจัดไปศึกษาดูงานในศูนย์เรียนรู้ชุมชนหมู่บ้านอื่นๆ ตามอาชีพ  ที่ได้ฝึกอบรม  ซึ่งกระบวนการถ่ายทอดความรู้เน้นแบบชาวบ้านสอนชาวบ้าน เน้นฝึกการปฏิบัติจริง ใช้วัสดุจริง ลักษณะอาชีพ อาจเป็นอาชีพหลัก อาชีพเสริม หรือ อาชีพใหม่ ก็ได้ ตัวอย่างการพัฒนาสัมมาชีพ เช่น
* พัฒนาอาชีพหลักที่ทำอยู่เดิมให้มีรายได้มากขึ้น ด้วยการลดต้นทุน เปลี่ยนวิธีการ หรือการสร้างคุณภาพให้ผลผลิต หรือการทำแบบผสมผสานใช้ประโยชน์จากทุกส่วนของการผลิตหรือวัตถุดิบ มีผลผลิตตรงกับช่วงเวลาที่ตลาดต้องการ เช่น การทำนา 1 ไร่ ได้ 1 แสน ใช้ระบบน้ำหยด ปลูกผักออร์กานิกส์  ปศุสัตว์ปลอดภัย เป็นต้น
* การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ปศุสัตว์ ใช้วัตถุดิบที่มีมากในชุมชนมาแปรรูปให้ตรงกับความต้องการของตลาด พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิต
* อาชีพที่เกี่ยวเนื่องและเชื่อมโยงกับด้านการท่องเที่ยวชุมชน ตามศักยภาพ ของทรัพยากรและพื้นที่ของชุมชน เช่น การบริการนักท่องเที่ยว นวดแผนไทย สปาร์ โฮมสเตร์ เป็นต้น
4. การส่งเสริมให้เกิดสัมมาชีพมั่นคง แกนนำสัมมาชีพและปราชญ์ชุมชน รวมหมู่บ้านละ 5 คน ต้องส่งเสริม ติดตามสนับสนุน และกำกับให้ 20 ครอบครัว สามารถนำความรู้จากการฝึกอบรมไปประกอบอาชีพ ให้มีรายได้หรือลดรายจ่าย ได้อย่างต่อเนื่องร่วมกับผู้นำ กลุ่ม องค์กร และพาคีเครือข่ายในพื้นที่ โดยใช้ศักยภาพของทุนชุมชนและแผนชุมชน เป็นเครื่องมือในการบูรณาการหน่วยงาน ทรัพยากร และงบประมาณ เพื่อสนับสนุนครัวเรือนสัมมาชีพ ให้สามารถดำเนินการพัฒนาอาชีพ สร้างอาชีพได้ อย่างมั่นคง สร้างความเข้มแข็งโดยการรวมกลุ่ม พัฒนากลุ่มเข้าถึงแหล่งทุน  พัฒนากลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชนหรือ OTOP เชื่อมโยงหรือใช้แนวทางและองค์ความรู้ จากบริษัทประชารัฐรักสามัคคีจังหวัด……………………. จำกัด  ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชน มีรายได้ ให้ความร่วมมือในการพัฒนา เศรษฐกิจฐานรากจะมั่นคงและชุมชนเข้มแข็งพึ่งตนเองได้

อุปกรณ์ ->

อาชีพที่ใช้ในการฝึกอบรมครัวเรือน ควรจะเป็นอาชีพที่วิทยากรสัมมาชีพชุมชนในหมู่บ้านมีความเชี่ยวชาญหรือมีความถนัด ซึ่งจะทำให้การดาเนินงานประสบผลสำเร็จมากกว่าอาชีพที่วิทยากรสัมมาชีพไม่มีความรู้

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. ทีมวิทยากรสัมมาชีพเข้าใจเป้าหมายของโครงการ ให้ความสำคัญกับงานมีเป้าหมายเดียวกันในการสร้างสัมมาชีพให้แก่ชุมชนอย่างยั่งยืน

2. การเข้าถึงความต้องการที่แท้จริงของชุมชน พร้อมด้วยศักยภาพที่ชุมชนมีนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดการต่อยอดได้

3. ความต่อเนื่องของการสร้างสัมมาชีพที่ไม่ได้หยุดอยู่ที่การฝึกอาชีพ แต่สำคัญตรงที่ครัวเรือนสัมมาชีพสามารถนาไปสร้างอาชีพได้อย่างยั่งยืน

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดชลบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา